ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซิมโฟนีหมายเลข 6 (เบทโฮเฟิน)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์-หมวดหมู่
บรรทัด 24: บรรทัด 24:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{commonscat|Symphony No. 6 (Beethoven)}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Symphony No. 6 (Beethoven)}}
* {{IMSLP2|id=Symphony_No.6,_Op.68_%28Beethoven,_Ludwig_van%29|cname=Symphony No. 6}}
* {{IMSLP2|id=Symphony_No.6,_Op.68_%28Beethoven,_Ludwig_van%29|cname=Symphony No. 6}}
{{workinyr|1808}}
{{workinyr|1808}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:54, 23 กันยายน 2555

โน้ตดนตรีต้นฉบับลายมือเบโทเฟน

ซิมโฟนีหมายเลข 6 ในบันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ (Symphony No. 6 in F major) ของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟิน รู้จักกันในชื่อ เดอะ ปาสโตราล (The Pastoral) `หรือ ปาสโตราล ซิมโฟนี (Pastoral Symphony) เป็นผลงานที่เบโทเฟนเริ่มแต่งเมื่อราว ค.ศ. 1802 แล้วเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1808 ในแคตตาล็อกผลงานของเบโทเฟนระบุหมายเลขโอปุส 68 (Opus 68) เป็นผลงานของเบโทเฟนที่แต่งโดยอ้างอิงความงดงามของธรรมชาติในชนบท บรรยายทัศนียภาพทุ่งหญ้าป่าเขา มีเสียงนกร้อง จากนั้นได้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และเมื่อฝนหยุดตกก็มีแดดออก ท้องฟ้าสดใส บรรยากาศอบอุ่น

เบโทเฟนประพันธ์ เดอะ ปาสโตราล ไปพร้อมๆ กับซิมโฟนีหมายเลข 5 แล้วเสร็จออกบรรเลงเป็นรอบแรก เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1808 ที่โรงอุปรากร Theater an der Wien กรุงเวียนนา โดยเบโทเฟนเป็นผู้อำนวยวงด้วยตนเอง หลังการแสดงรอบแรก ผลงานชิ้นนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ในเวลาต่อมากลับได้รับความนิยม กลายเป็นผลงานหนึ่งที่ได้รับการบันทึกเสียงบ่อยครั้งที่สุด [1]

ตัวอย่างเสียงของ Symphony No. 6 in F major (Op. 68)

ซิมโฟนีบทนี้แบ่งออกเป็น 5 ท่อน ซึ่งแตกต่างจากแบบแผนของซิมโฟนีอื่นๆ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ท่อน [2] ได้แก่

  • I. Allegro ma non troppo
  • II. Andante molto mosso
  • III. Allegro
  • IV. Allegro
  • V. Allegretto

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น