ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บีตรูต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บุษบง นราแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บุษบง นราแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16: บรรทัด 16:


==ประวัติศาสตร์==
==ประวัติศาสตร์==
บีตรูตมีวิวัฒนาการมาจาก[[ป่า]] seabeet ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของชายฝั่งจาก[[ประเทศอินเดีย]]ไปยัง[[ประเทศอังกฤษ]] สองพันปีที่ผ่านมาก่อนที่จะถูกพัฒนาโดยเทคนิคการเพาะปลูกบีตรูตมีรากแครอทรูปและมีเพียงใบถูกกิน (รากเล็กๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาโรคโดยชาวกรีกโบราณและโรมัน) มีความหลากหลายของลักษณะรากกลมได้รับการพัฒนาในรอบศตวรรษที่สิบหกและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรปสองสามร้อยปีต่อมา ในปัจจุบันนี้ บีตรูตเป็นหัวพืชใต้ดินปลูกมากในแถบยุโรปและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในสแกนดิเนเวียุโรปตะวันออกและนำมาทำอาหารในรัสเซีย <ref>[http://eattheseasons.co.uk/Archive/beetroot.htm].กิน บีทรูท </ref>
บีตรูตมีวิวัฒนาการมาจาก[[ป่า]] seabeet ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของชายฝั่งจาก[[ประเทศอินเดีย]]ไปยัง[[ประเทศอังกฤษ]] สองพันปีที่ผ่านมาก่อนที่จะถูกพัฒนาโดยเทคนิคการเพาะปลูกบีตรูตมีรากแครอทรูปและมีเพียงใบถูกกิน (รากเล็กๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาโรคโดยชาวกรีกโบราณและโรมัน) มีความหลากหลายของลักษณะรากกลมได้รับการพัฒนาในรอบศตวรรษที่สิบหกและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรปสองสามร้อยปีต่อมา ในปัจจุบันนี้ บีตรูตเป็นหัวพืชใต้ดินปลูกมากในแถบ[[ยุโรป]]และถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในแถบสแกนดิเนเวียุโรปตะวันออกและ[[รัสเซีย]] <ref>[http://eattheseasons.co.uk/Archive/beetroot.htm].กิน บีทรูท </ref>


==ลักษณะทั่วไป==
==ลักษณะทั่วไป==
[[ไฟล์:Beet root vegitable.jpeg|thumb|left|หัวบีตรูต]]
[[ไฟล์:Beet root vegitable.jpeg|thumb|left|หัวบีตรูต]]
[[ไฟล์:Rote-Beete-IMG 2406.JPG|thumb|left|ใบบีตรูต]]
[[ไฟล์:Rote-Beete-IMG 2406.JPG|thumb|left|ใบบีตรูต]]
* '''ราก''' หรือเรียกว่า [[หัวใต้ดิน]] เป็นทรงกลมป้อม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม. ใช้รากสะสมอาหาร และมีเนื้อด้านในอวบน้ำ สีแดงเลือดหมู สีม่วงแดง สีเหลือง
* '''ราก''' หรือเรียกว่า หัวใต้ดิน เป็นทรงกลมป้อม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม. ใช้รากสะสมอาหาร และมีเนื้อด้านในอวบน้ำ สีแดงเลือดหมู สีม่วงแดง สีเหลือง
* '''ใบ''' ใบเดี่ยวเรียงตัวสลับกัน รูป[[หัวใจรี]] มีก้านยาว
* '''ใบ''' ใบเดี่ยวเรียงตัวสลับกัน รูป[[หัวใจรี]] มีก้านยาว
* '''ดอก''' ดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อสีเขียวอ่อน ขนาดเล็ก
* '''ดอก''' ดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อสีเขียวอ่อน ขนาดเล็ก
บรรทัด 52: บรรทัด 52:


==การเลือกและเก็บรักษาบีตรูต==
==การเลือกและเก็บรักษาบีตรูต==
ควรเลือกหัวบีตรูตขนาดเล็ก เพราะมีเนื้อละเอียดและให้รสหวานกว่าหัวบีตรูตขนาดใหญ่ แต่ถ้ามีใบติดอยู่ ให้เลือกหัวบีตรูตที่ใบยังสด แล้วตัดใบให้เหลือก้าน 2-3 ซม. จากนั้นก็นำไปล้างให้สะอาด เก็บในถุงตาข่ายวางไว้ในที่ร่ม หรือในช่องแช่ผักเก็บไว้ได้นานกว่า 14 วัน <ref>[http://board.palungjit.com/f9/%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%97-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%B0-8409.html]. ว้าว!!!!!มารู้จัก..บีทรูท..กันเถอะ</ref>
ควรเลือกหัวบีตรูตขนาดเล็ก เพราะมีเนื้อละเอียดและให้รสหวานกว่าหัวบีตรูตขนาดใหญ่ แต่ถ้ามีใบติดอยู่ ให้เลือกหัวบีตรูตที่ใบยังสด แล้วตัดใบให้เหลือก้าน 2-3 ซม. จากนั้นก็นำไปล้างให้สะอาด เก็บในถุงตาข่ายวางไว้ในที่ร่ม หรือในช่องแช่ผักมีการเก็บไว้ได้นานกว่า 14 วัน <ref>[http://board.palungjit.com/f9/%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%97-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%B0-8409.html]. ว้าว!!!!!มารู้จัก..บีทรูท..กันเถอะ</ref>


== แหล่งจำหน่าย ==
== แหล่งจำหน่าย ==
มีขายทางภาคเหนือของไทย และขายทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า [[ตลาด อ.ต.ก.]] [[ตลาดสี่มุมเมือง]] [[ตลาดไท]] ราคาประมาณ 50-70 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม
มีขายทางภาคเหนือของประเทศไทย และขายทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า ตลาด อ.ต.ก. ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ราคาของบีตรูตประมาณ 50-70 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม
<ref> [http://vegetableinthailand.igetweb.com/index.php?mo=3&art=133327].ผลไม้ บีตรูตต้านมะเร็ง </ref>
<ref> [http://vegetableinthailand.igetweb.com/index.php?mo=3&art=133327].ผลไม้ บีตรูตต้านมะเร็ง </ref>


บรรทัด 69: บรรทัด 69:
[[หมวดหมู่:ไม้ล้มลุก]]
[[หมวดหมู่:ไม้ล้มลุก]]
[[หมวดหมู่:สมุนไพร]]
[[หมวดหมู่:สมุนไพร]]
[[หมวดหมู่:หัวพืชใต้ดิน]]
[[หมวดหมู่:หัวใต้ดิน]]
{{เรียงลำดับ|บีตรูต}}
{{เรียงลำดับ|บีตรูต}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:35, 17 กันยายน 2555

บีตรูต
บีตรูต (Beta vulgaris L.)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไฟลัม: -
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Chenopodiaceae
สกุล: Beta
สปีชีส์: B.  Vulgaris
ชื่อทวินาม
Beta vulgaris
(L.)

บีตรูต หรือชื่ออื่นเช่น ผักกาดฝรั่ง ผักกาดแดง เป็นหัวพืชหรือรากที่สะสมอาหารที่อยู่ใต้ดิน เป็นพืชเมืองหนาวและเป็นผักเพื่อสุขภาพ มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด[1]

ประวัติศาสตร์

บีตรูตมีวิวัฒนาการมาจากป่า seabeet ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของชายฝั่งจากประเทศอินเดียไปยังประเทศอังกฤษ สองพันปีที่ผ่านมาก่อนที่จะถูกพัฒนาโดยเทคนิคการเพาะปลูกบีตรูตมีรากแครอทรูปและมีเพียงใบถูกกิน (รากเล็กๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาโรคโดยชาวกรีกโบราณและโรมัน) มีความหลากหลายของลักษณะรากกลมได้รับการพัฒนาในรอบศตวรรษที่สิบหกและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรปสองสามร้อยปีต่อมา ในปัจจุบันนี้ บีตรูตเป็นหัวพืชใต้ดินปลูกมากในแถบยุโรปและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในแถบสแกนดิเนเวียุโรปตะวันออกและรัสเซีย [2]

ลักษณะทั่วไป

หัวบีตรูต
ใบบีตรูต
  • ราก หรือเรียกว่า หัวใต้ดิน เป็นทรงกลมป้อม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม. ใช้รากสะสมอาหาร และมีเนื้อด้านในอวบน้ำ สีแดงเลือดหมู สีม่วงแดง สีเหลือง
  • ใบ ใบเดี่ยวเรียงตัวสลับกัน รูปหัวใจรี มีก้านยาว
  • ดอก ดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อสีเขียวอ่อน ขนาดเล็ก
  • ผล ผลขนาดเล็ก

ถิ่นกำเนิด

ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน และแถบยุโรป ในประเทศไทย สามารถปลูกได้ทางภาคเหนือ [3]

การเพาะปลูก

บีตรูตต้นอ่อนในไร่

สามารถปลูกได้ตลอดปีในพื้นที่สูงกว่า 1,000 เมตร ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 5.5-7.0 มีการระบายน้ำกับอากาศที่ดี โดยอุณหภูมิของดินต่อการงอกเมล็ดประมาณ 20 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตประมาณ 15-22 องศาเซลเซียส สามารถเก็บผลผลิตทั้งปีและมีมากในช่วงเดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม

คุณค่าทางโภชนาการ

ในรากของบีตรูต มีวิตามินเอ วิตามินบีรวม ซึ่งอุดมไปด้วยโฟเลตเป็นสารประกอบจากกรดโฟลิก เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งทำงานร่วมกับวิตามินบี 12 มีโพแทสเซียม และวิตามินซีสูง ในยอดใบที่มีสีเขียวเข้ม มีสารบีตา-แคโรทีน ซึ่งมีแคลเซียม เหล็ก และโพแทสเซียมกับวิตามินเอสูง ในบีตรูตสุก 100 กรัม ให้พลังงาน 27 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โซเดียม 241 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 5.5 กรัม เส้นใย 2.9 กรัม น้ำตาล 0.6 กรัม โปรตีน 2.6 กรัม และโพแทสเซียม 909 มิลลิกรัม [4]

ในหัวบีตรูต มีสารสีแดง เรียกว่า บีทานิน (betanin) เป็นพวกกรดอะมิโน ช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง ลดการเติบโตของเนื้องอก ทำให้เลือดลมและการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และสารสีม่วง เรียกว่า แอนโทไซยานิน (anthocyanin) ในสภาพเป็นกลาง มีสีม่วง pH 7-8 สภาพเป็นเบส มีสีแดง pH > 11 และสภาพเป็นกรด มีสีน้ำเงิน pH < 3 ซึ่งแอนโทไซยานิน เป็นรงควัตถุที่ให้สีแดง ม่วง และน้ำเงิน มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลบล้างสารที่ก่อมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและลดอาการอัมพาต [5]

งานวิจัย

รายงานจากบีบีซีอ้างผลการศึกษาทีมนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเอกซีเทอร์ (Exeter U, UK) พบว่า การดื่มน้ำบีตรูต (beetroot) ทำให้แรงดี (boost stamina) และอึดขึ้นจนอาจออกกำลังได้นานขึ้นถึง 16% การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า น้ำบีตรูต มีส่วนช่วยลดความดันเลือด ส่วนการกินผัก ผลไม้ นมไขมันต่ำ ถั่ว งา ก็ช่วยลดได้เช่นกัน ดังปรากฏในอาหารแบบแดช (DASH) หรืออาหารต้านความดันเลือดสูง การศึกษานี้มีจุดอ่อนที่ทำในกลุ่มตัวอย่างน้อยมาก คือ 8 คน อายุ 19-38 ราย ให้กินน้ำบีตรูตวันละ 500 มล. = 0.5 ลิตร 6 วันติดต่อกันก่อนทดสอบด้วยจักรยานออกกำลังกาย หลังจากนั้นทดสอบซ้ำด้วยการให้กินน้ำแบลคเคอเรนท์ แทน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทำเวลาได้เร็วขึ้นประมาณ 2%, ความดันเลือดลดลง, ออกกำลังได้นานขึ้นจนถึง 16% กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ สารไนไตรท์ (nitrite) ในผักอาจเป็นสารตั้งต้นของไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ซึ่งมีฤทธิ์ขยายเส้นเลือดอย่างอ่อนๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น การที่บีทรูทมีสารไนไตรท์ค่อนข้างสูง อาจเป็นผลจากการเป็นพืชตระกูลหัวใต้ดิน ทำให้ดูดซับสารอาหารบางอย่างได้มาก พบว่าการดื่มน้ำ 'บีตรูต' เป็นประจำทุกวันจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย และลดอาการเหนื่อยเพลียจากการออกกำลังกายลง และมีผลช่วยให้นักกีฬาประเภทที่ต้องใช้ความอดทนและเวลานานในการเล่น เช่น วิ่งระยะไกล หรือปั่นจักรยาน มีความอึด อดทน และความแข็งแกร่งมากขึ้น ศ.แอนดี้ โจนส์ กล่าว [6]

สรรพคุณทางยา

การคั้นน้ำบีตรูต ดื่มในช่วง 06.00-08.00 น. ก่อนรับประทานอาหารช่วยให้การไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายดี เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และช่วยให้เจริญอาหาร ดื่มก่อนนอนในช่วง 21.00-22.00 น.ช่วยบำรุงไต ถุงน้ำดี ล้างสารพิษ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ไอ ลดอาการบวมได้ดี [7]

ประโยชน์อื่นๆ

น้ำบีตรูต

สามารถใช้เป็นสีธรรมชาติผสมอาหาร นำมาดองเป็นน้ำส้มสายชู งานแกะสลักตบแต่งอาหาร การปรุงอาหาร เช่น สาคูไส้บีตรูต สลัดน้ำบีตรูต พาสต้า ทำขนมบีรูท พุดดิ้งนมสดบีตรูต เยลลี่บีตรูต ทำเครื่องดื่มแบบสมูทตี้ หรือปั่นรวมกับผลไม้ชนิดอื่น เช่น องุ่น แครอท เสาวรส เมลอน แตงโม แอปเปิ้ล อื่นๆ [8]

การเลือกและเก็บรักษาบีตรูต

ควรเลือกหัวบีตรูตขนาดเล็ก เพราะมีเนื้อละเอียดและให้รสหวานกว่าหัวบีตรูตขนาดใหญ่ แต่ถ้ามีใบติดอยู่ ให้เลือกหัวบีตรูตที่ใบยังสด แล้วตัดใบให้เหลือก้าน 2-3 ซม. จากนั้นก็นำไปล้างให้สะอาด เก็บในถุงตาข่ายวางไว้ในที่ร่ม หรือในช่องแช่ผักมีการเก็บไว้ได้นานกว่า 14 วัน [9]

แหล่งจำหน่าย

มีขายทางภาคเหนือของประเทศไทย และขายทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า ตลาด อ.ต.ก. ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ราคาของบีตรูตประมาณ 50-70 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม [10]

อ้างอิง

  1. [1].โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
  2. [2].กิน บีทรูท
  3. [3].บริษัท เกียรติเฟื่องกิจ เกษตรล้านนาจำกัด
  4. [4].ข่าวสดออนไลน์
  5. [5] น้ำสมุนไพร
  6. [6].บีตรูตช่วยอึด
  7. [7].บีตรูต..น้ำผักรักษามะเร็ง
  8. [8].บ้านสวนพอเพียง
  9. [9]. ว้าว!!!!!มารู้จัก..บีทรูท..กันเถอะ
  10. [10].ผลไม้ บีตรูตต้านมะเร็ง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • [11].เกษตรพอเพียง.คอม
  • [12].ไร่ยิ้มเขียว เกษตรอินทรีย์
  • [13].น้ำบีตรูต(beetroot)ช่วยแรงดีและอึด [+EN]