ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำลายป่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tanyarat Komol (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tanyarat Komol (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
# การทำเหมืองเปิด (Strip Mining) – การทำลายป่ารูปแบบนี้นับว่าร้ายแรงมาก มีการเปิดหน้าดินออกเพื่อขุดหาแร่ เมื่อพื้นดินปราศจากสิ่งปกคลุม ฝนตกลงมากระทบกับพื้นดินโดยตรง ไม่มีต้นไม้ที่จะสกัดหรือสิ่งปกคลุมดินที่จะซับหรือดูดซึมน้ำเอาไว้ ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าหน้าดินมาก และมีการกัดเซาะที่รุนแรงตามลำห้วย ลำธาร หรือบริเวณใกล้เคียงที่ท่วมท้นถึง มีความขุ่นทำความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไร่นา และนำความเดือดร้อนมาสู่ผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด
# การทำเหมืองเปิด (Strip Mining) – การทำลายป่ารูปแบบนี้นับว่าร้ายแรงมาก มีการเปิดหน้าดินออกเพื่อขุดหาแร่ เมื่อพื้นดินปราศจากสิ่งปกคลุม ฝนตกลงมากระทบกับพื้นดินโดยตรง ไม่มีต้นไม้ที่จะสกัดหรือสิ่งปกคลุมดินที่จะซับหรือดูดซึมน้ำเอาไว้ ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าหน้าดินมาก และมีการกัดเซาะที่รุนแรงตามลำห้วย ลำธาร หรือบริเวณใกล้เคียงที่ท่วมท้นถึง มีความขุ่นทำความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไร่นา และนำความเดือดร้อนมาสู่ผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด


== สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้ ==
การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยสูญเสีย พื้นที่ป่าไปแล้วประมาณ 67 ล้านไร่ หรือเฉลี่ยประมาณ 1.6 ล้านไร่ต่อปี กล่าวคือ ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ถึงร้อยละ 53.3 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 171 ล้านไร่ และลดลงมาโดยตลอดจนในปี พ.ศ. 2532 ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 27.95 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 90 ล้านไร่ รัฐบาลในอดีตได้พยายามจะรักษาพื้นที่ป่าโดยประกาศยกเลิกสัมปทานการทำไม้ในป่าบกทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2532 แต่หลังจากยกเลิกสัมปทานป่าไม้ สถานการณ์ดีขึ้นในระยะแรกเท่านั้น ต่อมาการทำลายก็ยังคงเกิดขึ้นไม่แตกต่างจากสถานการณ์ก่อนยกเลิกสัมปทานป่าไม้เท่าใดนัก โดยพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกก่อนการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2525-2532) เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1.2 ล้านไร่ และพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหลังการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ย 1.1 ล้านไร่ต่อปี

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2543 มีการประเมินพื้นที่ป่าโดยแปลความจากข้อมูลดาวเทียมมาตราส่วน 1:50,000 พบว่า มีพื้นที่ประมาณ 107 ล้านไร่ หรือร้อยละ 33.40 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นผลการประเมินขั้นต้นที่ยังไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องภาคพื้นดินจากพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่จะมีพื้นที่ที่มีสภาพทางระบบนิเวศที่สมบูรณ์อยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ได้ทำการประกาศก่อนการยกเลิกสัมปทานป่าไม้ และจากการนำข้อมูลดาวเทียมปี พ.ศ. 2547 ไปทับซ้อนลงบนข้อมูลดาวเทียมปี พ.ศ. 2543 พบว่า นับจากปี พ.ศ. 2543 จนถึง พ.ศ. 2547 มีพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกรวม 1,476 แปลง รวมพื้นที่ 3,852,821 ไร่
== ผลของการตัดไม้ทำลายป่า ==
== ผลของการตัดไม้ทำลายป่า ==
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เมื่อไม่มีต้นไม้ปกคลุมทำให้แสงแดดส่องมายังพื้นโลกมากขึ้น ต้นไม้ยังช่วยขยายวัฏจักรของน้ำ ทำให้เกิดการหมุนกลับของไอน้ำเข้าสู่บรรยากาศ การทำลายป่าทำให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เมื่อไม่มีต้นไม้ปกคลุมทำให้แสงแดดส่องมายังพื้นโลกมากขึ้น ต้นไม้ยังช่วยขยายวัฏจักรของน้ำ ทำให้เกิดการหมุนกลับของไอน้ำเข้าสู่บรรยากาศ การทำลายป่าทำให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์
บรรทัด 34: บรรทัด 38:
* [http://www.asiaplantationthailand.com/deforestation.html]
* [http://www.asiaplantationthailand.com/deforestation.html]
* วรรณวนาลัย ไพสณฑ์ศรลักษณ์ และ พิทักษ์พนาลี วนศรีเสริมสยาม. 2524. '''รูปแบบของการทำลายป่าทีสำคัญ''', น. 16-20. ใน ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ทุ่งพระเมรุ-แสนแสบ-ประสานมิตร-บางเขน, บรรณาธิการ. '''ป่าไม้จะอยู่ยั้งยืนยง'''. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพมหานคร.
* วรรณวนาลัย ไพสณฑ์ศรลักษณ์ และ พิทักษ์พนาลี วนศรีเสริมสยาม. 2524. '''รูปแบบของการทำลายป่าทีสำคัญ''', น. 16-20. ใน ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ทุ่งพระเมรุ-แสนแสบ-ประสานมิตร-บางเขน, บรรณาธิการ. '''ป่าไม้จะอยู่ยั้งยืนยง'''. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพมหานคร.
* [http://www.thaienvimonitor.net/Concept/priority1.htm]
{{จบอ้างอิง}}
{{จบอ้างอิง}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:09, 12 กันยายน 2555

การทำลายป่าฝนอะเมซอน

การทำลายป่า คือ สภาวะของป่าตามธรรมชาติที่ถูกทำลายโดยการตัดไม้และการเผาป่า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนำต้นไม้และถ่านไม้มาใช้หรือจำหน่ายเป็นโภคภัณฑ์ ในระหว่างที่ทำการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก และตั้งถิ่นฐาน บนพื้นที่ว่าง การตัดไม้โดยไม่ปลูกทดแทนด้วยจำนวนที่เพียงพอ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหาความแห้งแล้ง ซึ่งส่งผลเสียต่อการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยพืช การบริเวณพื่นที่ป่าถูกทำลายโดยมากจะเกิดความเสียหายจากการพังทลายของหน้าดิน และพื้นที่มักจะด้อยคุณภาพลงจนกลายเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์มิได้

สาเหตุ

สาเหตุที่เป็นต้นกำเนิดของการทำลายป่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีมากมาย รวมถึงการทุจริตของหน่วยงานรัฐบาล การกระจายความมั่งคั่งและอำนาจอย่างไม่เสมอภาค การเพิ่มประชากรและมีประชากรมากเกินไป และการพัฒนาให้กลายเป็นเมือง (สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดจากขบวนการแรงงาน เงินทุน โภคภัณฑ์ และมโนคติ) ช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูป่าเฉพาะที่

รูปแบบการทำลายป่าที่สำคัญ

  1. การทำไร่เลื่อนลอย – การทำลายป่าในลักษณะนี้มีอยุ่มากในทางภาคเหนือ เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคเหนือมีแต่ภูเขา มีพื้นที่ราบค่อนข้างจำกัด เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงมีการขยายพื้นที่ทำมาหากินจากที่ราบขึ้นไปบนเขาทางหนึ่ง กับอีกทางหนึ่งคือชาวเขาที่อาศัยอยู่บนภูเขา ทำการแผ้วถางป่าเพื่อปลูกพืชไร่อยู่ตามภูเขาสูง โดยเฉพาะป่าดงดิบเขาบริเวณต้นน้ำลำธาร
  2. การบุกรุกป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ – ลักษณะการบุกรุกป่าแบบนี้จะพบได้ทั่วไปในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีการเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้อันอุดมมาเป็นไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือปอ เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่รุนแรงและมีอยู่อย่างกว้างขวางมากทั้งในสามภาคของประเทศไทย
  3. การบุกรุกป่าเพื่อเข้าไปตั้งถิ่นฐานใหม่ – การทำลายป่าในรูปลักษณะนี้มองได้ชัดเจนจากการจัดที่ดินทำกินของนิคมต่างๆ เช่นนิคมสหกรณ์ที่ดิน นิคมชาวเขา ฯลฯ
  4. ไฟป่า – ไฟป่าเกิดขึ้นได้จากการกระทำของมนุษย์และเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ผลจากไฟไหม้ป่าจะทำลายเศษไม้ ใบไม้ ลูกไม้ เมล็ดไม้ สัตว์และแมลง แม้กระทั้งต้นไม้ในป่าไปพร้อมกัน ทำให้ผิวดินในป่าที่ถูกไฟไหม้แข็ง ขาดคุณภาพในการดูดซึมและซับน้ำ จึงทำให้เกิด น้ำไหลบ่าหน้าดิน (surface runoff) มากเมื่อฝนตก เมื่อน้ำไหลบ่าหน้าดินมาก น้ำฝนที่ตกลงมาจะท่วมท้นฝั่งลำห้วย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการกัดเซาะตามลำน้ำ ทำให้น้ำขุ่น ผิวหน้าดินบริเวณเดิมก็จะขาดความโอชะไป น้ำพัดพาเอาตะกอนไปท่วมไร่นา พืชผลเสียหาย ป็นการเพิ่มความเสียหายแก่ทรัพย์สินและพืชผลเป็นทวีคูณ
  5. การทำไม้ออกเกินกำลังของป่า
  6. การทำเหมืองเปิด (Strip Mining) – การทำลายป่ารูปแบบนี้นับว่าร้ายแรงมาก มีการเปิดหน้าดินออกเพื่อขุดหาแร่ เมื่อพื้นดินปราศจากสิ่งปกคลุม ฝนตกลงมากระทบกับพื้นดินโดยตรง ไม่มีต้นไม้ที่จะสกัดหรือสิ่งปกคลุมดินที่จะซับหรือดูดซึมน้ำเอาไว้ ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าหน้าดินมาก และมีการกัดเซาะที่รุนแรงตามลำห้วย ลำธาร หรือบริเวณใกล้เคียงที่ท่วมท้นถึง มีความขุ่นทำความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไร่นา และนำความเดือดร้อนมาสู่ผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด

สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้

การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยสูญเสีย พื้นที่ป่าไปแล้วประมาณ 67 ล้านไร่ หรือเฉลี่ยประมาณ 1.6 ล้านไร่ต่อปี กล่าวคือ ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ถึงร้อยละ 53.3 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 171 ล้านไร่ และลดลงมาโดยตลอดจนในปี พ.ศ. 2532 ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 27.95 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 90 ล้านไร่ รัฐบาลในอดีตได้พยายามจะรักษาพื้นที่ป่าโดยประกาศยกเลิกสัมปทานการทำไม้ในป่าบกทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2532 แต่หลังจากยกเลิกสัมปทานป่าไม้ สถานการณ์ดีขึ้นในระยะแรกเท่านั้น ต่อมาการทำลายก็ยังคงเกิดขึ้นไม่แตกต่างจากสถานการณ์ก่อนยกเลิกสัมปทานป่าไม้เท่าใดนัก โดยพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกก่อนการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2525-2532) เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1.2 ล้านไร่ และพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหลังการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ย 1.1 ล้านไร่ต่อปี

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2543 มีการประเมินพื้นที่ป่าโดยแปลความจากข้อมูลดาวเทียมมาตราส่วน 1:50,000 พบว่า มีพื้นที่ประมาณ 107 ล้านไร่ หรือร้อยละ 33.40 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นผลการประเมินขั้นต้นที่ยังไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องภาคพื้นดินจากพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่จะมีพื้นที่ที่มีสภาพทางระบบนิเวศที่สมบูรณ์อยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ได้ทำการประกาศก่อนการยกเลิกสัมปทานป่าไม้ และจากการนำข้อมูลดาวเทียมปี พ.ศ. 2547 ไปทับซ้อนลงบนข้อมูลดาวเทียมปี พ.ศ. 2543 พบว่า นับจากปี พ.ศ. 2543 จนถึง พ.ศ. 2547 มีพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกรวม 1,476 แปลง รวมพื้นที่ 3,852,821 ไร่

ผลของการตัดไม้ทำลายป่า

ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เมื่อไม่มีต้นไม้ปกคลุมทำให้แสงแดดส่องมายังพื้นโลกมากขึ้น ต้นไม้ยังช่วยขยายวัฏจักรของน้ำ ทำให้เกิดการหมุนกลับของไอน้ำเข้าสู่บรรยากาศ การทำลายป่าทำให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์

ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม

ทางด้านชั้นบรรยากาศ การตัดไม้ทำลายป่ามีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปรากฏการณ์เรือนกระจก การตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนมีส่วนประมาณร้อยละ 20 ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนโลก ตามที่กล่าวโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อน ทว่าการคำนวณเมื่อไม่นานมานี้เสนอแนะว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า (ยกเว้นการปล่อยก๊าซในดินพรุ) มีส่วนร้อยละ 12 จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ โดยมีขอบเขตอยู่ในร้อยละ 6-17

ทางด้านอุทกวิทยา การตัดไม้ทำลายป่ามีผลต่อวัฏจักรของน้ำ ต้มไม้สกัดน้ำบาดาลผ่านทางรากและปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อใดที่พื้นที่ป่าบางส่วนถูกทำลาย ต้นไม้จะไม่คายน้ำอีกต่อไป มีผลทำให้สภาพอากาศแห้งมากขึ้น การตัดไม้ทำลายป่าลดปริมาณของน้ำในดินและน้ำบาดาล เช่นเดียวกับความชื้นในชั้นบรรยากาศ การตัดไม้ทำลายป่าลดการเกาะตัวของดิน ทำให้เกิดผลที่ตามมาคือหน้าดินพังทลาย น้ำท่วม และดินถล่ม ผืนป่าช่วยเพิ่มพูนการดูดซึมน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำในบางพื้นที่ พื้นที่ป่าที่มีขนาดเล็กลงมีความสามารถน้อยลงในการดักจับ ดูดซับ และปลดปล่อยปริมาณน้ำฝน แทนที่สกัดกั้นปริมาณน้ำฝนซึ่งจะซึมผ่านไปยังระบบน้ำบาดาล พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายจะเป็นตัวการให้เกิดน้ำผิวดิน ซึ่งจะเคลื่อนที่ได้ไวกว่าการไหลของน้ำบาดาล การเคลื่อนที่ที่เร็วกว่าของน้ำผิวดินอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและเกิดน้ำท่วมเฉพาะพื้นที่รุนแรงกว่าที่เกิดกับพื้นที่ที่มีผืนป่าปกคลุม การตัดไม้ทำลายป่ามีส่วนในการลดอัตราการระเหยและการคายน้ำ ซึ่งทำให้ความชื้นในชั้นบรรยากาศน้อยลง ในบางกรณีส่งผลกระทบต่อระดับปริมาณน้ำฝน ตามทิศทางของลมที่พัดมาจากพื้นที่ที่ป่าถูกทำลาย เนื่องจากป่าที่อยู่ตามทิศทางของลมไม่ได้นำน้ำกลับมาหมุนเวียนเพื่อใช้ใหม่ แต่น้ำได้กลายสภาพไปเป็นน้ำผิวดินและไหลกลับไปยังมหาสมุทรโดยตรง จากผลการศึกษาหนึ่งในขั้นต้นพบว่า ในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยในแต่ละปีลดลง 1 ใน 3 ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1980 ต้นไม้และพืชโดยทั่วไปส่งผลกระทบอย่างมากต่อวัฏจักรของน้ำ

ดิน ป่าไม้ที่ยังไม่ถูกรุกราน มีอัตราการสูญเสียดินที่ต่ำ เพียงแค่ประมาณ 2 ตัน ต่อ ตารางกิโลเมตร โดยทั่วไปการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มอัตราการพังทลายของหน้าดิน โดยการเพิ่มประมาณของน้ำผิวดินและลดการป้องกันหน้าดินของเศษซากของต้นไม้ รากต้นไม้ยึดดินเข้าไว้ด้วยกัน และหากผืนดินอยู่ตื้นพอ ผืนดินจะยึดดินไว้ให้อยู่กับหินดานที่อยู่ใต้ลึกลงไป การตัดไม้บนพื้นที่ลาดชัด ซึ่งที่ผืนดินอยู่ตื้น จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดดินถล่ม ซึ่งทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่โดยรอบตกอยู่ในอันตราย อย่างไรก็ตามการตัดไม้ทำลายป่าส่วนใหญ่มีผลกระทบแค่กับลำต้นของต้นไม้ หากยังปล่อยให้รากยึดติดอยู่กับดิน ก็แก้ไขปัญหาดินถล่มได้

ทางด้านนิเวศวิทยา การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพเสื่อมถอย การตัดและทำลายพื้นที่ที่ป่าไม้ปกคลุมทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ป่าไม้เกื้อหนุนความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า นอกเหนือจากนั้นป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่เอื้อต่อการอนุรักษ์พืชจำพวกยารักษาโรค ด้วยเหตุผลที่เขตชีวชาติในป่าเป็นแหล่งที่หาสิ่งอื่นมาทดแทนไม่ได้ของตัวยาแบบใหม่ ๆ (เช่น แท็กซอล) การตัดไม้ทำลายป่าอาจเป็นการทำลายความหลากหลายทางพันธุกรรม (เช่น ภูมิต้านทานของพืชผล) โดยไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้

อ้างอิง

  • [1]
  • วรรณวนาลัย ไพสณฑ์ศรลักษณ์ และ พิทักษ์พนาลี วนศรีเสริมสยาม. 2524. รูปแบบของการทำลายป่าทีสำคัญ, น. 16-20. ใน ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ทุ่งพระเมรุ-แสนแสบ-ประสานมิตร-บางเขน, บรรณาธิการ. ป่าไม้จะอยู่ยั้งยืนยง. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพมหานคร.
  • [2]