ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: az:I Təhmasib
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: fa:شاه طهماسب یکم
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
[[de:Tahmasp I.]]
[[de:Tahmasp I.]]
[[en:Tahmasp I]]
[[en:Tahmasp I]]
[[fa:شاه تهماسب یکم]]
[[fa:شاه طهماسب یکم]]
[[fr:Tahmasp Ier]]
[[fr:Tahmasp Ier]]
[[hi:तहमास्य प्रथम]]
[[hi:तहमास्य प्रथम]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:49, 11 กันยายน 2555

ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย
شاه تهماسب یکم
พระมหากษัตริย์แห่งอิหร่าน

ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1
ราชวงศ์ ซาฟาวิยะห์
ครองราชย์ ค.ศ. 1524 - 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1576
ประสูติ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1514
สวรรคต 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1576
กษัตริย์เปอร์เซีย

ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย (อังกฤษ: Tahmasp I) (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 151414 พฤษภาคม ค.ศ. 1576) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ผู้ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1524 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1576 ทรงเป็นชาห์ผู้มีอิทธิพลพระองค์หนึ่งของอิหร่าน ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 ทรงเป็นพระราชโอรสของชาห์อิสมาอิลที่ 1 และชาห์-เบกิ คามุม (ที่รู้จักกันในตำแหน่งทาจลู คามุม (Tajlu Khanum)) ของชนเติร์กเมน (Turkmen people) เผ่ามาว์ซิลลู[1][2]

เมื่อยังทรงพระเยาว์พระองค์ทรงเป็นผู้อ่อนแอและทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคิซิลบาช (Qizilbash) ซึ่งเป็นชนกลุ่มเตอร์กิกผู้เป็นกระดูกสันหลังของอำนาจของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ ผู้นำของคิซิลบาชต่อสู้กันเองในการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของทาห์มาสพ์ เมื่อทาห์มาสพ์เติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นพระองค์ก็ทรงสามารถแสดงพระเดชานุภาพในการควบคุมชนเผ่าเหล่านี้ได้

รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยที่ต้องทรงเผชิญกับอันตรายจากอิทธิพลจากภายนอกประเทศโดยเฉพาะจากจักรวรรดิออตโตมันและจากอุซเบ็ค ในปี ค.ศ. 1555 พระองค์ก็ทรงสามารถแสวงหาความปรองดองได้จากสัญญาสันติสุขอามาสยา (Peace of Amasya) ที่ยืนยาวอยู่สามสิบปีจนกระทั่งมาถูกละเมิดในรัชสมัยของชาห์โมฮัมมัด โคดาบันดา (Mohammed Khodabanda)

ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ที่ทรงให้จักรพรรดิฮุมายัน (Humayun) แห่งจักรวรรดิโมกุลหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้ ซึ่งปรากฏอยู่ในภาพเขียนบนผนังของวังซาฟาวิยะห์ในเชเฮลโซทูน

แต่อิทธิพลที่มีผลต่อมาอีกนานคือการสนับสนุนการผลิตพรมเปอร์เชียเป็นอุตสาหกรรมระดับชาติ ที่อาจจะเป็นผลมาจากการค้าขายบนเส้นทางสามไหมมาถูกขัดจังหวะในระหว่างสงครามกับออตโตมัน

อ้างอิง

  1. Women in Iran: From the Rise of Islam to 1800 ed. Nashat and Beck (University of Illinois Press, 2003) p.145
  2. Andrew J. Newman Safavid Iran (I.B.Tauris) p.23

ข้อมูลเพิ่มเติม