ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลเจ้าอิตสึกูชิมะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต แก้ไข: ka:იცუკუსიმის ტაძარი
Gerakibot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: el:Ιερό της Ιτσουκουσίμα
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
[[cs:Svatyně Icukušima]]
[[cs:Svatyně Icukušima]]
[[de:Itsukushima-Schrein]]
[[de:Itsukushima-Schrein]]
[[el:Ιερό της Ιτσουκουσίμα]]
[[en:Itsukushima Shrine]]
[[en:Itsukushima Shrine]]
[[eo:Icukuŝima-Sanktejo]]
[[eo:Icukuŝima-Sanktejo]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:34, 9 กันยายน 2555


ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ
ประเทศจังหวัดฮิโระชิมะ
 ญี่ปุ่น
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (iv) (vi)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2539 (คณะกรรมการสมัยที่ 20)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ (厳島神社 อิสึกุชิมะจิ้นจะ Itsukushima Jinja)เป็นศาลเจ้าลัทธิชินโตบนเกาะอิสึกุชิมะ เมืองฮะสึไกชิ จังหวัดฮิโระชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกฐานะอาคารต่าง ๆ ในศาลเจ้าให้เป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น

ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าย้อนหลังไปได้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 การก่อสร้างสำเร็จจนมีลักษณะอย่างในปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 1711 โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากแม่ทัพคิโยโมริ ศาลเจ้าแห่งนี้เคยเป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของเกาะ ในอดีตชาวบ้านสามัญชนจะถูกห้ามไม่ให้ย่างเท้าขึ้นบนเกาะ และต้องเดินทางโดยเรือผ่านเสาประตูที่ลอยอยู่กลางทะเล

เสาโทะริอิของศาลเจ้าอิสึกุชิมะเป็นจุดท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น และทิวทัศน์ของเสาประตูที่อยู่หน้าภูเขามิเซนบนเกาะ ยังได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในสามทิวทัศน์ที่งดงามที่สุดในญี่ปุ่น (Three Views of Japan) เสาโทะริอิถูกสร้างขึ้นในบริเวณนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1711 แต่เสาที่เห็นในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2418 ตัวเสาทำจากไม้การบูร มีความสูงประมาณ 16 เมตร มีเสาเล็ก ๆ เป็นฐานรองอีก 4 เสา

ไฟล์:Sake barrels.jpg
ถังเหล้าสาเกวางเรียงรายอยู่ในอาคารลอยน้ำในศาลเจ้า

ในเวลาที่น้ำขึ้น เสาโทะริอิจะดูเหมือนลอยอยู่กลางทะเล เมื่อน้ำลง จะปรากฏให้เห็นพื้นโคลนเลนที่เสาตั้งอยู่ และสามารถเดินเท้าไปจากเกาะได้ ผู้มาเยือนมักจะวางเหรียญเงินไว้ที่ขารองเสาแล้วอธิษฐานขอพร การเก็บหอยเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นนิยมเวลาน้ำลง และเวลากลางคืนจะมีแสงไฟจากชายฝั่งส่องไปที่เสาให้ดูงดงามยิ่งขึ้น

การรักษาความสะอาดบริสุทธิ์ในศาลเจ้าถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ก่อนปี พ.ศ. 2421 ภายในศาลเจ้าจะไม่มีการอนุญาตให้มีการเกิดและการตาย แม้จนทุกวันนี้การฝังศพบนเกาะก็ยังเป็นสิ่งต้องห้าม

ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2547 ศาลเจ้าถูกพายุไต้ฝุ่นซองดาพัดจนเสียหายหนัก ทางเดินและหลังคาอาคารถูกทำลาย ทำให้ต้องปิดศาลเจ้าชั่วคราว แล้วเปิดให้เข้าชมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2549 แต่ก็ยังคงต้องดำเนินการซ่อมแซมต่อไป

มรดกโลก

ศาลเจ้าอิสีกุชิมะได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่เมืองเมรีดา ประเทศเม็กซิโก ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์


อ้างอิง

แม่แบบ:Coor title dms