ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาร์เธอร์ อีแวนส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ms:Arthur Evans
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ca:Arthur Evans
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
[[be-x-old:Артур Джон Эванз]]
[[be-x-old:Артур Джон Эванз]]
[[bg:Артър Евънс]]
[[bg:Артър Евънс]]
[[ca:Arthur Evans]]
[[cs:Arthur Evans]]
[[cs:Arthur Evans]]
[[cy:Arthur Evans]]
[[cy:Arthur Evans]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:53, 4 กันยายน 2555

รูปปั้นบรอนซ์ของเซอร์อาเธอร์ อีแวนส์ที่วังนอสซัส

เซอร์อาเธอร์ จอห์น อีแวนส์ อังกฤษ: Sir Arthur John Evans (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2394 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 นักโบราณคดีผู้มีชื่อเสียงของอังกฤษผู้ขุดค้นวังนอสซัสบนเกาะครีต ประเทศกรีก อีแวนส์เกิดที่เมืองแนชมิลลส์ ประเทศอังกฤษ เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนแฮโรว์ และเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่วิทยาลัยบราเซโนส มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยกอตติงเก็น ประเทศเยอรมนี

ก่อนที่อีแวนส์จะเริ่มงานที่เกาะครีต นักโบราณคดีชื่อ มิโนส คาโลไคไนโนส ได้เปิดหลุมขุดค้นข้องเก็บของที่วังนอสซัสแล้วสองห้องเมื่อ พ.ศ. 2347 แต่รัฐบาลตุรกีได้ยับยั้งการขุดค้นนี้ไว้ก่อนงานขุดค้นจะแล้วเสร็จ อีแวนส์ได้ถอดรหัสที่จารึกบนตราที่ทำด้วยหินบนเกาะครีตในปีเดียวกันและเมื่อครีตได้ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2443 อีแวนส์ได้ซื้อบริเวณซากวังนอสซัสและเริ่มงานขุดค้น เซอร์อาเธอร์ อีแวนส์ได้ค้นพบ แผ่นดินเผาจากการขุดค้นมากถึง 3,000 แผ่นและเริ่มงานคัดลอกและถอดระหัส และจากการคัดลอกและถ่ายทอดนี้เป็นที่ชัดเจนว่าข้อความบนแผ่นดินเผาเป็นบทเขียนที่มากกว่าหนึ่งบท จากหลักฐานของเซรามิกและและวิชาการลำดับชั้นหิน (stratigraphy) อีแวนส์สรุปว่าอารยธรรมบนเกาะครีตมีมาก่อนอารยธรรมที่เป็นที่รับรู้เมื่อเร็วนี้โดยนักโบราณคดี-นักผจญภัยชื่อไฮน์ริช ชรีมานน์เป็นผู้เปิดเผย คืออารยธรรมไมซีนี (Mycenae) และไทรีนส์ (Tiryns)

ซากโบราณที่วังนอสซัสแผ่กว้างเป็นเนื้อที่มากถึง 12.5 ไร่ และมีลักษณะความวกวนที่ทำให้อีแวนศนึกถึงเขาวงกตที่มีกล่าวไว้ในเรื่องปรัมปราของกรีกที่สร้างโดยกษัตริย์ไมโนสเพื่อซ่อนพระโอรสประหลาด (monstrous child - คนศีรษะวัว) ดังนั้น อีแวนส์จึงตั้งชื่ออารยธรรมที่เคยมีอยู่ที่พระราชวังยิ่งใหญ่นี้ว่า "อารธรรมมิโนน (Minoan Civilization) เมื่อถึง พ.ศ. 2446 งานขุดค้นวังนอสซัสแล้วเสร็จลงเกือบทั้งหมด เผยให้เห็นความก้าวหน้าของเมืองที่เต็มไปด้วยงานศิลปะและตัวอย่างงานเขียนจำนวนมาก ภาพที่เขียนบนผนังมีภาพวัวเป็นจำนวนมากทำให้อีแวนส์สรุปว่าชาวมิโนนบูชาวัวอย่างแน่นอน

อีแวนส์ได้รับบรรดาศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2454 จากผลงานด้านโบราณคดีและได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของเขาทั้งที่นอสซัสและที่พิพิธภัณฑ์แอชโมลีน ในปี พ.ศ. 2456 เซอร์อีแวนส์ได้ใช้เงินส่วนตัวจำนวน 100 ปอนด์เพื่อเพิ่มทุนการศึกษาที่ร่วมกันตั้งโดยมหาวิทยาลัยลอนดอนและสมาคมโบราณคดีให้เพิ่มเป็นสองเท่าเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ออกัสตัส โวลลาสตัน แฟรงค์ ผู้ได้ทุนในปีนั้นได้แก่มอร์ติเมอร์ วีลเลอร์

เซอร์อาเธอร์ อีแวนส์สมควรที่จะได้รับการจดจำจากความดื้อดึงในการยึดครีตเป็นศูนย์กลางที่นำไปสู่การโต้เถียงที่ไม่มีความเป็นมิตรระหว่างอีแวนส์กับนักโบราณคดีบนแผ่นดินใหญ่ คือคาร์ล เบลเจน และอลัน วาซ

อ้างอิง

  • Evans, A.J. (1901). Scripta Minoa - Volume 1.
  • Evans, A.J. (1952). Scripta Minoa - Volume 2.
  • Evans, A.J. (1921-35). The Palace of Minos - Volumes 1-4.
  • Evans, A.J. (1933). Jarn Mound.
  • Powell, Dilys (1973). The Villa Ariadne. Originally published by Hodder & Stoughton, London. A very lively account of Evan's residence at Knossos and the house he build himself there, which he later willed to the British School of Archæology at Athens.
  • Ross, J. (1990). Chronicle of the 20th Century. Chronicle Australia Pty Ltd. ISBN 1-872031-80-3.
  • MacGillivray, J Alexander (2001). Minotaur - Sir Arthur Evans and the Archaeology of the Minoan Myth. Published by Pimlico, a division of Random House. (Originally published by Jonathan Cape in 2000). A fascinating critical biography by someone who was himself an archaeologist associated with the site at Knossos for several years, and who is able to place the remarkable story of Evans in the context of the scientific and sociopolitical environment in which he lived.hey