ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดเชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 782: บรรทัด 782:
== การสาธารณูปโภค ==
== การสาธารณูปโภค ==


* '''ไฟฟ้า''' การไฟฟ้าของจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตเหนือ รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ แหล่งผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีสถานีควบคุมการจ่ายไฟฟ้า 5 สถานี จำนวนการไฟฟ้า 32 แห่ง ในปี 2553 จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 567,201 ราย ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในจังหวัด 2,264.45 ล้านหน่วย สามารถให้บริการไฟฟ้าได้ครอบคลุม 25 อำเภอ สำหรับหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถขยายเขตระบบจำหน่ายได้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ เป็นหมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แหล่งต้นน้ำลำธาร ลุ่มน้ำ เขตป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติ
* '''ไฟฟ้า''' การไฟฟ้าของจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตเหนือ รับซื้อกระแสไฟฟ้าจาก[[การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]] ณ แหล่งผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีสถานีควบคุมการจ่ายไฟฟ้า 5 สถานี จำนวนการไฟฟ้า 32 แห่ง ในปี 2553 จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 567,201 ราย ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในจังหวัด 2,264.45 ล้านหน่วย สามารถให้บริการไฟฟ้าได้ครอบคลุม 25 อำเภอ สำหรับหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถขยายเขตระบบจำหน่ายได้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ เป็นหมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แหล่งต้นน้ำลำธาร ลุ่มน้ำ เขตป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งมีการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งมีการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์


* '''ประปา''' การประปาในจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ การประปาเชียงใหม่ การประปาฮอด การประปาสันกำแพง การประปาฝาง การประปาแม่ริม การประปาแม่แตง มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 54.83 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณการใช้น้ำ 25.33 ล้านลูกบาศก์เมตร มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 112,685 ราย โดยในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีผู้ใช้น้ำประปามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.04 ของจำนวนผู้ใช้ประปาทั้งหมดของจังหวัด
* '''ประปา''' การประปาในจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ การประปาเชียงใหม่ การประปาฮอด การประปาสันกำแพง การประปาฝาง การประปาแม่ริม การประปาแม่แตง มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 54.83 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณการใช้น้ำ 25.33 ล้านลูกบาศก์เมตร มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 112,685 ราย โดยในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีผู้ใช้น้ำประปามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.04 ของจำนวนผู้ใช้ประปาทั้งหมดของจังหวัด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:12, 31 สิงหาคม 2555

จังหวัดเชียงใหม่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Chiang Mai
คำขวัญ: 
ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า
บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2553)
พื้นที่
 • ทั้งหมด20,107.057 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 2
ประชากร
 (พ.ศ. 2554)
 • ทั้งหมด1,646,144 คน [2] คน
 • อันดับอันดับที่ 5
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 54
รหัส ISO 3166TH-50
ชื่อไทยอื่น ๆนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
รัตนติงสาอภินวบุรีเชียงใหม่
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ทองกวาว
 • ดอกไม้ทองกวาว
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 5311 2713
เว็บไซต์http://www.chiangmai.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ และมีประชากร 1,708,564 คน[3] มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของพม่า

ด้านการปกครอง แบ่งออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย

จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มีภาษาล้านนา (คำเมือง) เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก ล่าสุด จังหวัดเชียงใหม่ได้เริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และกำลังพิจารณาสมัครเข้าเป็นนครสร้างสรรค์ของยูเนสโก[4]

ประวัติศาสตร์

พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง

เมืองเชียงใหม่ มีชื่อปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1839 โดยพญามังรายเป็นผู้ทรงสร้าง มีอายุครบ 700 ปี ในปี พ.ศ. 2539

ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ชื่อว่า อาณาจักรล้านนา ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839-2101) กระทั่งในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า และได้อยู่ภายใต้การปกครองของพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของกรุงรัตนโกสินร์ และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "รัตนติงสาอภินวบุรีเชียงใหม่"

ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช โดยมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลพายัพ" หรือมณฑลลาวเฉียง ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและยกฐานะขึ้นเป็น "จังหวัด" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง

จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ละติจูด 16 องศาเหนือ ลองติจูด 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 310 เมตร ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 428 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร[5]

อาณาเขตติดต่อ

จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า ใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา จึงไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้ชัดเจน และเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ

ภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศของจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา

จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565.3355 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ สูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ

  1. พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่จังหวัด[5] เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
  2. พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร

ภูมิอากาศ

จังหวัดเชียงใหม่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู[5]

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดเชียงใหม่
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.4
(84.9)
32.2
(90)
34.9
(94.8)
36.1
(97)
34.0
(93.2)
32.6
(90.7)
31.8
(89.2)
31.3
(88.3)
31.5
(88.7)
31.3
(88.3)
29.8
(85.6)
28.3
(82.9)
31.93
(89.48)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 14.2
(57.6)
15.6
(60.1)
19
(66)
22.4
(72.3)
23.7
(74.7)
23.9
(75)
23.8
(74.8)
23.6
(74.5)
23.1
(73.6)
22.1
(71.8)
19.2
(66.6)
15.3
(59.5)
20.49
(68.89)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 7.7
(0.303)
9.2
(0.362)
19.2
(0.756)
54.1
(2.13)
153
(6.02)
117.3
(4.618)
153.2
(6.031)
224.6
(8.843)
200.2
(7.882)
118.1
(4.65)
51.3
(2.02)
18.3
(0.72)
1,126.2
(44.339)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 0.7 1 2.2 6.4 14.6 16 18.4 20.6 17.2 11.6 5.1 1.6 115.4
แหล่งที่มา: WMO

ทรัพยากร

ทรัพยากรป่าไม้

จังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลายประเภท ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 8,787,656 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.92 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด[5] แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 25 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่

นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้เกิดขึ้นเป็นประจำ สาเหตุสำคัญเช่น การลักลอบตัดไม้ การบุกรุกเพื่อทำการเกษร และไฟป่า

ทรัพยากรสัตว์ป่า

พื้นที่ป่าในจังหวัด มีความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่าสำคัญที่พบ ได้แก่ เลียงผา หมูป่า หมาจิ้งจอก เสือดาว อีเห็น ชะมด พังพอน ชะนี ลิง เม่น แมวป่า หมูหริ่ง กระต่ายป่า ตะกวด กิ้งก่า งู ตุ๊กแก ด้วง บึ้ง ไก่ป่า นกขมิ้น นกกระรางหัวขวาน นกกระขาบทุ่ง นกขุนทอง นกขุนแผน นกบั่งรอก นกกางเขน นกกาเหว่า นกเขียวคราม นกกระติ๊ต นกกระจิบ นกกระจาบ นกปรอด นกระวังไพร นกแซงแซว นกโพระดก นกนางแอ่น นกคุ่ม นกเขาเขียว นกเขาใหญ่ นกเขาขวาน นกเอี้ยง นกกระปูด เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]

ทรัพยากรน้ำ

จังหวัดเชียงใหม่มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำปิง และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง และยังแบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำดังนี้

  • ลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นลุ่มน้ำที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่ 25,355.9 ตร.กม. สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันสูง วางตัวแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เสี่ยงต่อแผ่นดินถล่มและการชะล้างพังทลายของดินสูง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนา คือ มีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน[ต้องการอ้างอิง] และยังมีลุ่มน้ำย่อยอีก 14 ลุ่มน้ำย่อย แม่น้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปิง แม่แตง แม่กวง แม่งัด แม่แจ่ม แม่ขาน และแม่ตื่น
  • ลุ่มน้ำกก มีแม่น้ำกกเป็นแม่น้ำสายหลัก มีต้นกำเนิดจากภูเขาในประเทศพม่า ไหลผ่านเมืองกก เมืองสาด ประเทศพม่า เข้าเขตประเทศไทยที่ช่องน้ำกก อำเภอแม่อาย แล้วไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงราย ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ 2,773 ตร.กม.[ต้องการอ้างอิง]
  • ลุ่มน้ำฝาง มีแม่น้ำฝางเป็นแม่น้ำสายหลัก ซึ่งมีต้นกำเนิดจากดอยขุนห้วยฝางและดอยหัวโท ทางตอนใต้ของอำเภอไชยปราการ ไหลลงสู่แม่น้ำกก มีความยาวลำน้ำประมาณ 70 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,948.5 ตร.กม. ในอำเภอไชยปราการ ฝาง และแม่อาย

ทรัพยากรธรณี

จังหวัดเชียงใหม่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี โดยมีการผลิตแร่ที่สำคัญ 8 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เฟลด์สปาร์ (แร่ฟันม้า) แมงกานีส ชีไลต์ ดีบุก ดินขาว ฟลูออไรด์ และแร่หินอุตสาหกรรม และจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแหล่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญ เช่น แหล่งปิโตรเลียม อำเภอฝาง สภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำพุร้อน อำเภอสันกำแพงและอำเภอฝาง โป่งเดือด อำเภอแม่แตง บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ อำเภอแม่ริม เป็นต้น

แผ่นดินไหว

จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่สำคัญของประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ขนาด 5.1 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางในอำเภอแม่ริม ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยในบริเวณอำเภอแม่ริมและอำเภอข้างเคียง

แผ่นดินไหวในอดีตที่มีศูนย์กลางอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ (ขนาดมากกว่า 4.0 ริกเตอร์)
วัน เดือน ปี เวลา ขนาด ศูนย์กลาง พิกัด
26 พฤษภาคม 2521 06:22:29 น. 4.8 Mw อ.พร้าว 19°27' N 99°06' E
10 กุมภาพันธ์ 2523 09:17:52 น. 4.2 Mw จ.เชียงใหม่ 19°35' N 99°23' E
20 มิถุนายน 2525 20:20:40 น. 4.3 Mw จ.เชียงใหม่ 18°92' N 99°18' E
19 กุมภาพันธ์ 2531 01:38:42 น. 4.2 Mw จ.เชียงใหม่ 18°87' N 99°17' E
8 พฤษภาคม 2537 02:56:00 น. 4.5 Mw จ.เชียงใหม่ 18°30' N 99°20' E
5 พฤศจิกายน 2538 06:57:00 น. 4.0 Mw อ.ฝาง 19°70' N 98°60' E
21 ธันวาคม 2538 23:30:00 น. 5.2 Mw อ.พร้าว 19°70' N 99°00' E
13 กรกฎาคม 2541 09:20:00 น. 4.1 Mw อ.ฝาง 19°70' N 99°10' E
18 ธันวาคม 2545 20:47:00 น. 4.3 Mw อ. เชียงดาว 19°40' N 99°10' E
4 ธันวาคม 2548 16.34 น. 4.1 Mw อ.แม่วาง 18°70' N 98°50' E
13 ธันวาคม 2549 00.02 น. 5.1 Mw อ.แม่ริม 18°93' N 98°97' E
19 มิถุนายน 2550 12.06 น. 4.5 Mw อ.แม่ริม 18°90' N 99°00' E
แหล่งข้อมูล: [6] สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา

การปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 204 ตำบล 2,066 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 25 อำเภอมีดังนี้

อำเภอเมืองเชียงใหม่อำเภอจอมทองอำเภอแม่แจ่มอำเภอเชียงดาวอำเภอดอยสะเก็ดอำเภอแม่แตงอำเภอแม่ริมอำเภอสะเมิงอำเภอฝางอำเภอแม่อายอำเภอพร้าวอำเภอสันป่าตองอำเภอสันกำแพงอำเภอสันทรายอำเภอหางดงอำเภอฮอดอำเภอดอยเต่าอำเภออมก๋อยอำเภอสารภีอำเภอเวียงแหงอำเภอไชยปราการอำเภอแม่วางอำเภอแม่ออนอำเภอดอยหล่ออำเภอกัลยาณิวัฒนาจังหวัดลำพูนจังหวัดตากจังหวัดลำปางจังหวัดแม่ฮ่องสอนจังหวัดเชียงรายจังหวัดสุโขทัยจังหวัดแพร่ประเทศพม่าประเทศพม่า
  1. อำเภอเมืองเชียงใหม่
  2. อำเภอจอมทอง
  3. อำเภอแม่แจ่ม
  4. อำเภอเชียงดาว
  5. อำเภอดอยสะเก็ด
  6. อำเภอแม่แตง
  7. อำเภอแม่ริม
  8. อำเภอสะเมิง
  9. อำเภอฝาง
  1. อำเภอแม่อาย
  2. อำเภอพร้าว
  3. อำเภอสันป่าตอง
  4. อำเภอสันกำแพง
  5. อำเภอสันทราย
  6. อำเภอหางดง
  7. อำเภอฮอด
  8. อำเภอดอยเต่า
  1. อำเภออมก๋อย
  2. อำเภอสารภี
  3. อำเภอเวียงแหง
  4. อำเภอไชยปราการ
  5. อำเภอแม่วาง
  6. อำเภอแม่ออน
  7. อำเภอดอยหล่อ
  8. อำเภอกัลยาณิวัฒนา

การปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีจำนวน 211 แห่ง แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด, 1 เทศบาลนคร, 4 เทศบาลเมือง, 97 เทศบาลตำบล และ 109 องค์การบริหารส่วนตำบล มีรายชื่อดังนี้

อำเภอเมืองเชียงใหม่

อำเภอจอมทอง

อำเภอแม่แจ่ม

อำเภอเชียงดาว

อำเภอดอยสะเก็ด

อำเภอแม่แตง

อำเภอแม่ริม

อำเภอสะเมิง

อำเภอฝาง

อำเภอแม่อาย

อำเภอพร้าว

อำเภอสันป่าตอง

อำเภอสันกำแพง

อำเภอฮอด

อำเภอสันทราย

อำเภอหางดง

อำเภอดอยเต่า

อำเภออมก๋อย

อำเภอสารภี

อำเภอเวียงแหง

อำเภอไชยปราการ

อำเภอแม่วาง

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 พระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ พ.ศ. 2444
2 พระยายอดเมืองขวาง ไม่ทราบข้อมูล
3 พระยามหินทรบดี ไม่ทราบข้อมูล
4 พระยาวรวิไชยวุฒิกร (เลื่อม สนธิรัตน) ไม่ทราบข้อมูล
5 พระยาเพ็ชร์พิสัยศรีสวัสดิ์ (แมน วสันตสิงห์) พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2471
6 พระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2481
7 พระยาอมรฤทธิธำรง (พร้อม ณ ถลาง) พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2484
8 พระชาติตระการ (หม่อมราชวงศ์จิตร์ คะเนจร) พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2485
9 ขุนประสงค์สุขการี (ประสงค์ ลาภเจริญ) พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2488
10 นายทวี แรงขำ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2488 - 30 กันยายน พ.ศ. 2489
11 ขุนไตรกิตยานุกูล (อัมพร ไตรกิตยานุกูล) 22 ตุลาคม พ.ศ. 2489 - 30 มกราคม พ.ศ. 2494
12 นายอุดม บุญยประสพ 30 มกราคม พ.ศ. 2494 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2495
13 นายประเสริฐ กาญจนดุล 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2501
14 พ.ต.อ.เนื่อง รายะนาค 16 มิถุนายน พ.ศ. 2501 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2502
15 นายสุทัศน์ สิริสวย 31 สิงหาคม พ.ศ. 2502 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2503
16 พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 - 30 กันยายน พ.ศ. 2514
17 นายวิสิษฐ์ ไชยพร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
18 นายอาษา เมฆสวรรค์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518
19 นายชลอ ธรรมศิริ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
20 นายประเทือง สินธิพงษ์ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2523
21 นายชัยยา พูนศิริวงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 30 กันยายน พ.ศ. 2530
22 นายไพรัตน์ เดชะรินทร์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534
23 นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2534 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2536
24 นายวีระชัย แนวบุญเนียร 18 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539
25 นายพลากร สุวรรณรัฐ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 11 มกราคม พ.ศ. 2541
26 นายประวิทย์ สีห์โสภณ 12 มกราคม พ.ศ. 2541 - 22 เมษายน พ.ศ. 2544
27 นายโกสินทร์ เกษทอง 23 เมษายน พ.ศ. 2544 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545
28 นายพิสิษฐ เกตุผาสุข 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2546
29 นายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
30 นายวิชัย ศรีขวัญ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550
31 นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
32 ดร.อมรพันธุ์ นิมานันท์ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 -30 กันยายน พ.ศ. 2553
33 หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน

การเลือกตั้ง

จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 10 เขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 10 คน ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภานั้น มีได้ 1 คน คนปัจจุบัน คือ ชูชัย เลิศพงศ์อดิศร

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ดอกทองกวาว ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่
  • สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปช้างเผือกในเรือนแก้ว หมายถึงความสำคัญ 2 ประการของจังหวัด ซึ่งช้างเผือก คือ ช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำมาทูลเกล้าถวายแด่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอกในรัชกาล ส่วนเรือนแก้วคือดินแดนที่พุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทองกวาว (Butea monosperma)
  • อักษรย่อ: ชม.

เศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) พ.ศ. 2552 มีมูลค่า 127,660 ล้านบาท แบ่งเป็นภาคเกษตร 18,539 ล้านบาท (ร้อยละ 14.5) และนอกภาคเกษตร 109,121 ล้านบาท (ร้อยละ 85.5) ซึ่งสาขาการผลิตนอกภาคเกษตรที่สำคัญ มีบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ 20,603 ล้านบาท (ร้อยละ 16.1) ตามมาด้วยสาขาการศึกษา 15,916 ล้านบาท (ร้อยละ 12.5) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 2.3

มีรายได้ประชากรต่อหัวเฉลี่ย 79,971 บาท/คน/ปี อยู่ที่อันดับ 3 ของภาคเหนือรองจากจังหวัดลำพูน และจังหวัดกำแพงเพชร สำหรับรายได้ประชากรในเขตชนบท เฉลี่ยนั้น อยู่ที่ 59,092.45 บาท/คน/ปี อำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำที่สุด คือ อำเภออมก๋อย 29,198.01 บาท/คน/ปี และอำเภอที่มีรายได้สูงสุด คือ อำเภอฝาง 110,592.77 บาท/คน/ปี[5]

การเกษตร

จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่การเกษตร 1,835,425 ไร่ (ร้อยละ 12.82 ของพื้นที่จังหวัด) ส่วนใหญ่ปลูกพืชสวน 515,385 ไร่ ปลูกข้าวรองลงมา 515,385 ไร่ พื้นที่การเกษตรนี้อยู่ในเขตชลประทาน 642,979 ไร่ (ร้อยละ 35 ของพื้นที่การเกษตร) มีครัวเรือนการเกษตร 1,192,446 ครัวเรือน

ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ พ.ศ. 2553-2554 สูงสุด 3 อันดับ คือ 1) ข้าว ผลผลิตเฉลี่ย 387,744 ตัน, 2) ลำไย ผลผลิตเฉลี่ย 195,195 ตัน และ 3) กระเทียม ผลผลิตเฉลี่ย 97,395 ตัน[5]

การอุตสาหกรรม

จังหวัดเชียงใหม่มีโรงงาน 1,395 แห่ง เงินลงทุน 32,180 ล้านบาท แรงงาน 43,306 คน อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร เกษตร ขนส่ง อโลหะ และเครื่องดื่ม ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พ.ศ. 2554 มี 34 โครงการ ประเทศที่มีการลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สิงคโปร์ มาเลเซีย เดนมาร์ก ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[5]

การท่องเที่ยว

ในการสำรวจ World Best Award-Top 10 Cities จากผู้อ่าน Travel and Leisure นิตยสารท่องเที่ยวของสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2553 ผลปรากฏว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 2 ของโลก รองแต่เพียงกรุงเทพมหานครเท่านั้น ซึ่งใน พ.ศ. 2552 จังหวัดเชียงใหม่ถูกจัดเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 5 ของโลก โดยพิจารณาจากสถานที่ ทัศนียภาพ ความสวยงามและร่มรื่น ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อาหารการกิน แหล่งช็อปปิ้ง ความเป็นมิตรของผู้คน ความคุ้มค่า ของเงิน เป็นต้น[7]

ใน พ.ศ. 2553 จังหวัดมีจำนวนนักท่องเที่ยว 5,040,917 คน อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศรองจากจังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดชลบุรี[5] เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 1,695,288 คน (ร้อยละ 33.63) สร้างรายได้รวม 39,507.03 ล้านบาท[5]

แรงงาน

ใน พ.ศ. 2553 จังหวัดเชียงใหม่มีกำลังแรงงาน 985,349 คน (หรือร้อยละ 58.5 ของประชากร) มีอัตราว่างงานเฉลี่ย 1.2% อัตราจ้างแรงงาน 180 บาท/วัน นอกจากนี้ มีแรงงานต่างด้าว 67,663 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าถึง 67,453 คน แรงงานต่างด้าวประกอบอาชีพรับจ้างในกิจการก่อสร้างมากที่สุด 24,625 คน งานเกษตรและปศุสัตว์รองลงมา 22,655 คน[5]

ประชากร

จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรทั้งสิ้น 1,708,564 คน แยกเป็นชาย 838,394 คน หญิง 870,470 คน[8]ความหนาแน่นเฉลี่ย 84 คน/ตร.กม. (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2555) ประชากรชนกลุ่มน้อยในจังหวัดมีจำนวน 64,505 คน กระจายตามอำเภอต่าง ๆ ใน 16 อำเภอ อำเภอที่มีประชากรชนกลุ่มน้อยมากที่สุด ได้แก่ อำเภอฝาง รองลงมา ได้แก่ อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่อาย และอำเภอเวียงแหง[5]

ศาสนา

ประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 91.80 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5.60 ศาสนาอิสลามร้อยละ 1.17 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและสิกข์ร้อยละ 0.02 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.14[5]

การศึกษา

จังหวัดเชียงใหม่รับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา มีจำนวนสถานศึกษาทั้งสิ้น 1,146 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน 893 แห่ง ตามมาด้วยสถาบันการศคกษาเอกชน 140 แห่ง และมีสถาบันอุดมศึกษา 12 แห่ง มีครู/อาจารย์ 21,155 คน และนักเรียน นิสิต นักศึกษา 440,706 คน ซึ่งอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน นิสิต นักศึกษาเป็น 1:21 นักเรียนในสังกัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา 138,288 คน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 75,804 คน[5]

สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ มีสถาบันอุดมศึกษาหลัก ได้แก่

และมีวิทยาเขตของสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัด ได้แก่

สำหรับรายชื่อโรงเรียนดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่

บริการสาธารณสุข

จังหวัดเชียงใหม่มีโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน 48 แห่ง 6,045 เตียง[5] มีบุคลากรแพทย์ 1,065 คน (สัดส่วนต่อประชากรเป็น 1: 1,540) พยาบาล 4,812 คน (1: 341) และทันตแพทย์ 359 คน (1: 13,445)

อัตราการเกิด 10.98 ต่อ 1,000 คน อัตราการตาย 8.16 ต่อ 1,000 คน และอัตราการเพิ่มตามธรรมชาติ 2.52 ต่อ 1,000 คน[5]

ชาวเชียงใหม่ที่มีชื่อเสียง

เจ้านายฝ่ายเหนือ

การเมือง

ข้าราชการ

สื่อมวลชน

ศิลปิน

บันเทิง

กีฬา

ประเพณีและวัฒนธรรม

การปล่อยโคมลอย ในเทศกาลยี่เป็ง

เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่

  • ปีใหม่เมือง (สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เข้าวัดก่อเจดีย์ทราย และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล
  • ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ด้วยโคมชนิดต่างๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ
  • ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวง เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก
  • เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน
  • มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ
  • งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง มีการจำหน่ายและสาธิตการแกะสลักไม้ และหัตถกรรมพื้นบ้าน
  • ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ จัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่างๆ กว่า 40 ขบวน แห่ไปตามเมืองจอมทอง อำเภอจอมทอง จนถึง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ตามตำนานเกิดขึ้นที่อำเภอเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของชาวล้านนา จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความนิยมอย่างมาก

การคมนาคม

รถสองแถวที่รู้จักกันในชื่อ รถแดง

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก

ทางรถยนต์

การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดเชียงใหม่ใช้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) ผ่านจังหวัดลำปาง แยกซ้าย ผ่านจังหวัดลำพูน จนถึงจังหวัดเชียงใหม่

การเดินทางในตัวจังหวัด

การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ของจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ อำเภออมก๋อย ระยะทาง 179 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 4 ชั่วโมง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอสันทราย 11 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 23 นาที โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองเชียงใหม่) ไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เรียงจากใกล้ไปไกล[9] ดังนี้

สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ และประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วนสีแดง-เหลืองเป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่าง ๆ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 (สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัดคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 และ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 3 (สถานีขนส่งอาเขต)

สถานีรถไฟเชียงใหม่

ทางรถไฟ

การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง และลำพูน เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมวันละ 14 ขบวน (ไป 7 กลับ 7) และนครสวรรค์-เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวน (ไป-กลับ) มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในจังหวัดเชียงใหม่ คือสถานีรถไฟเชียงใหม่ ขบวนรถที่เข้า-ออกเชียงใหม่ มีดังนี้

  • รถด่วนพิเศษ
    • ข.1/2 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
    • ข.9/10 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
    • ข.11/12 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
    • ข.13/14 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
  • รถด่วน
    • ข.51/52 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
  • รถเร็ว
    • ข.109/102 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
  • รถท้องถิ่น
    • ข.407/408 นครสวรรค์-เชียงใหม่-นครสวรรค์

ทางอากาศ

ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่

การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดเชียงใหม่มีท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น รองจากสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ มีเส้นทางบินไป - กลับวันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศ โดยสายการบินระหว่างประเทศ มีสายการบินจากเชียงใหม่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียมีเที่ยวบินโดยตรงจากเชียงใหม่ไปยังหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน เกาหลี ลาว พม่า ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เป็นต้น

ทางรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ

สำหรับระบบรถเมล์ด่วนพิเศษนครเชียงใหม่ (Chiangmai Transit System หรือ CTS) จะเปิดให้บริการในอนาคต แต่ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานขนส่งจังหวัด (สนข.)

การสาธารณูปโภค

  • ไฟฟ้า การไฟฟ้าของจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตเหนือ รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ แหล่งผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีสถานีควบคุมการจ่ายไฟฟ้า 5 สถานี จำนวนการไฟฟ้า 32 แห่ง ในปี 2553 จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 567,201 ราย ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในจังหวัด 2,264.45 ล้านหน่วย สามารถให้บริการไฟฟ้าได้ครอบคลุม 25 อำเภอ สำหรับหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถขยายเขตระบบจำหน่ายได้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ เป็นหมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แหล่งต้นน้ำลำธาร ลุ่มน้ำ เขตป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งมีการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
  • ประปา การประปาในจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ การประปาเชียงใหม่ การประปาฮอด การประปาสันกำแพง การประปาฝาง การประปาแม่ริม การประปาแม่แตง มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 54.83 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณการใช้น้ำ 25.33 ล้านลูกบาศก์เมตร มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 112,685 ราย โดยในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีผู้ใช้น้ำประปามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.04 ของจำนวนผู้ใช้ประปาทั้งหมดของจังหวัด
  • โทรศัพท์ จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ 305,434 เลขหมาย เป็นเลขหมายที่มีผู้เช่า 186,294 เลขหมาย มีชุมสายโทรศัพท์ 247 แห่ง
  • ไปรษณีย์ มีสำนักงานไปรษณีย์ จำนวน 37 แห่ง มีจำนวนผู้ใช้บริการ 2,467,286 ราย[10]

กีฬา

จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้ง ได้แก่ เอเชียนเกมส์ 1998 และซีเกมส์ 1995 ฟุตบอลเอเชียเยาวชน 1998 และกีฬาในประเทศ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 3 ครั้ง การแข่งขันยกน้ำหนักยุวชนชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดในปี พ.ศ. 2552[11] และล่าสุดคือ กีฬายุวชนอาเซียน

เชียงใหม่มีสโมสรฟุตบอลอาชีพ คือ สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ในเดือนตุลาคม 2549 ได้มีแถลงการเปิดบริษัทที่จะสนับสนุนฟุตบอลอาชีพ ในชื่อ "บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่" [12]

สถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

หมีแพนด้า ในสวนสัตว์เชียงใหม่

สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป

ศาสนสถาน

วัดพระธาตุดอยสุเทพ

เมืองพี่น้อง

ดูเพิ่ม

ดูสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ เชียงใหม่, 8 ก.พ. 2555
  4. http://portal.unesco.org/culture/en/ev.php-URL_ID=35257&URL_DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่. ข้อมูลจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้น 24 มกราคม 2555.
  6. [2] สถิติแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย, สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา, สืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2553
  7. เชียงใหม่คว้าอันดับ2World Best Award-Top10Cities คมชัดลึก. สืบค้น 24 มกราคม 2555
  8. สำนักงานสถิติแห่งชาติ เชียงใหม่, 8 ก.พ. 2555
  9. การเดินทางภายในเชียงใหม่ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สืบค้นวันที่ 7 ตุลาคม 2554
  10. สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้น 24 มกราคม 2555. เข้าถึงได้จาก : [3]. , [4] สืบค้น 24 มกราคม 2555.
  11. ยกน้ำหนักยุวชนชิงแชมป์โลก เว็บไซด์สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, 8 พ.ค. 2552
  12. การแถลงข่าว เปิด บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่ จาก หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์
  13. เชียงใหม่ ทำ MOU Sister City กับ ย็อกยาการ์ตา อินโดนีเซีย, สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่, (4 ก.ย. 2550), สืบค้นวันที่ 10 ต.ค. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 18°48′N 98°59′E / 18.8°N 98.98°E / 18.8; 98.98