ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิศวกรรมชีวเวช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 141: บรรทัด 141:


== มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในการสอนหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา ==
== มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในการสอนหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา ==
จัดอันดับโดยยูเอสนิวส์แอนเวิร์ลรีพอด ปี 2012 (US News and World Report) ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในสหรัฐอเมริกา
จัดอันดับโดยยูเอสนิวส์แอนเวิร์ลรีพอด ปี 2012 (US News and World Report) <ref>http://grad-schools.usnews.rankingsandreviews.com/best-graduate-schools/top-engineering-schools/biomedical-rankings</ref>ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในสหรัฐอเมริกา
* 1. [[มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์]]
* 1. [[มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์]]
* 2. [[สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย]]
* 2. [[สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:32, 30 สิงหาคม 2555

วิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือ วิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering) หรือ วิศวกรรมการแพทย์ (Medical Engineering) เป็นสาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน และต้องการขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพสูง เช่น เทคโนโลยีในเครื่องมือผ่าตัด เครื่องส่องดูอวัยวะในร่างกาย อุปกรณ์จ่ายยาอัตโนมัติ ข้อต่อหรืออวัยวะเทียม เครื่องวิเคราะห์สัญญาณหัวใจหรือสมอง อุปกรณ์ตรวจสอบระบบน้ำตาลในเลือด และระบบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เป็นต้น

สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ต่อไปนี้ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นาโนเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ แพทยศาสตร์ ชีววิทยา เคมี และ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการนำความรู้เฉพาะทางมาใช้พัฒนาหรือสร้างเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์

ประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ริเริ่มจัดให้มีการประชุมประจำปีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งชาติ (National Meeting on Biomedical Engineering) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แบบบูรณาการ โดยการสนับสนุนของ NECTEC ต่อมาได้มีการเพิ่มการประชุมนานาชาติ International Symposium in Biomedical Engineering (ISBME) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิศวกรรมชีวเวชหรือวิศวกรรมชีวการแพทย์ในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยที่สามารถเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์อยู่ทั้งสิ้น 8 สถาบันดังตารางข้างล่าง ทั้งนี้ มี 5 สถาบันที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต) โดยเน้นการพัฒนากำลังคนเข้าสู่วงการอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี เมื่อ พ.ศ. 2550

นอกจากนี้ มี 5 สถาบันที่เน้นการพัฒนากำลังคนเพื่อการพัฒนางานวิจัยโดยการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและปริญญาเอก) ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ส่วนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดสอนถึงระดับปริญญาโท

แต่ทั้งนี้มีมหาวิทยาลัยมหิดลเพียงมหาวิทยาลัยเดียวที่มีศักยภาพเพียงพอจะเปิดหลักสูตรการสอนในทุกระดับ และแนวโน้มสำหรับหลักสูตรนี้ในประเทศไทยคือการเปิดทำการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น เปิดทำการสอนทั้งภาษาไทยและนานาชาติ โดยมีมหาวิทยาลัยเหล่านี้เป็นต้นแบบและกำลังหลักต่อไป

มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

-

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต/วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์
-
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (เดิมชื่อสาขาอิเล็กทรอนิกส์ชีวการแพทย์)
-
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

-

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

-
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

-

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในการสอนหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา

จัดอันดับโดยยูเอสนิวส์แอนเวิร์ลรีพอด ปี 2012 (US News and World Report) [1]ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในสหรัฐอเมริกา

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. http://grad-schools.usnews.rankingsandreviews.com/best-graduate-schools/top-engineering-schools/biomedical-rankings