ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทระ โนะ คิโยโมริ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
เมื่อสิ้นสุดสงครามเฮย์จิแล้วทำให้คิโยะโมะริมีความดีความชอบมากขึ้นมากลายเป็นผู้มีอำนาจในราชสำนักเมืองเฮอัง ในค.ศ. 1161 น้องสะใภ้ของคิโยะโมะริคือ ไทระ โนะ ชิเงะโกะ ({{nihongo2|平滋子|Taira no Shigeko}}) ซึ่งเป็นน้องสาวของนางโทะกิโกะภรรยาเอกของคิโยะโมะริ ได้อภิเษกเป็นพระสนมพระองค์ใหม่ในอดีตพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ และประสูติพระโอรสให้แก่อดีตพระจักรพรรดิในปีเดียวกัน ทำให้พระจักรพรรดินิโจซึ่งยังไม่มีพระโอรสทรงเกรงว่าพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะจะทรงยกราชบัลลังก์ให้พระโอรสองค์ใหม่ ในปีเดียวกันนั้นคิโยะโมะริได้รับการแต่งตั้งเป็น''ชูนะงอง'' ({{nihongo2|中納言|Chūnagon}}) นับว่าเป็นขุนนางระดับสูงหรือ''คุเกียว'' ({{nihongo2|公卿|Kugyō}}) คนแรกในประวัติศาสตร์ที่มาจากชนชั้นซะมุไร
เมื่อสิ้นสุดสงครามเฮย์จิแล้วทำให้คิโยะโมะริมีความดีความชอบมากขึ้นมากลายเป็นผู้มีอำนาจในราชสำนักเมืองเฮอัง ในค.ศ. 1161 น้องสะใภ้ของคิโยะโมะริคือ ไทระ โนะ ชิเงะโกะ ({{nihongo2|平滋子|Taira no Shigeko}}) ซึ่งเป็นน้องสาวของนางโทะกิโกะภรรยาเอกของคิโยะโมะริ ได้อภิเษกเป็นพระสนมพระองค์ใหม่ในอดีตพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ และประสูติพระโอรสให้แก่อดีตพระจักรพรรดิในปีเดียวกัน ทำให้พระจักรพรรดินิโจซึ่งยังไม่มีพระโอรสทรงเกรงว่าพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะจะทรงยกราชบัลลังก์ให้พระโอรสองค์ใหม่ ในปีเดียวกันนั้นคิโยะโมะริได้รับการแต่งตั้งเป็น''ชูนะงอง'' ({{nihongo2|中納言|Chūnagon}}) นับว่าเป็นขุนนางระดับสูงหรือ''คุเกียว'' ({{nihongo2|公卿|Kugyō}}) คนแรกในประวัติศาสตร์ที่มาจากชนชั้นซะมุไร


พระจักรพรรดินิโจมีพระโอรสในที่สุดเมื่อค.ศ. 1164 จึงทรงรีบชิงสละราชสมบัติให้แก่พระโอรสของพระองค์เอง ขึ้นครองราชย์เป็นพระ[[จักรพรรดิโระกุโจ]]ในค.ศ. 1165 แล้วพระจักรพรรดินิโจก็สวรรคตในปีเดียวกัน คิโยะโมะริได้รับการเลื่อนขั้นเป็น''ไดนะงอง'' ({{nihongo2|大納言|Dainagon}}) และในปีต่อมาค.ศ. 1166 เป็น''ไนไดจิน'' ({{nihongo2|内大臣|Naidaijin}}) จนกระทั่งค.ศ. 1167 คิโยะโมะริขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในราชสำนักรองจากผู้สำเร็จราชการคือ ''ไดโจไดจิน'' ({{nihongo2|太政大臣|Daijō daijin}}) แต่ทว่าคิโยะโมะริอยู่ในตำแหน่ง''ไดโจไดจิน''ได้เพียงสามเดือนก็ล้มป่วยลงจนต้องลาออกจากตำแหน่งและบรรพชาเป็นพระภิกษุ พระจักรพรรดิโระกุโจอยู่ในราชสมบัติได้เพียงสองปี จึงถูกไทระ โนะ คิโยะโมะริ บังคับให้สละราชสมบัติให้แก่พระโอรสของอดีตพระจักรพรรดิที่ประสูติแต่พระสนมชิเงะโกะ ขึ้นครองราชย์เป็น พระ[[จักรพรรดิทะกะกุระ]]ในค.ศ. 1168
พระจักรพรรดินิโจมีพระโอรสในที่สุดเมื่อค.ศ. 1164 จึงทรงรีบชิงสละราชสมบัติให้แก่พระโอรสของพระองค์เอง ขึ้นครองราชย์เป็นพระ[[จักรพรรดิโระกุโจ]]ในค.ศ. 1165 แล้วพระจักรพรรดินิโจก็สวรรคตในปีเดียวกัน คิโยะโมะริได้รับการเลื่อนขั้นเป็น''ไดนะงอง'' ({{nihongo2|大納言|Dainagon}}) และในปีต่อมาค.ศ. 1166 เป็น''ไนไดจิน'' ({{nihongo2|内大臣|Naidaijin}}) จนกระทั่งค.ศ. 1167 คิโยะโมะริขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในราชสำนักรองจากผู้สำเร็จราชการคือ ''ไดโจไดจิน'' ({{nihongo2|太政大臣|Daijō daijin}}) แต่ทว่าคิโยะโมะริอยู่ในตำแหน่ง''ไดโจไดจิน''ได้เพียงสามเดือนก็ล้มป่วยลงจนต้องลาออกจากตำแหน่งและบรรพชาเป็นพระภิกษุ (ชาวญี่ปุ่นสมัยเฮอังเชื่อว่าหากบวชเป็นพระแล้วจะหายจากความเจ็บป่วย) พระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะทรงเกรงว่าคิโยะโมะริจะถึงแก่อสัญกรรมและพระองค์จะสูญเสียอำนาจ จึงทรงคับให้พระจักรพรรดิโระกุโจสละราชสมบัติให้แก่พระโอรสของพระองค์ที่ประสูติแต่พระสนมชิเงะโกะ ขึ้นครองราชย์เป็น พระ[[จักรพรรดิทะกะกุระ]]ในค.ศ. 1168


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:33, 5 สิงหาคม 2555

ไทระ คิโยะโมะริ
平清盛
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 1118
เสียชีวิตค.ศ. 1181 (63 ปี)
คู่สมรสภรรยาเอก: บุตรสาวของ ทะกะชิโนะ โมะโตะอะกิ
ไทระ โทะกิโกะ
ภรรยาน้อย: นางโทะกิวะ
ญาติบิดา: ไทระ ทะดะโมะริ

ไทระ โนะ คิโยะโมะริ (ญี่ปุ่น: たいら の きよもり Taira no Kiyomori หรือ 平清盛 Taira Kiyomori ค.ศ. 1118 - ค.ศ. 1181) หรือ คิโยะโมะริแห่งไทระ ซะมุไรซึ่งเรืองอำนาจขึ้นปกครองญี่ปุ่นในช่วงปลายยุคเฮอังในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถือเป็นชนชั้นซะมุไรคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ขึ้นปกครองประเทศ

ประวัติ

ชีวประวัติของคิโยะโมะริมีการกล่าวถึงโดยละเอียดในวรรณกรรมยุคคะมะกุระเรื่อง "เฮเกะ โมะโนะงะตะริ" (平家物語) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตระกูลไทระและตัวคิโยะโมะริเป็นหลัก กล่าวถึงจักรพรรดิชิระกะวะ (白河院) ได้ทรงมีพระสนมองค์โปรดเป็นนางรำประจำศาลเจ้ากิอง เรียกว่า กิองเนียวโง (祇園女御) และยังทรงรับเอาน้องสาวของนางกิองมาเป็นพระสนมด้วย ต่อมาได้ประทานน้องสาวของนางกิองให้ไปเป็นภรรยาของไทระ โนะ ทะดะโมะริ (平忠盛) ซะมุไรองค์รักษ์ที่ทรงไว้วางพระทัย ปรากฎว่าน้องสาวของนางกิองได้ตั้งครรภ์อยู่ก่อนแล้ว ทำให้เป็นไปได้ทั้งสองกรณีว่า บุตรที่น้องสาวของนางกิองตั้งครรภ์อยู่นั้น เป็นบุตรของทะดะโมะริ หรือเป็นพระโอรสของจักรพรรดิชิระกะวะ

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม บุตรที่เกิดจากน้องสาวของนางกิองนั้นถือเป็นบุตรชายของทะดะโมะริ เกิดที่นครเฮอังเกียว หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน โดยมีภรรยาเอกของทะดะโมะริคือ ฟุจิวะระ มุเนะโกะ (藤原宗子) หรือที่ต่อมาบวชเป็นชีแล้วมีนามว่า "อิเกะโนะเซ็นนิ" (池禅尼) เป็นแม่เลี้ยง เมื่ออายุครบกำหนดจึงประกอบพิธี เง็มปุกุ ได้รับชื่อว่า "ไทระ โนะ คิโยะโมะริ" รับราชการเป็นทหารองค์รักษ์อยู่ในพระราชวัง ใน ค.ศ. 1146 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองแคว้นอะกิ (安芸守) ทางตะวันตก จนกระทั่งในค.ศ. 1153 ทะดะโมะริผู้เป็นบิดาได้เสียชีวิตลง คิโยะโมะริจึงขึ้นเป็นโทเรียว (棟梁) หรือประมุขตระกูลไทระต่อมา

ไทระ คิโยะโมะริ สมรสกับบุตรสาวที่ไม่ทราบชื่อของทะกะชิโนะ โมะโตะอะกิ (高階基章) ซึ่งภรรยาเอกคนแรกนี้ได้เสียชีวิตไปก่อน มีบุตรชายสองคนคือ ไทระ โนะ ชิเงะโมะริ (平重盛) และ ไทระ โนะ โมะโตะโมะริ ต่อมาคิโยะโมะริได้สมรสใหม่กับ ไทระ โนะ โทะกิโกะ (平時子) บุตรสาวของไทระ โนะ โทะกิโนะบุ (平時信)

กบฎโฮเง็ง

การเผาตำหนักชิระกะวะ ช่วงกบฎโฮเง็ง

แม้ว่า จักรพรรดิโทะบะ (鳥羽法皇) จะทรงสละราชสมบัติไปแล้วแต่ยังทรงอำนาจการปกครองอยู่ตามระบอบการปกครองแบบ อินเซย์ (院政) ของช่วงปลายสมัยเฮย์อังซึ่งจักรพรรดิสละราชย์ทรงอำนาจสูงสุด จักรพรรดิโทะบะ-อิงทรงมีพระสนมองค์โปรดคือ ฟุจิวะระ โนะ นะริโกะ (藤原得子) หรือพระนางบิฟุกุมง (美福門院) และมีพระโอรสด้วยกัน อดีตจักรพรรดิโทะบะจึงทรงบังคับให้องค์จักรพรรดิซึ่งในขณะนั้นคือ จักรพรรดิซุโตะกุ (崇徳上皇) ให้สละราชสมบัติลงมากลายเป็น โจโก หรือ จักรพรรดิสละราชย์ แล้วให้พระโอรสที่เกิดแต่พระนางนะริโกะขึ้นเป็น จักรพรรดิโคะโนะเอะ ใน ค.ศ. 1142 แต่ทว่าจักรพรรดิโคะโนะเอะอยู่ในราชสมบัติได้สิบสามปีก็สวรรคตใน ค.ศ. 1155 ทำให้อดีตจักรพรรดิซุโตะกุ ทรงคาดหวังว่าราชบัลลังก์จะตกเป็นของพระโอรสคือเจ้าชายชิเงะฮิโตะ (重仁親王) แต่อดีตจักรพรรดิโทะบะ กลับทรงมอบราชสมบัติให้แก่พระโอรสอีกองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ สร้างความคับแค้นใจอย่างมากแก่อดีตจักรพรรดิซุโตะกุ

ในขณะเดียวกันนั้นเอง ในราชสำนักมีการแย่งชิงอำนาจระหว่าง ฟุจิวะระ โนะ ทะดะมิจิ (藤原忠通) ผู้สำเร็จราชการ กับน้องชายของตนคือ ฟุจิวะระ โนะ โยะรินะงะ (藤原頼長) ทะดะมิจิเข้าสนับสนุนจักรพรรดิโกะ-ชิระงะวะ ในขณะที่โยะรินะงะสนับสนุนอดีตจักรพรรดิซุโตะกุ ในค.ศ. 1156 อดีตจักรพรรดิโทะบะสวรรคต เปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายเตรียมแผนการยึดอำนาจโดยการเกณฑ์กองกำลังทหารจากขุนนางซามุไรในราชสำนักที่มีอยู่ ขุนพลของฝ่ายจักรพรรดิโกะ-ชิระงะวะประกอบด้วย ไทระ โนะ คิโยะโมะริ และโทเรียวหรือประมุขตระกูลเซวะเง็นจิ (清和源氏) คือ มินะโมะโตะ โนะ โยะชิโตะโมะ (源義朝) แต่ทว่าไทระ โนะ ทะดะมะสะ (平忠正) ผู้เป็นอาของคิโยะโมะริกลับไปเข้าพวกกับฝ่ายของอดีตจักรพรรดิซุโตะกุ เกิดเป็นการปะทะกันเรียกว่า "กบฎโฮเง็ง" (保元の乱) ซึ่งเกิดขึ้นในปีโฮเง็งที่ 1 หรือ ค.ศ. 1156

ทัพของฝ่ายจักรพรรดิโกะ-ชิระงะวะตั้งอยู่ที่ตำหนักทะกะมะสึ (高松殿) โยะชิโตะโมะได้เสนอแผนการยกทัพโจมตีฝ่ายอดีตจักรพรรดิซุโตะกุที่ตำหนักชิระกะวะ (白河殿) ในเวลากลางคืนเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามไม่ทันตั้งตัว ทัพของคิโยะโมะริจึงยกไปในตอนกลางคืนเพื่อต่อสู้กับทะดะมะสะผู้เป็นอาของตนเอง จนได้รับชัยชนะสามารถเข้ายึดและเผาตำหนักชิระกะวะได้ อดีตจักรพรรดิซุโตะกุทรงถูกเนรเทศ โยะรินะงะเสียชีวิตในที่รบ และทะดะมะสะผู้เป็นอาถูกลงโทษประหารชีวิต โดยให้คิโยะโมะริเป็นผู้ลงมือตัดศีรษะด้วยตนเอง

สงครามปีเฮย์จิ

การขึ้นครองราชย์ของพระจักรพรรดิโงะ-ชิระงะวะทำให้ขุนนางข้ารับใช้คนสนิทของพระจักรพรรดิคือ พระภิกษุชินเซย์ (信西) ชื่อเดิมว่า ฟุจิวาระ โนะ มิจิโนะริ (藤原通憲) ขึ้นมามีอำนาจในราชสำนัก พระภิกษุชินเซย์ให้การสนับสนุนไทระ โนะ คิโยะโมะริ อย่างมาก โดยผลักดันให้คิโยะโมะริได้รับการแต่งตั้งเป็นทะไซ โนะ ไดนิ (大宰大弐) หรือผู้ปกครองเกาะคิวชู ในค.ศ. 1158 แต่การขึ้นสู่อำนาจของพระภิกษุชินเซย์สร้างความไม่พอใจแก่ขุนนางคนอื่นๆ โดยเฉพาะฟุจิวาระ โนะ โนะบุโยะริ (藤原信頼) อีกทั้งความก้าวหน้าในอาชีพของคิโยะโมะริยังสร้างความอิจฉาให้แก่มินะโมะโตะ โนะ โยะชิโตะโมะ ซึ่งไม่ได้รับการปูนบำเหน็จเท่าที่ควรและดำรงตำแหน่งเป็นเพียงแค่คนเลี้ยงม้าในพระราชวัง

การเผาตำหนักซังโจ

ค.ศ. 1158 พระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะทรงสละราชสมบัติให้พระโอรสขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระจักรพรรดินิโจ ค.ศ. 1160 ในขณะที่คิโยะโมะริได้เดินทางออกจากเมืองเฮอังเพื่อทำการคารวะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นอกเมือง ฟุจิวาระ โนะ โนะบุโยะริ จึงวางแผนร่วมกับ มินะโมะโตะ โนะ โยะชิโตะโมะ ในการก่อการยึดอำนาจ โยะชิโตะโมะยกทัพเข้ายึดพระราชวังกุมองค์พระจักรพรรดินิโจไว้ และยกทัพเข้าโจมตีตำหนักซังโจ (三条殿) อันเป็นที่ประทับของอดีตพระจักรพรรดิโงะ-ชิระงะวะ เข้าสังหารข้าราชบริพารของอดีตพระจักรพรรดิไปมากรวมถึงพระภิกษุชินเซย์ด้วย แล้วจึงกุมองค์อดีตพระจักรพรรดิไว้

ฝ่ายคิโยะโมะริทราบข่าวเหตุการณ์ในเมืองเฮอังจึงรีบเดินทางกลับมา โดยแสร้งทำเป็นยอมจำนนต่อการยึดอำนาจของโนะบุโยะริและโยะชิโตะโมะ ในขณะเดียวกันได้จัดการให้พระจักรพรรดิทั้งสองพระองค์หลบหนีออกจากที่กุมขังออกมาได้สำเร็จ แล้วจึงส่งบุตรชายคนโตคือ ไทระ โนะ ชิเงะโมะริ ยกทัพเข้าโจมตีฝ่ายตระกูลมินะโมะโตะที่พระราชวัง จากนั้นจึงล่าถอยออกมาหลอกให้ทัพมินะโมะโตะติดตามมาจนถึงโระกุฮะระ (六波羅) อันเป็นที่อยู่ของตระกูลไทระ แล้วคิโยะโมะริจึงนำทัพเข้าโจมตีจนทัพฝ่ายมินะโมะโตะพ่ายแพ้ไป

โนะบุโยะริถูกสังหารที่รบ ส่วนโยะชิโตะโมะหลบหนีเข้าป่าไปถูกข้ารับใช้ของตนเองสังหาร คิโยะโมะริจึงทำการกวาดล้างตระกูลเซวะเง็นจิโดยการตัดสินประหารชีวิตเซวะเง็นจิทุกคนที่จับตัวได้ แต่ด้วยคำขอของนางอิเกะผู้เป็นมารดาเลี้ยง คิโยะโมะริได้ไว้ชีวิตบุตรชายของโยะชิโตะโมะคือ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ (源頼朝) ซึ่งถูกเนรเทศไปยังแคว้นอิซุทางตะวันออก รวมทั้งได้ไว้ชีวิตบุตรชายทั้งสามคนของโยะชิโตะโมะที่เกิดกับนางโทะกิวะ-โงเซ็ง (常盤御前) โดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่านางโทะกิวะจะต้องมาเป็นภรรยาน้อยของคิโยะโมะริ

เรืองอำนาจในราชสำนัก

เมื่อสิ้นสุดสงครามเฮย์จิแล้วทำให้คิโยะโมะริมีความดีความชอบมากขึ้นมากลายเป็นผู้มีอำนาจในราชสำนักเมืองเฮอัง ในค.ศ. 1161 น้องสะใภ้ของคิโยะโมะริคือ ไทระ โนะ ชิเงะโกะ (平滋子) ซึ่งเป็นน้องสาวของนางโทะกิโกะภรรยาเอกของคิโยะโมะริ ได้อภิเษกเป็นพระสนมพระองค์ใหม่ในอดีตพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ และประสูติพระโอรสให้แก่อดีตพระจักรพรรดิในปีเดียวกัน ทำให้พระจักรพรรดินิโจซึ่งยังไม่มีพระโอรสทรงเกรงว่าพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะจะทรงยกราชบัลลังก์ให้พระโอรสองค์ใหม่ ในปีเดียวกันนั้นคิโยะโมะริได้รับการแต่งตั้งเป็นชูนะงอง (中納言) นับว่าเป็นขุนนางระดับสูงหรือคุเกียว (公卿) คนแรกในประวัติศาสตร์ที่มาจากชนชั้นซะมุไร

พระจักรพรรดินิโจมีพระโอรสในที่สุดเมื่อค.ศ. 1164 จึงทรงรีบชิงสละราชสมบัติให้แก่พระโอรสของพระองค์เอง ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิโระกุโจในค.ศ. 1165 แล้วพระจักรพรรดินิโจก็สวรรคตในปีเดียวกัน คิโยะโมะริได้รับการเลื่อนขั้นเป็นไดนะงอง (大納言) และในปีต่อมาค.ศ. 1166 เป็นไนไดจิน (内大臣) จนกระทั่งค.ศ. 1167 คิโยะโมะริขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในราชสำนักรองจากผู้สำเร็จราชการคือ ไดโจไดจิน (太政大臣) แต่ทว่าคิโยะโมะริอยู่ในตำแหน่งไดโจไดจินได้เพียงสามเดือนก็ล้มป่วยลงจนต้องลาออกจากตำแหน่งและบรรพชาเป็นพระภิกษุ (ชาวญี่ปุ่นสมัยเฮอังเชื่อว่าหากบวชเป็นพระแล้วจะหายจากความเจ็บป่วย) พระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะทรงเกรงว่าคิโยะโมะริจะถึงแก่อสัญกรรมและพระองค์จะสูญเสียอำนาจ จึงทรงคับให้พระจักรพรรดิโระกุโจสละราชสมบัติให้แก่พระโอรสของพระองค์ที่ประสูติแต่พระสนมชิเงะโกะ ขึ้นครองราชย์เป็น พระจักรพรรดิทะกะกุระในค.ศ. 1168

อ้างอิง

  • John Whitney Hall, Donald H. Shively, William H. McCullough. The Cambridge History of Japan Volume 2 Heian Japan. Cambridge University Press, 1999.

ข้อมูลเพิ่มเติม