ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครนครศรีธรรมราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ripchip Bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: kk:Накхонситхаммарат
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: pt:Nakhon Si Thammarat
บรรทัด 366: บรรทัด 366:
[[pl:Nakhon Si Thammarat (miasto)]]
[[pl:Nakhon Si Thammarat (miasto)]]
[[pnb:نکھون سی تھاماراٹ]]
[[pnb:نکھون سی تھاماراٹ]]
[[pt:Nakhon Si Thammarat]]
[[ru:Накхонситхаммарат]]
[[ru:Накхонситхаммарат]]
[[vi:Nakhon Si Thammarat]]
[[vi:Nakhon Si Thammarat]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:37, 4 สิงหาคม 2555

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Nakhon Si Thammarat City
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด22.56 ตร.กม. (8.71 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด109,353[1] คน
 • ความหนาแน่น4,647.21 คน/ตร.กม. (12,036.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ถนนราชดำเนิน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์075-34-2880
โทรสาร075-34-7405
เว็บไซต์http://www.nakhoncity.org/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเมืองที่เจริญเติบโตมาช้านาน และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของภาคใต้ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ยกฐานะเมื่อปี พ.ศ. 2538 มีประชากรประมาณ 109,353 คน บนเนื้อที่ 22.56 ตร.กม.

ประวัติ

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีการจัดตั้งเทศบาล โดยใช้สถานที่บริเวณห้องแถว หน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสถานที่ทำการ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคารเรือนไม้ทรงมานิลาชั้นเดียว (สถานที่ทำงานปัจจุบัน) ซึ่งทางจังหวัดได้ยกให้ มีลักษณะอาคารเก่า มีสภาพทรุดโทรม และหลังคามุงจาก จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2505 ได้เกิดวาตภัยขึ้นอย่างร้ายแรง อาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย สำนักงานเทศบาลซึ่งมีสภาพเก่าชำรุดอยู่แล้วก็ได้รับความเสียหายมาก คณะเทศมนตรีจึงดำเนินการขออนุมัติกู้เงิน กสท. มาดำเนินการสร้างใหม่ เป็นอาคารตึกสอง ชั้นทรงไทยตามแบบเทศบาลขนาดใหญ่ ของกรมโยธาธิการ ซึ่งเป็นแบบมาตรฐานของเทศบาลทั่วไปและได้ทำพิธี ีเปิดใช้สำนักงานนี้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2507 รวมค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,725,000 บาท ทำการก่อสร้างโดย บริษัท กรุงเทพฯ วิวัตน์ จำกัดในสมัย ของนายเหรียญ สร้อยสนธิ์ เป็นนายกเทศมนตรี

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลนครศรีธรรมราช โดยมีพื้นที่ 3 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองนครนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2478 [2] มีพื้นที่ 3.2 ตารางกิโลเมตร และได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2508 [3] และครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2536 [4]

ต่อมาได้มีการยกฐานะเป็นเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2537 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2537 [5]

ปัจจุบันเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ 22.56 ตารางกิโลเมตร มีความหนาแน่น 4,647.21 คนต่อตารางกิโลเมตร

โครงสร้างการบริหารเทศบาลนครนครศรีธรรมราช

  • สำนักปลัดเทศบาล
  • สำนักการศึกษา
  • สำนักการคลัง
  • สำนักการช่าง
  • สำนักการประปา
  • กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  • กองการแพทย์
  • กองกิจการเยาวชน
  • กองวิชาการและแผนงาน
  • กองสวัสดิการสังคม
  • กองกิจการกีฬา
  • สถานธนานุบาล

ผลงานของเทศบาล

เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่กว่าพันไร่ เดิมทีพื้นที่ส่วนนี้เคยเป็น "สวนราชฤดี" มาก่อน บริเวณโดยรอบสวนสาธารณะร่มรื่นไปด้วยดอกไม้และพันธุ์ไม้หลายชนิด ภายในสวนฯยังประกอบไปด้วย สวนสัตว์เปิด สวนนก พันธุ์สัตว์หายากนานาชนิด สระน้ำขนาดใหญ่ ต้นไม้ที่ร่มรื่นอันเป็นที่พักอาศัยของนกที่อพยพเข้ามา นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ซึ่งช่วยสืบสานประเพณีอันดี นั่นคือ จะถูกใช้เป็นที่จัดงานประเพณีวันสารทเดือนสิบอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา 10 วัน 10 คืน ในเดือนกันยายนของทุกปี และมีการแสดงคอนเสิร์ตภายในอาคาร "พิพิธภัณฑ์เมืองนครฯ" ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนทั้งภายในจังหวัดตลอดจนในประเทศ [6]

ในปี 2546 เทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ได้ปรับปรุงอาคารวีรไทย ซึ่งตั้งอยู่ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 ทุ่งท่าลาด และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เมือง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของเมือง โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยราชการและเอกชน ตลอดจนประชาชนในท้องถิ่น และเมื่อเปิดทำการก็ได้กระแสตอบรัรบเป็นอย่างดียิ่ง ดังนั้น เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราชมีความสมบูรณ์ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ประวัติเมืองและวิถีชีวิตครบถ้วน จึงได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เพิ่มเติม โดยใช้วิธีจัดแสดงด้วยสื่อทันสมัย เพื่อสร้างความน่าสนใจ ให้ผู้ชมเรียนรู้จดจำได้ง่าย อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ชมและบรรลุวัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์เมือง [7]

โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2547 ณ อาคารของศูนย์บริการสาธารณสุข หอนาฬิกา เลขที่ 479 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยปรับปรุงอาคารซึ่งมีอยู่เดิมให้เป็นสัดส่วนสำหรับการบริการประชาชน ตามแนวคิดและนโยบายการบริหารงานด้านการสาธารณสุข โดยเฉพาะด้านการรักษาพยาบาล ของนายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรี โดยปรับเปลี่ยนและขยายการบริการด้านการรักษาพยาบาล จากรูปแบบเดิมที่ดำเนินการอยู่เพียงในรูปแบบของศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งมีจำนวน 6 ศูนย์และมีศูนย์เทศบาลสาขาอีกจำนวน 10 สาขาและมีพยาบาลวิชาชีพเป็นตัวหลักในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น และมีแพทย์ให้บริการในบางเวลา อันเป็นการไม่สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชน ที่ต้องการเข้ารับการตรวจรักษาที่มีมาตรฐานการรักษาที่สูงกว่าและสามารถเข้าถึงการแพทย์ได้โดยตรง มีแพทย์ปริญญาเป็นผู้ทำการตรวจรักษา ประกอบกับสถานะความเป็นอยู่ของประชาชนอีกจำนวนมากที่ยังมีฐานะยากจนและเมื่อเกิดการเจ็บป่วยยังไม่สามารถเข้าถึงการแพทย์ที่ถูกต้องได้ ความจำเป็นและความต้องการของประชาชนเช่นนี้ เทศบาลซึ่งเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นต้องเป็นผู้ดูแล เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภายใต้การบริหารงานของนายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรี จึงได้จัดตั้งโรงพยาบาลเทศบาล ขนาด 30 เตียงขึ้น ด้วยความเห็นพ้องต้องกันและสนับสนุนจาก โรงพยาบาลมหาราชนครนครศรีธรรมราช และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนคณะกรรมการกลั่นกรองการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราชตั้งอยู่บนพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา ติดกับบริเวณสวนหย่อมหอนาฬิกา มีอาคารประกอบจำนวน 3 หลัง เป็นตึก 3 ชั้น ขนาดกว้าง 12 เมตรยาว 16 เมตรจำนวน 1 หลัง จัดเป็นส่วนบริการของงานเวชระเบียนห้องฉุกเฉิน ห้องตรวจจำนวน 3 ห้อง ห้องชันสูตรทางสาธารณสุข ห้องจ่ายยา ส่วนของกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ งานทันตกรรม ห้องพักแพทย์ ส่วนงานบริหารและห้องประชุมอาคารผู้ป่วยในชั้นเดียว ขนาดกว้าง 12 เมตรยาว 20 เมตร จำนวน 1 หลังและอาคาร 2 ชั้นขนาดกว้าง 6 เมตรยาว 18 เมตร จำนวน 1 หลังซึ่งเป็นอาคารเดิมของสุขศาลาที่สร้างอุทิศโดย คุณผัน ณ นคร จัดเป็นส่วนของผู้ป่วยใน ห้อง X-Ray ศูนย์บริการพิเศษ 20,000 เตียง และชั้นบนเป็นส่วนของสต๊อกยาและเวชภัณฑ์ ขณะนี้มีอีกหนึ่งโครงการที่ทางเทศบาลกำลังดำเนินการคือ อาคารผู้ป่วย 4 ชั้น ซึ่งเริ่มก่อสร้างแล้วและจะเสร็จภายใน 240 วัน [8]

  • โรงเรียนเทศบาล
    • โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง
    • โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์
    • โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก
    • โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร
    • โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี
    • โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่
    • โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย
    • โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธง
    • โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์
    • โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช (NICS)
    • โรงเรียนผู้ใหญ่วัดแจ้ง
    • โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ (เทศบาล 12)
  • ศูนย์การเรียนรู้ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช (CLP) อยู่บริเวณสนามหน้าเมืองซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง การคมนาคมสะดวกและปลอดภัย เยาวชนสามารถเดินทางมาได้เองโดยรถโดยสารประจำทาง รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน และการเดินเท้า ลักษณะอาคารเป็นอาคารสองชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 2,000 ตารางเมตร มีดาดฟ้าเป็นลานโล่ง ผนังส่วนใหญ่เป็นกระจกใส มองจากภายนอกเห็นผู้เข้าใช้บริการและกิจกรรมภายในที่กำลังดำเนินอยู่อย่างชัดเจน สื่อถึงความทันสมัย มีชีวิตชีวา ปลอดภัยและตรงไปตรงมา การตกแต่งภายในอุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราชได้รับแรงบันดาลใจจากเยาวชนรุ่นใหม่ในท้องถิ่นซึ่งมาร่วมกันระดมความคิดเห็นเพื่อช่วยกันสร้างให้เป็นพื้นที่ของเยาวชนอย่างแท้จริง โดยได้บทสรุปว่าอุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราชหรือ CLP เป็นบรรยากาศของ "สวนแห่งความรู้" ออกแบบภายในให้เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกคือสวนสาธารณะที่มีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก การตกแต่งภายในประกอบด้วยสีอ่อนหลากสีบริเวณผนังแต่ละพื้นที่และการจัดแสงสว่างที่เหมาะสมเพื่อสร้างความรู้สึกสบายและผ่อนคลายเมื่อสัมผัสโดยรวม มีการเน้นสีสดด้วยเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ ที่มีรูปแบบทันสมัยเพื่อสร้างความรู้สึกมีชีวิตชีวา สร้างบรรยากาศการตื่นตัว กระตือรือร้นเพื่อเรียนรู้ พื้นที่ภายในแบ่งเป็นสองลักษณะ คือ พื้นที่ที่สอดคล้องกับลักษณะกิจกรรมเฉพาะต่างๆ ที่มีการแยกส่วนอย่างชัดเจน และพื้นที่เอนกประสงค์สำหรับทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ มีเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบและเคลื่อนย้ายได้ง่าย [9]
  • สวนสาธารณะศรีธรรมโศก
  • การบูรณะกำแพงเมืองเก่า
  • สถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ถนนคนเดิน (ถนนธนารักษ์)

โครงการที่เทศบาลกำลังดำเนินการ

  • โครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ทั้งระบบ
  • โครงการก่อสร้างอาคาร 4 ชั้น รพ.เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
  • โครงการก่อสร้างอาคารบำบัดขยะ ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • โครงการก่อสร้างปรับปรุงสภาพผิวถนนและการจราจรถนนในเขตเทศบาล รวมทั้งทางเท้าและทางระบายน้ำ
  • โครงการตลาดน้ำเมืองคอน
  • โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองนคร
  • โครงการปรับปรุงอาคารสำนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
  • โครงการขุดลอกคูคลองป้องกันอุทกภัย
  • โครงการสร้างซุ้มประตูเมือง

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตเทศบาล

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

ห้างสรรพสินค้าในเขตเทศบาล

  • โรบินสัน โอเชี่ยน นครศรีธรรมราช (ถนนพัฒนาการคูขวาง)
  • บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (ถนนศรีปราชญ์)
  • เทสโก้ โลตัส นครศรีธรรมราช (ถนนพัฒนาการคูขวาง)
  • โฮมโปร นครศรีธรรมราช (แยกนาหลวง)
  • แมคโคร นครศรีธรรมราช (ถนนกระโรม)
  • สหไทย ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ (ท่าวัง)
  • ลัคกี้ ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ (ท่าวัง)
  • เทสโก้ โลตัส เอกซ์เพรส สาขาหัวถนน
  • ไทยสมบูรณ์ (ถนนพัฒนาการคูขวาง)

การคมนาคมและการเดินทาง

  • ถนนและการเดินทางภายในเขตเทศบาล
    • ถนนอ้อมค่าย ถนนสายนี้เป็นถนน 4 เลนส์ (บางช่วง 8 เลนส์) เป็นถนนที่ผู้เดินทางส่วนใหญ่ใช้ในการเลี่ยงจากการเข้าในค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 ถนนเส้นนี้สิ้นสุดลงที่โรงพยาบาลนครินทร์ มีความยาวโดยประมาณ 6 กิโลเมตร
    • ถนนพัฒนาการคูขวาง เป็นถนน 4 เลนส์ ถนนสายนี้ถ้าย้อนกลับไปประมาณ 10 ปีก่อนถนนเส้นนี้จะเป็นถนนเปลี่ยวๆสายหนึ่ง แต่สำหรับในปัจจุบันเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง ถนนสายนี้นับได้ว่าเป็นถนนสายสำคัญและเป็นถนนเศรษฐกิจของเทศบาล เพราะเป็นถนนที่มีศูนย์ธุรกิจ สำนักงาน ศูนย์การค้าตั้งอยู๋มากมาย ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ต่างๆ โรบินสัน โอเชี่ยน เทสโก้ โลตัสเป็นต้น ถนนสายนี้ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ไปสิ้นสุด ณ สามแยกนาหลวง ผู้ที่รีบร้อนโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางนี้
    • ถนนเฉลิมพระเกียรติ เป็นถนน 4 เลนส์ ถนนสายนี้เป็นคล้ายๆ ถนนเลี่ยงเมืองนครศรีธรรมราช เพราะส่วนใหญ่มีรถที่เบื่อหน่ายกับรถติดบริเวณหน้าโรบินสัน โอเชี่ยนมาใช้เส้นทางนี้ ถนนเส้นนี้ได้รับการบำรุงซ่อมแซฒหลายครั้งจนกระทั่งในปี 2552 ถนนสายนี้ได้รับการซ่อมแซมและทำใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันเป็นบริเวณชานเมือง ผู้ที่ขับผ่านถนนสายนี้สามารถชมทิวทัศน์ของทัศนียภาพแห่งพระบรมธาตุเจดีย์ได้อย่างชัดเจนอีกทั้งฉากข้างหลังยังเป็นเทือกเขาหลวง อีกด้วย ถนนสายนี้ทางเทศบาลมีความประสงค์ที่จะทำการขยายเมืองออกมาอีกด้วย ถนนสายนี้ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร
    • ถนนกะโรม เป็นถนน 6 เลนส์ ถนนสายนี้เป็นถนนย่านธุรกิจอีกแห่งหนึ่งของเทศบาลเพราะเป็นที่ตั้งของแหล่งธุรกิจมากมาย อีกทั้งยังเป็นเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังของเมืองนครไม่ว่าจะเป็น น้ำตกกรุงชิง พระตำหนักเมืองนคร เขาหลวง เป็นต้น ถนนสายนี้เป็นถนนคอนกรีต ซึ่งมีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร นับได้ว่าเป็นถนนสายเดียวที่กว้างที่สุดในเขตเทศบาล
    • ถนนราชดำเนิน เป็นถนน 4 เลนส์ ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร ถนนราชดำเนินเริ่มตั้งแต่ทางเข้าค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 ไปจนถึง สี่แยกหัวถนน ถนนราชดำเนินเป็นถนนที่สำคัญเป็นถนนสายหลักในเมืองที่สร้างสรรค์เมืองให้เต็มไปด้วยแหล่งอารยธรรม แหล่งธุรกิจ แหล่งการค้า เพราะถนนเส้นนี้ผ่านย่านธุรกิจท่าวัง ศูนย์ราชการ ศาลากลางจังหวัด วัดพระบรมมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งถนนสายนี้เคยมีโครงการนำสายไฟลงดินเป็นระบบเคเบิล "โครงการถนนสายวัฒนธรรม" ซึ่งจะดำเนินตั้งแต่สนามหน้าเมืองไปยังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
    • ถนนปากนคร เป็นถนน 4 เลนส์ ถนนเส้นนี้เริ่มตั้งแต่สี่แยกท่าวังไปจนถึงเทศบาลตำบลปากนคร มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
    • ถนนศรีธามา เป็นถนน 4 เลนส์ ถนนเส้นนี้เริ่มตั้งแต่บริเวณหลังกำแพงเมือง ไปยังทิศใต้บริเวณชุมชนประตูไชยสิทธิ์
    • ถนนศรีธรรมโศก เป็นถนน 4 เลนส์ ซึ่งเริ่มจากชุมชนประตูไชยสิทธิ์ไปยังถึงสี่แยกประตูขาว
    • ถนนศรีปราชญ์ เป็นถนน 2 เลนส์ ซึ่งเริ่มจากสี่แยกประตูขาวไปจนถึงแยกบูรณาราม
    • ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง เป็นถนน 2 เลนส์ เริ่มจากถนนศรีธามาอ้อมถนนราชดำเนินไปออกทางไปพระพรหม
    • ถนนเทวบุรี (โพธิ์เสด็จ) เป็นถนน 2 เลนส์ เป็นที่ตั้งของสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นเส้นทางลัดเลาะจากศาลากลางไปยังตลาดหัวอิฐ และถนนกะโรม
    • ถนนชลประทาน เป็นถนน 4 เลนส์ เริ่มจากตำบลสะพานยาว ไปจนถึงถนนสนามบิน
    • ถนนประตูลอด เป็นถนน 4 เลนส์ เป็นแหล่งการค้าและการแข่งขันทางด้านธุรกิจทางอาหาร เชื่อมต่อกับถนนพัฒนาการคูขวาง
    • ถนนมณีวัตร เป็นถนน 2 เลนส์ ขณะนี้เป็นถนนที่กำลังเติบโตทางด้านการแข่งขันทางด้านการก่อสร้างอาคาร
    • ถนนเอกนคร เป็นถนน 2 เลนส์ เป็นแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่ของเมืองนคร
    • และอีกมากมาย
  • สะพานและคลองในเขตเทศบาล
    • สะพานราเมศร์วรสินธู-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองราเมศร์
    • สะพานราเมศร์วรสินธู-ถนนอ้อมค่าย-พัฒนากาาคูขวาง ข้ามคลองราเมศร์
    • สะพานนครน้อย-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองหน้าเมือง
    • สะพานนครน้อย-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองหน้าเมือง
    • สะพานนครน้อย-ถนนเฉลิมพระเกียรติ ข้ามคลองหน้าเมือง
    • สะพานนครน้อย-ถนนศรีธรรมราช ข้ามคลองหน้าเมือง
    • สะพานท่าเรียน-ถนนกะโรม ข้ามคลองท่าเรียน
    • สะพานป่าเหล้า-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองป่าเหล้า
    • สะพานป่าเหล้า-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองป่าเหล้า
    • สะพานป่าเหล้า-ถนนเฉลิมพระเกียรติ ข้ามคลองป่าเหล้า
    • สะพานป่าเหล้า-ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานสวนหลวง-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานสวนหลวง-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานสวนหลวง-ถนนเฉลิมพระเกียรติ ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานสวนหลวง-ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานคูพาย-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานคูพาย-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานคูพาย-ถนนเฉลิมพระเกียรติ ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานคูพาย-ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง ข้ามคลองสวนหลวง
    • สะพานยาว-ถนนพานยาว ข้ามคลองท่าเรียน
  • ทางหลวงที่สำคัญ
    • ทางหลวง 401 นครศรีธรรมราช - สุราษฎร์ธานี
    • ทางหลวง 403 นครศรีธรรมราช - ทุ่งสง - ตรัง
    • ทางหลวง 408 นครศรีธรรมราช - หัวไทร - สงขลา
    • ทางหลวง 4016 นครศรีธรรมราช - นบพิตำ
    • ทางหลวง 4015 นครศรีธรรมราช - ลานสกา- สุราษฎร์ธานี (บ้านส้อง)
    • ทางหลวง 4013 นครศรีธรรมราช - ปากพนัง
    • ทางหลวง 4103 ถนนเลี่ยงเมืองนครศรีธรรมราชตะวันตก
    • ทางหลวง 4012 นครศรีธรรมราช - ท่าแพ
รถสองแถวในเขตเทศบาล
  • สายหัวถนน-สนามกีฬา
  • สายหน้าเมือง-อ้อมค่ายวชิราวุธ
  • สายท่าแพ-หน้าเมือง
  • สายนาฎศิลป์-โลตัส-โรบินสัน-ท่าแพ
  • สายโรบินสัน-ท่าวัง
  • สาย บขส.-สถานีรถไฟ-โรบินสัน-โลตัส-หัวถนน
รถตู้โดยสารประจำทางปรับอากาศ


ทางรถไฟ
ทางรถประจำทางปรับอากาศ จากสถานีขนส่งนครศรีธรรมราช
  • นครศรีธรรมราช - กระบี่
  • นครศรีธรรมราช- ภูเก็ต
  • นครศรีธรรมราช- สุราษฎร์ธานี
  • นครศรีธรรมราช - เกาะสมุย
  • นครศรีธรรมราช- ระนอง
  • นครศรีธรรมราช- หาดใหญ่
  • นครศรีธรรมราช- สงขลา
  • นครศรีธรรมราช - พัทลุง
  • นครศรีธรรมราช- สุไหงโก-ลก
  • นครศรีธรรมราช - บ้านส้อง
  • นครศรีธรรมราช- สุไหงโกลก
  • นครศรีธรรมราช- ทุ่งสง
  • นครศรีธรรมราช- ปากพนัง
  • นครศรีธรรมราช- ดอนสัก -ท่าเรือเฟอรี่
  • นครศรีธรรมราช- ยะลา
  • นครศรีธรรมราช- ตรัง
  • กรุงเทพฯ- นครศรีธรรมราช
  • กรุงเทพฯ- นครศรีธรรมราช - ปากพนัง
ทางเครื่องบิน

(ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ 17 กิโลเมตร)

ตารางการบิน

ลำดับที่ เที่ยวบิน สายการบิน เส้นทางการบิน เวลาออก เวลาถึง จำนวนวัน
1 DD7804 นกแอร์ กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง) - นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) 06.00 น. 07.10 น. ทุกวัน
2 DD7805 นกแอร์ นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) - กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง) 07.40 น. 08.50 น. ทุกวัน
3 DD7810 นกแอร์ กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง) - นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) 14.45 น. 15.55 น. ทุกวัน
4 DD7811 นกแอร์ นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) - กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง) 16.25 น. 17.35 น. ทุกวัน
5 DD7814 นกแอร์ กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง) - นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) 18.05 น. 19.15 น. จันทร์ , พฤหัสบดี , ศุกร์ , อาทิตย์
6 DD7815 นกแอร์ นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) - กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง) 19.45 น. 20.55 น. จันทร์ , พฤหัสบดี , ศุกร์ , อาทิตย์
7 FD3200 ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) - นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) 06.55 น. 08.15 น. ทุกวัน
8 FD3201 ไทยแอร์เอเชีย นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) - กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) 08.50 น. 10.10 น. ทุกวัน
9 FD3204 ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) - นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) 16.55 น. 18.15 น. ทุกวัน
10 FD3205 ไทยแอร์เอเชีย นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) - กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) 16.55 น. 18.15 น. ทุกวัน
11 OX8251 วัน-ทู-โก โดย สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง) - นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) 17.20 น. 18.30 น. ทุกวัน
12 OX8250 วัน-ทู-โก โดย สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ นครศรีธรรมราช (ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช) - กรุงเทพฯ (ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง) 19.00 น. 20.10 น. ทุกวัน

รวม 6 เที่ยวบิน / วัน

  • เวลา ชื่อเที่ยวบิน จำนวนวันที่ทำการบิน อาจจะเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของสายการบินแต่ละสายการบิน

อ้างอิง

  1. ข้อมูลจากกรมการปกครอง,กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
  2. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 1687 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2478
  3. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2508 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม82 ตอนที่ 96 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2508
  4. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2536 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 207 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2536
  5. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 111 ตอนที่ 36 ก ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2537
  6. http://www.hotelsguidethailand.com/travel/travel_detail.php?l=th&code=4121
  7. http://www.nakhonmuseum.com/history.php
  8. http://hospital.nakhoncity.org/come.html
  9. http://www.marclp.com/mainpage.php?file=main_about.php