ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุลมงกุฎ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: bs:Vijenac; ประทิ่นเปลี่ยนแปลง
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
cleanup
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
ไฟล์:Heir apparent's Children Coronet.svg|จุลมงกุฎสำหรับสำหรับเจ้าชายหรือเจ้าหญิงที่เป็นพระโอรสธิดาของรัชทายาทโดยนิตินัย
ไฟล์:Heir apparent's Children Coronet.svg|จุลมงกุฎสำหรับสำหรับเจ้าชายหรือเจ้าหญิงที่เป็นพระโอรสธิดาของรัชทายาทโดยนิตินัย
ไฟล์:Monarch's Other Grandchildren Coronet.svg|จุลมงกุฎสำหรับเจ้าชายหรือเจ้าหญิงที่เป็นพระนัดดาของพระมหากษัตริย์
ไฟล์:Monarch's Other Grandchildren Coronet.svg|จุลมงกุฎสำหรับเจ้าชายหรือเจ้าหญิงที่เป็นพระนัดดาของพระมหากษัตริย์
ไฟล์:Ducal Coronet.svg|จุลมงกุฎสำหรับ<br />ตำแหน่งดยุค
ไฟล์:Ducal Coronet.svg|จุลมงกุฎสำหรับ<br />ตำแหน่งดยุก
ไฟล์:Marquess Coronet.svg|จุลมงกุฎสำหรับ<br />ตำแหน่งมาควิส
ไฟล์:Marquess Coronet.svg|จุลมงกุฎสำหรับ<br />ตำแหน่งมาควิส
ไฟล์:Earl Coronet.svg|จุลมงกุฎสำหรับตำแหน่ง<br />เอิร์ล
ไฟล์:Earl Coronet.svg|จุลมงกุฎสำหรับตำแหน่ง<br />เอิร์ล

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:54, 11 กรกฎาคม 2555

จุลมงกุฎของเอิร์ลแห่งสหราชอาณาจักร

จุลมงกุฎ (อังกฤษ: Coronet) คือมงกุฎสำหรับผู้มีตำแหน่งรองจากพระมหากษัตริย์ที่มีเครื่องตกแต่งบนวงแหวนโลหะ จุลมงกุฎต่างจากมงกุฎตรงที่ส่วนใหญ่จะไม่มีโค้งเหนือมงกุฎเช่นที่เห็นในมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด คำว่า “Coronet” มาจากภาษาฝรั่งเศสโบราณ “Coronete” ที่มาจาก “Co(u)ronne” (Crown) จากคำว่า “Corona” ในภาษาละตินที่แปลว่าพวงหรีด

จุลมงกุฎมิได้หมายความว่าเป็นมงกุฎขนาดเล็กเช่นมงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิคตอเรียซึ่งเป็นมงกุฎขนาดจิ๋ว แต่คำว่า “จุลมงกุฎ” เป็นมงกุฎที่แสดงตำแหน่งของผู้เป็นเจ้าของว่ารองจากพระมหากษัตริย์ ตามธรรมเนียมแล้วเช่นในภาษาเยอรมันของคำว่า “Adelskrone” (มงกุฎของขุนนาง) ใช้สำหรับขุนนางและเจ้าชายหรือเจ้าหญิงในตราอาร์ม แทนที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ที่จะใช้คำว่า “มงกุฎ” (Crown) ซึ่งเป็นคำที่ตามปกติจะใช้กับพระมหากษัตริย์ นอกจากจะเป็นมงกุฎเล็กแล้วก็ยังบอกฐานะหรือตำแหน่งของผู้สวมด้วย ฉะนั้นในภาษาเยอรมันจึงมีคำว่า “Rangkrone” (มงกุฎประจำตำแหน่ง) การเรียก “มงกุฎ” หรือ “จุลมงกุฎ” เป็นการบ่งฐานะอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปบางครั้งคำว่า “มงกุฎ” ก็จะใช้เรียกรวมๆ ระหว่างทั้ง “มงกุฎ” หรือ “จุลมงกุฎ”

ในสหราชอาณาจักรขุนนางสืบตระกูลจะสวมจุลมงกุฎในโอกาสวันที่มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งเป็นโอกาสเดียวเท่านั้นขุนนางจะสวมมงกุฎได้

อ้างอิง


ดูเพิ่ม

ระเบียงภาพ