ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหากัสสปะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
== พระราชประวัติ ==
== พระราชประวัติ ==
'''พระมหากัสสปะ''' มีพระนามเดิมว่า '''ปิปผลิ''' เป็นพระราชโอรสของ[[กปิลพราหมณ์]] และ[[สุมนเทวีพราหมณี]] ประสูติที่เมืองราชคฤห์ ตอนวัยเด็ก ขณะที่ปิปผลิกุมารได้วิ่งเล่นออกจากพระราชวังนั้น ได้เห็น[[ภิกษุ]]รูปหนึ่ง กำลังทำ[[สมาธิ]] จึงเกิดความเลื่อมใส คิดอยากจะออกบวชในวัยหนุ่ม เมื่ออายุเข้าย่างสู่ 20 ปี ทรงมีพระมเหสี มีพระนามว่า[[ภัททกาปิลานี]] อาศัยอยู่ใน[[เมืองสาคละ]] [[แคว้นมัททะ]] ซึ่งมีพราหมณ์คนหนึ่งตามมาขอพระราชธิดา และทั้งก็ได้แต่งงานกันอย่างสมเกียรติ และหลังจากแต่งงาน [[นางภัททกาปิลานี]]ก็ได้มาอยู่ที่บ้านของปิปผลิภาณพ ครั้งที่พระราชโอรส และพระราชธิดากำลังเสด็จประพาสอุทยานก็เห็นถึง[[สัตว์]]กิน[[อาหาร]] และได้นึกถึง[[สังขาร]]จึงออกบวชด้วยกันทั้งคู่ แต่ทั้งสองก็ได้ตกลงว่าต้องแยกกันแล้ว เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ปิปผลิได้ออกบวชใน[[พุทธศาสนา]] ระหว่าง[[เมืองราชคฤห์]] กับ[[นาลันทา]] (บ้านเกิด[[พระสารีบุตร]])
'''พระมหากัสสปะ''' มีพระนามเดิมว่า '''ปิปผลิ''' เป็นพระราชโอรสของ[[กปิลพราหมณ์]] และ[[สุมนเทวีพราหมณี]] ประสูติที่เมืองราชคฤห์ ตอนวัยเด็ก ขณะที่ปิปผลิกุมารได้วิ่งเล่นออกจากพระราชวังนั้น ได้เห็น[[ภิกษุ]]รูปหนึ่ง กำลังทำ[[สมาธิ]] จึงเกิดความเลื่อมใส คิดอยากจะออกบวชในวัยหนุ่ม เมื่ออายุเข้าย่างสู่ 20 ปี ทรงมีพระมเหสี มีพระนามว่า[[ภัททกาปิลานี]] อาศัยอยู่ใน[[เมืองสาคละ]] [[แคว้นมัททะ]] ซึ่งมีพราหมณ์คนหนึ่งตามมาขอพระราชธิดา และทั้งก็ได้แต่งงานกันอย่างสมเกียรติ และหลังจากแต่งงาน [[นางภัททกาปิลานี]]ก็ได้มาอยู่ที่บ้านของปิปผลิภาณพ ครั้งที่พระราชโอรส และพระราชธิดากำลังเสด็จประพาสอุทยานก็เห็นถึง[[สัตว์]]กิน[[อาหาร]] และได้นึกถึง[[สังขาร]]จึงออกบวชด้วยกันทั้งคู่ แต่ทั้งสองก็ได้ตกลงว่าต้องแยกกันแล้ว เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ปิปผลิได้ออกบวชใน[[พุทธศาสนา]] ระหว่าง[[เมืองราชคฤห์]] กับ[[นาลันทา]] (บ้านเกิด[[พระสารีบุตร]])
55+


== การทำสังคายนา ==
== การทำสังคายนา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:02, 15 มิถุนายน 2555

พระมหากัสสปะ
ภาพวาดพระมหากัสสปะ ตามคติมหายานฝ่ายจีนนิกาย
ภาพวาดพระมหากัสสปะ ตามคติมหายานฝ่ายจีนนิกาย
ข้อมูลทั่วไป
พระนามเดิมปิปผลิ
พระนามอื่นปิปผลิกุมาร, ปิปผลิมาณพ
สถานที่ประสูติมหาติตถะ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
สถานที่บวชต้นไทรพหุปุตตนิโครธ ระหว่างเมืองราชคฤห์ กับนาลันทา
วิธีบวชธรรมทายาท
สถานที่บรรลุธรรมป่า
เอตทัคคะผู้มีธุดงค์มาก
อาจารย์พระโคตมพุทธเจ้า
สถานที่นิพพานภุเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต
ฐานะเดิม
พระราชบิดากปิลพราหมณ์
พระราชมารดาสุมนเทวีพราหมณี
วรรณะเดิมพราหมณ์
การศึกษาจบไตรเพท
สถานที่รำลึก
สถานที่ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สถานที่ทำสังคายนาครั้งแรก
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระมหากัสสปะ เป็นพระสาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นพระที่รวบรวมพระธรรมหลักคำสอนเพื่อบันทึกไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่าการสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก เป็นพระสาวกที่ยกย่อง และถือเป็นแบบอย่างในพุทธศาสนา ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในด้าน ผู้มีธุดงค์มาก

พระราชประวัติ

พระมหากัสสปะ มีพระนามเดิมว่า ปิปผลิ เป็นพระราชโอรสของกปิลพราหมณ์ และสุมนเทวีพราหมณี ประสูติที่เมืองราชคฤห์ ตอนวัยเด็ก ขณะที่ปิปผลิกุมารได้วิ่งเล่นออกจากพระราชวังนั้น ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง กำลังทำสมาธิ จึงเกิดความเลื่อมใส คิดอยากจะออกบวชในวัยหนุ่ม เมื่ออายุเข้าย่างสู่ 20 ปี ทรงมีพระมเหสี มีพระนามว่าภัททกาปิลานี อาศัยอยู่ในเมืองสาคละ แคว้นมัททะ ซึ่งมีพราหมณ์คนหนึ่งตามมาขอพระราชธิดา และทั้งก็ได้แต่งงานกันอย่างสมเกียรติ และหลังจากแต่งงาน นางภัททกาปิลานีก็ได้มาอยู่ที่บ้านของปิปผลิภาณพ ครั้งที่พระราชโอรส และพระราชธิดากำลังเสด็จประพาสอุทยานก็เห็นถึงสัตว์กินอาหาร และได้นึกถึงสังขารจึงออกบวชด้วยกันทั้งคู่ แต่ทั้งสองก็ได้ตกลงว่าต้องแยกกันแล้ว เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ปิปผลิได้ออกบวชในพุทธศาสนา ระหว่างเมืองราชคฤห์ กับนาลันทา (บ้านเกิดพระสารีบุตร)

การทำสังคายนา

สังคายนาในสังขาร

ครั้งที่ 1

ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำสังคายนาครั้งแรก

พระมหากัสสปเถระได้ทราบข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ ณ เมืองปาวาพร้อมด้วยหมู่ศิษย์จำนวนมาก เมื่อได้ทราบข่าวนั้น เหล่าศิษย์ของพระมหากัสสปะซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้น จึงมีพระภิกษุบวชเมื่อแก่องค์หนึ่ง ชื่อว่าสุภัททะ ได้กล่าวขึ้นว่า "หยุดเถิด หยุดเถิด ท่านอย่าร่ำไรไปเลย พระสมณะ นั้นพ้น (ปรินิพพาน) แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ ไม่ต้อง เกรงบัญชาใคร" พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น คิดจะทำนิคคหกรรม (ทำโทษ) แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน และดำริขึ้นว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง 7 วัน ก็มีผู้คิดที่จะทำให้เกิดความแปรปรวน หรือประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัยเช่นนี้ จึงควรจะทำการสังคายนาและจะชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรง เป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าสิ่งใดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มาประชุมกัน เพื่อช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้ จากนั้นท่านจึงเดินทางไปยังเมืองกุสินาราเพื่อเป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ใช้เวลา 7 เดือน พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นผู้อุปถัมภ์

การทำสังคายนาพระธรรมวิทัยครั้งที่ 1 จึงได้จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปะเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ โดยในครั้งนั้น พระมหากัสสปะเถระเป็นประธานทำสังคายนา พระอานนท์เป็นองค์วิสัชชนาแสดงพระธรรมวินัยในหมวด สุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก พระอุบาลี เป็นองค์วิสัชชนาพระวินัยปิฎก ซึ่งแนวการวางระเบียบพระธรรมวินัยในครั้งนั้นจัดเป็นรูปแบบที่เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังคงมีการรักษาสิ่งที่ได้จัดรวบรวมในครั้งปฐมสังคายนาอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับเถรวาทโดยไม่มีการปรับแก้มาจนปัจจุบัน

สังคายนานอกสังขาร

ครั้งที่ 2

เมืองเวสาลี สถานที่ทำทุติยสังคายนา

การทำสังคายนาครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 100 ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย โดยมีพระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พระเถระผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมทำสังคายนาครั้งนี้ได้แก่ พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระขุชชโสภิตะ พระวาสภคามิกะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาจีนกะ) พระเรวตะ พระสัมภูตะ สาณวาสี พระยสะ กากัณฑกบุตร และพระสุมนะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาฐา) ในการนี้พระเรวตะทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม และพระสัพพกามีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 700 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 8 เดือน จึงเสร็จสิ้น

ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พระยสะ กากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของภิกษุวัชชีบุตร เช่น ควรเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อรับประทานได้ ควรฉันอาหารยามวิกาลได้ ควรรับเงินทองได้ เป็นต้น พระยสะ กากัณฑกบุตรจึงชวนพระเถระต่างๆ ให้ช่วยกันวินิจฉัย แก้ความถือผิดครั้งนี้

โดยรายละเอียดของปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สอง มีกล่าวถึงในพระวินัยปิฎก จุลลวรรค แม้ในวินัยปิฎกจะไม่กล่าวถึงคำว่าพระไตรปิฎกในการปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สองเลย แต่ในสมันตัปปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาอธิบายวินัยปิฎกนั้น บอกว่าการจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธศาสนาให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างพระไตรปิฎกนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนาแล้ว

ครั้งที่ 3

พระมหากัสสปะ

ปิปผลิ
ตระกูลกษัตริย์แห่งราชวงศ์หารยังกะ
พระมเหสีนางภัททกาปิลามี
ราชวงศ์ราชวงศ์หารยังกะ
พระราชบิดากปิลพราหมณ์
พระราชมารดาสุมนเทวีพราหมณี
ไฟล์:Mauryan Hall pillar.JPG
1 ใน 80 เสาห้องโถงแห่งอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร สถานที่ทำตติยสังคายนาของพระพุทธศาสนา

การทำสังคายนาครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 235 ที่อโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย โดยมีพระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 1,000 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 9 เดือน จึงเสร็จสิ้น

ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ มีพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้วแสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ จึงได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อกำจัดความเห็นของพวกเดียรถีย์ออกไป

ในการทำสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ ได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมไว้ด้วย และเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว ก็มีการส่งคณะทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ในที่นี้มีพระมหินทเถระ ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่นำพระพุทธศานาไปประดิษฐานในลังกา รวมทั้งพระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ ที่นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังดินแดนสุวรรณภูมิด้วย

ครั้งที่ 4

การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 643 ที่เมืองชาลันธร แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าทำที่กัศมีร์ (แคชเมียร์) การสังคายนาครั้งนี้มีลักษณะของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเข้ามาผสม ทำให้ฝ่ายเถรวาทไม่นับว่าเป็นหนึ่งในการสังคายนาในการสังคายนาครั้งนี้มีพระภิกษุมา800รูปและใช้เวลา12เดือนทีเดียวและมีพระอับปาหัมเป็นประธาน

ครั้งที่ 5

การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 460 ที่อาโลกเลณสถาน มตเลชนบท ประเทศศรีลังกา โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้เพื่อต้องการจารึกพระพุทธวัจนะเป็นลายลักษณ์อักษรมีพระฤทธิ์เดชเป็นผู้ถามและมีพระรำเคนเป็นผู้ตอบและมีจำนวนพระภิกษุสงมา 1200 รูปใช้เวลาการสังคายนา 10 เดือน

อ้างอิง

  • โอม รัชเวทย์. พระมหากัสสปะ ฉบับการ์ตูนสี่สี. พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรุงเทพฯ:เครืออมรินทร์,๒๕๕๒

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระมหากัสสปะ ถัดไป
ประธานการสังคายนาครั้งที่ 1
พระเรวตะ
ประธานการสังคายนาครั้งที่ 2