ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โพรโทซัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Gerakibot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: gl:Protozoo
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
[[fi:Alkueläimet]]
[[fi:Alkueläimet]]
[[fr:Protozoaire]]
[[fr:Protozoaire]]
[[gl:Protozoo]]
[[hi:प्रोटोज़ोआ]]
[[hi:प्रोटोज़ोआ]]
[[hr:Praživotinje]]
[[hr:Praživotinje]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:48, 14 มิถุนายน 2555

โพรโทซัว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
อาณาจักร: Protista
ไฟลัม: Protozoa

โพรโทซัว (อังกฤษ: protozoa) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กที่จัดได้ว่ามีความสำคัญมากในระบบนิเวศ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม รวมทั้งบริเวณที่ชื้นแฉะ ยังพบว่าอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์บกอีกหลายชนิด มีทั้งที่เป็นโทษและมีประโยชน์ โพรโทซัวนั้นมีทั้งที่สามารถสร้างอาหารได้เอง เช่น พวกที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ซึ่งมักจะสีเขียวของคลอโรฟิลล์ และพวกไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ การเพิ่มขึ้นของโพรโทซัวอย่างรวดเร็วหรือการบลูมขึ้นมา จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ red tide ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำบริเวณนั้น ความเป็นพิษเกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม และถูกขับออกมาละลายอยู่ในน้ำ โดยพิษจะมีผลให้สัตว์น้ำเป็นอัมพาต

การจัดจำแนก

  • ไฟลัมซาร์โคแมสติโกฟอรา (Sarcomastigophora) หรือซูโอแฟลกเจลเลต (Zooflagellate) เป็นโปรโตซัวที่ว่ายน้ำได้ด้วยแฟลกเจลลา มีทั้งที่อาศัยเป็นอิสระในน้ำ ในดิน หรือเป็นปรสิต ชนิดที่เป็นปรสิตบางชนิดอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของปลวกเพื่อช่วยย่อยเนื้อไม้ Trypanosoma เป็นปรสิตก่อโรคเหงาหลับ (African sleeping sickness) โปรโตซัวในไฟลัมนี้อีกชนิดเรียกว่าซาร์โคดิเนส เป็นกลุ่มที่เคลื่อนที่ด้วยเท้าเทียม เช่น
  • ไฟลัมอะปิคอมเพลซา (Apicomplexa) ได้แก่ สปอโรโซน (Sporozoans) เป็นปรสิตทั้งหมด เคลื่อนที่ไม่ได้ วงชีวิตมีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ การแพร่พันธุ์อาศัยทั้งพาหะ (แมลง) และโฮสต์ (สัตว์) เช่น พลาสโมเดียมซึ่งก่อโรคมาลาเรีย
  • ไฟลัมซิลิโอฟลอรา (Ciliophora) ได้แก่โปรโตซัวที่มีซิเลีย (cilate protozoan) มีซิเลียช่วยในการว่ายน้ำ เป็นเซลล์เดี่ยวที่มีความซับซ้อน มีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และมีทางเข้าของอาหารคล้ายปาก (oral groove) อาหารจะถูกย่อยในแวคิวโอลอาหาร (food vacuole) ที่ทำหน้าที่คล้ายกระเพาะอาหาร มีช่องเปิดให้ส่งของเสียจากแวคิวโอลอาหารออกสู่ภายนอก (anal pore) ดำรงชีพด้วยการล่าเหยื่อ ตัวอย่างเช่น พารามีเซียม