ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปัญจศีล (การเมือง)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|การเมืองในอินโดนีเซีย|ศีลห้าใน[[พุทธศาสนา]]|เบญจศีล}}
{{ความหมายอื่น|การเมืองในอินโดนีเซีย|ศีลห้าใน[[พุทธศาสนา]]|เบญจศีล}}
[[File:Pancasila Perisai.svg|thumb|right|190px|ตราปัญจศีลที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 ประการของปัญจศีล]]
[[File:Pancasila Perisai.svg|thumb|right|190px|ตราปัญจศีลที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 ประการของปัญจศีล]]
[[File:Coat of Arms of Indonesia Garuda Pancasila.svg|thumb|right|190px|[[ตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย|ครุฑปัญจศีล]] สัญลักษณ์ในตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย]]
'''ปัญจศีล''' ([[ภาษาอินโดนีเซีย]]:Pancasila) เป็นคำที่มาจาก[[ภาษาชวา]]โบราณที่รับมาจาก[[ภาษาสันสกฤต]] หมายถึงหลัก 5 ประการที่เป็นปรัชญาแห่งรัฐของ[[อินโดนีเซีย]] คือ
'''ปัญจศีล''' ([[ภาษาอินโดนีเซีย]]:Pancasila) เป็นคำที่มาจาก[[ภาษาชวา]]โบราณที่รับมาจาก[[ภาษาสันสกฤต]] หมายถึงหลัก 5 ประการที่เป็นปรัชญาแห่งรัฐของ[[อินโดนีเซีย]] คือ
* ความเชื่อในพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว (ภาษาอินโดนีเซีย:Ketuhanan Yang Maha Esa; ''เกอตูฮานัน ยัง มาฮา อีซา'') สัญลักษณ์เป็นรูปดาวบนพื้นดำ
* ความเชื่อในพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว (ภาษาอินโดนีเซีย:Ketuhanan Yang Maha Esa; ''เกอตูฮานัน ยัง มาฮา อีซา'') สัญลักษณ์เป็นรูปดาวบนพื้นดำ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:02, 3 มิถุนายน 2555

ตราปัญจศีลที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 ประการของปัญจศีล
ครุฑปัญจศีล สัญลักษณ์ในตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย

ปัญจศีล (ภาษาอินโดนีเซีย:Pancasila) เป็นคำที่มาจากภาษาชวาโบราณที่รับมาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงหลัก 5 ประการที่เป็นปรัชญาแห่งรัฐของอินโดนีเซีย คือ

  • ความเชื่อในพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว (ภาษาอินโดนีเซีย:Ketuhanan Yang Maha Esa; เกอตูฮานัน ยัง มาฮา อีซา) สัญลักษณ์เป็นรูปดาวบนพื้นดำ
  • มนุษยนิยม (ภาษาอินโดนีเซีย:Kemanusiaan Yang Adil dan Beradab; เกอมานูซียัน ยัง อาดิล ดัน เบอราดับ) สัญลักษณ์เป็นรูปโซ่บนพื้นแดง
  • ชาตินิยมแห่งความเป็นอินโดนีเซีย (ภาษาอินโดนีเซีย:Persatuan Indonesia; เปอร์ซาตวน อินโดนีเซีย) สัญลักษณ์เป็นรูปต้นบันยังซึ่งเป็นมะเดื่อพื้นเมืองชนิดหนึ่ง
  • หลักการแห่งประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยของปวงชน (ภาษาอินโดนีเซีย:Kerakyatan Yang Dipimpin oleh Hikmat Kebijaksanaan, Dalam Permusyawaratan dan Perwakilan; เกอรักยาตัน ยัง ดีปิมปิน โอเละห์ ฮิกมัต เกอบียักซานาอัน ดาลัม เปอร์มูชาวาราตัน ดัน เปอร์วากีลัน)สัญลักษณ์เป็นรูปหัวควาย
  • ความยุติธรรมในสังคมสำหรับชาวอินโดนีเซียทั้งหมดโดยเท่าเทียมกัน (ภาษาอินโดนีเซีย:Keadilan Sosial bagi seluruh Rakyat Indonesia; เกออาดีลัน โซเซียล บาฆี เซอลูรุห์ รักยัต อินโดนีเซีย)สัญลักษณ์เป็นรูปรวงข้าวและดอกฝ้าย

หลักการนี้กำหนดโดยซูการ์โน ในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ต่อคณะกรรมการสืบสวนเพื่อความเป็นเอกราช[1] หลักปัญจศีลนี้ได้ถุกรวมเข้ากับรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐเมื่อ พ.ศ. 2521 โดยก่อนหน้านี้จะกล่าวถึงในรัฐธรรมนูญเพียงกว้างๆ ต่อมา ใน พ.ศ. 2528 ทุกองค์กรและพรรคการเมืองถูกบังคับให้รับหลักปัญจศีลเป็นอุดมการณ์เดียว ทั้งนี้ ซูฮาร์โตได้เรียกประชาธิปไตยของอินโดนีเซียว่าประชาธิปไตยแบบปัญจศีล แต่การนำหลักปัญจศีลมาตีความของซูฮาร์โต ทำให้หลักปัญจศีลหมดความน่าเชื่อถือก่อนที่ซูฮาร์โตจะหมดอำนาจใน พ.ศ. 2541 แต่ยังเป็นปรัชญาแห่งรัฐของอินโดนีเซียจนถึงปัจจุบัน

กลุ่มมุสลิมอนุรักษ์นิยมไม่เห็นด้วยกับหลักปัญจศีลเพราะเห็นว่าเป็นการนำสิ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์มายกย่องให้สูงกว่าอัลกุรอ่าน เช่นกลุ่มเจไอ และดารุลอิสลาม[2]ซึ่งต้องการให้อินโดนีเซียเป็นรัฐอิสลามจึงไม่เห็นด้วยกับหลักปัญจศีล ใน พ.ศ. 2491 เกิดความรุนแรงต่อต้านหลักการของสาธารณรัฐใหม่จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก[3]

อ้างอิง

  1. Smith, Roger M (ed) (1974). Southeast Asia. Documents of Political Development and Change. Ithaca and London. pp. 174–183. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  2. International Crisis Group (2005) RECYCLING MILITANTS IN INDONESIA:DARUL ISLAM AND THE AUSTRALIAN EMBASSY BOMBING, Asia Report N°92
  3. Paul, Anthony, "Enduring the Other's Other", The Straits Times, 2003-12-04

แหล่งข้อมูลอื่น