ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คริสตจักรแห่งอังกฤษ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แปลเพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34: บรรทัด 34:


[[ang:Angelcirice]]
[[ang:Angelcirice]]
[[ar:أنجليكانية]]
[[az:Anqlikan kilsəsi]]
[[az:Anqlikan kilsəsi]]
[[bg:Англиканска църква]]
[[bg:Англиканска църква]]
[[br:Iliz Bro-Saoz]]
[[br:Iliz Bro-Saoz]]
[[ca:Església d'Anglaterra]]
[[cs:Anglikánská církev]]
[[cs:Anglikánská církev]]
[[cy:Eglwys Loegr]]
[[cy:Eglwys Loegr]]
บรรทัด 49: บรรทัด 51:
[[fi:Englannin kirkko]]
[[fi:Englannin kirkko]]
[[fr:Église d'Angleterre]]
[[fr:Église d'Angleterre]]
[[ga:Eaglais Shasana]]
[[he:הכנסייה האנגליקנית]]
[[he:הכנסייה האנגליקנית]]
[[hr:Engleska crkva]]
[[hr:Engleska crkva]]
บรรทัด 62: บรรทัด 65:
[[ms:Mazhab Gereja England]]
[[ms:Mazhab Gereja England]]
[[nl:Anglicaanse Kerk]]
[[nl:Anglicaanse Kerk]]
[[nn:Den engelske kyrkja]]
[[no:Den engelske kirke]]
[[no:Den engelske kirke]]
[[nrm:Églyise d'Angliétèrre]]
[[nrm:Églyise d'Angliétèrre]]
บรรทัด 70: บรรทัด 74:
[[ru:Церковь Англии]]
[[ru:Церковь Англии]]
[[scn:Chiesa Anglicana]]
[[scn:Chiesa Anglicana]]
[[sh:Anglikanska crkva]]
[[sh:Crkva Engleske]]
[[simple:Church of England]]
[[simple:Church of England]]
[[sk:Church of England]]
[[sk:Church of England]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:25, 1 มิถุนายน 2555

ภาคแคนเทอร์เบอรี (สีเหลือง) และภาคยอร์ก (สีชมพู)

คริสตจักรแห่งอังกฤษ[1] (อังกฤษ: Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ[2] ของอังกฤษและเวลส์[1] และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก

ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยอภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. 1534 แล้วออกพระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนาซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ แต่พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษก็ทรงนำคริสตจักรแห่งอังกฤษกลับไปรวมกับคริสตจักรคาทอลิกอีกในปี ค.ศ. 1555 จนกระทั่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษให้รัฐสภาออกพระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา ค.ศ. 1558 ปฏิเสธอำนาจของพระสันตะปาปาในคริสตจักรแห่งอังกฤษอีก ทั้งฝ่ายคาทอลิกและฝ่ายปฏิรูปต่างพยายามรูปแบบหลักความเชื่อและพิธีกรรมให้เป็นไปตามแบบของตนตลอดมา จนความขัดแย้งมาสิ้นสุดเมื่อมีข้อตกลงเอลิซาเบธันโดยกำหนดว่าคริสตจักรแห่งอังกฤษเป็นทั้งแบบคาทอลิกและปฏิรูป[3]

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาและการเมืองขึ้นอีก ทำให้ฝ่ายพิวริตันและเพรสไบทีเรียนได้ขึ้นมามีอำนาจในคริสตจักร แต่ก็หมดอำนาจไปเมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษได้คืนสู่ราชบัลลังก์ ปัจจุบันในคริสตจักรมีแนวความเชื่ออยู่หลายแบบ แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือกลุ่มแองโกล-คาทอลิกและกลุ่มอีแวนเจลิคัล ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขัดแย้งกันมาตั้งแต่การปฏิรูปช่วงแรก นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งใหม่เกิดขึ้นอีกในปัจจุบันระหว่างฝ่ายอนุรักษนิยมกับฝ่ายพิพัฒนาการนิยมอันเนื่องมาจากประเด็นการบวชสตรีและทัศนะต่อคนรักร่วมเพศ ทั้งนี้คริสตจักรแห่งอังกฤษได้บวชสตรีเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994 และปัจจุบันอยู่ระหว่างผลักดันให้มีการอภิเษกบิชอปหญิง

คริสตจักรแห่งอังกฤษแบ่งเขตปกครองออกเป็นเขตแพริช หลายเขตแพริชรวมกันเป็นมุขมณฑลซึ่งมีบิชอปเป็นประมุข อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีคือไพรเมตแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษทั้งหมด และเป็นศูนย์กลางเพื่อเอกภาพของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก เจเนอรัลซิโนดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษเป็นที่ประชุมของคริสตจักรและบรรดาบิชอป เคลอจี และฆราวาส มีอำนาจในการออกนโยบายต่าง ๆ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรในขั้นสุดท้าย

ภาคคริสตจักร

คริสตจักรแห่งอังกฤษแบ่งการปกครองออกเป็นสองภาคคริสตจักร คือภาคแคนเทอร์เบอรีและภาคยอร์ก แต่ละภาคมีอาร์ชบิชอปเป็นประมุข ภาคคริสตจักรประกอบด้วยหลายมุขมณฑลซึ่งมีบิชอปเป็นประมุข

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5
  2. "The History of the Church of England". The Archbishops' Council of the Church of England. สืบค้นเมื่อ 2006-05-24. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |1= (help)
  3. http://www.cofe.anglican.org/faith/anglican/
  4. http://www.cofe.anglican.org/about/churchlawlegis/canons/church.pdf

ดูเพิ่ม