ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดมังกรกมลาวาส"

พิกัด: 13°44′36″N 100°30′34″E / 13.743247°N 100.509434°E / 13.743247; 100.509434
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{[ขาดกล่องข้อมูล}}

[[ไฟล์:วัดมังกรกมลาวาส.jpg|thumb|250px|วัดมังกรกมลาวาส]]
[[ไฟล์:วัดมังกรกมลาวาส.jpg|thumb|250px|วัดมังกรกมลาวาส]]
'''วัดมังกรกมลาวาส''' หรือ '''วัดเล่งเน่ยยี่''' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|ตัวเต็ม]]: 龍蓮寺, [[อักษรจีนตัวย่อ|ตัวย่อ]]: 龙莲寺, [[พินอิน]]: Lóng lián sì ''หลงเหลียนซื่อ'', [[หมิ่นหนาน|ฮกเกี้ยน]]: เล้งเหลียนซี่, [[สำเนียงแต้จิ๋ว]]: เล่งเน่ยยี่) เป็น[[วัดจีน]]สังกัด[[คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย]] ตั้งอยู่บน[[ถนนเจริญกรุง]] ระหว่าง ซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ใน[[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากต่างประเทศ
'''วัดมังกรกมลาวาส''' หรือ '''วัดเล่งเน่ยยี่''' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|ตัวเต็ม]]: 龍蓮寺, [[อักษรจีนตัวย่อ|ตัวย่อ]]: 龙莲寺, [[พินอิน]]: Lóng lián sì ''หลงเหลียนซื่อ'', [[หมิ่นหนาน|ฮกเกี้ยน]]: เล้งเหลียนซี่, [[สำเนียงแต้จิ๋ว]]: เล่งเน่ยยี่) เป็น[[วัดจีน]]สังกัด[[คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย]] ตั้งอยู่บน[[ถนนเจริญกรุง]] ระหว่าง ซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ใน[[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากต่างประเทศ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:28, 25 พฤษภาคม 2555

{[ขาดกล่องข้อมูล}}

ไฟล์:วัดมังกรกมลาวาส.jpg
วัดมังกรกมลาวาส

วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ (ตัวเต็ม: 龍蓮寺, ตัวย่อ: 龙莲寺, พินอิน: Lóng lián sì หลงเหลียนซื่อ, ฮกเกี้ยน: เล้งเหลียนซี่, สำเนียงแต้จิ๋ว: เล่งเน่ยยี่) เป็นวัดจีนสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่าง ซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากต่างประเทศ

วัดนี้ บางคนเรียกว่า "วัดมังกร" เพราะคำว่า "เล่ง" หรือ "เล้ง" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่ามังกร (คำว่า “เน่ย” แปลว่า ดอกบัวและคำว่า “ยี่” แปลว่า วัด) ชื่อวัดอย่างเป็นทางการคือ "วัดมังกรกมลาวาส" พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

วัดนี้ก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2414 ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปีกว่าจะแล้วเสร็จ มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบทางจีนตอนใต้ของสกุลช่างแต้จิ๋ว โดยวางแปลนตามแบบวัดหลวง คือ มีวิหารท้าวจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก ตรงกลางเป็นพระอุโบสถ ข้างหลังพระอุโบสถเป็นวิหารเทพเจ้า การสร้างใช้ไม้และอิฐเป็นวัสดุสำคัญ

จากประตูทางเข้า เข้าไปจะถึงวิหารท้าวจตุโลกบาล จะเห็นเทพเจ้า 4 องค์ (ข้างละ 2 องค์) ในชุดนักรบจีนและถืออาวุธและสิ่งของต่างๆ กัน เช่นพิณ ดาบ ร่ม เจดีย์ ชาวจีนเรียกว่า เรียกว่า "ซี้ไต๋เทียงอ้วง" หมายถึงเทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษา คุ้มครอง ทิศต่างๆ ทั้ง 4 ทิศ ถัดจากวิหารท้าวจตุโลกบาล คือ อุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานของวัด คือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระอมิตาภพุทธเจ้า พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ทั้งหมด 3 องค์ หรือ "ซำป้อหุกโจ้ว" พร้อมพระอรหันต์ อีก 18 องค์ หรือที่เรียกว่า "จับโป๊ยหล่อหั่ง"

ทางด้านขวามีเทพเจ้าต่าง ๆ หลายองค์ เช่น เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา หรือ "ไท้ส่วย เอี๊ยะ" เทพเจ้าแห่งยาหรือหมอเทวดา "หั่วท้อเซียงซือกง" และที่นิยมไหว้ขอพรมากคือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ "ไฉ่ซิ้งเอี๊ยะ" เทพเจ้าเฮ่งเจีย หรือ "ไต่เสี่ยหุกโจ้ว" พระเมตไตรยโพธิสัตว์หรือ "ปู๊กุ่ยหุกโจ้ว"ซึ่งคล้ายกับพระสังกัจจายน์ "กวนอิมผู่สัก" หรือ พระโพธิสัตว์กวนอิม "แป๊ะกง" และ "แป๊ะม่า" รวมเทพเจ้าในวัด จะมีทั้งหมด 58 องค์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′36″N 100°30′34″E / 13.743247°N 100.509434°E / 13.743247; 100.509434