ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{ผู้นำประเทศ
{{ผู้นำประเทศ
| name = ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
| name = ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
| image = Piyasawat Amaranand.jpg|180px
| image = Piyasvasti A.jpg|180px
| order = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน]]
| order = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน]]
| term_start = [[9 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
| term_start = [[9 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2549]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:21, 24 พฤษภาคม 2555

ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
ไฟล์:Piyasvasti A.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้านายวิเศษ จูภิบาล
ถัดไปพลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางอานิก อัมระนันทน์

ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 - ) กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) คนปัจจุบัน เป็นนักวิชาการด้านพลังงาน เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองเกี่ยวกับพลังงานมามากมาย ทั้งยังได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ [1]

ประวัติ

ดร. ปิยสวัสดิ์ เป็นบุตรชายคนโตของ นายปรก อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตฯ กับ หม่อมราชวงศ์ปิ่มสาย (สวัสดิวัตน์) อัมระนันทน์ เป็นหลานตาของ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์

ดร. ปิยสวัสดิ์ สมรสกับ นางอานิก อัมระนันทน์ (สกุลเดิม "วิเชียรเจริญ" เป็นบุตรสาวของ ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ และ แม่ชีคุณหญิงกนิษฐา วิเชียรเจริญ) อดีตผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการเงิน บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกัน 2 คนคือ ปีย์ อัมระนันทน์ และ อนุตร์ อัมระนันทน์ ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นางอานิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 6 (กรุงเทพ) ลำดับที่ 6 ของ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ได้รับการเลื่อนขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายหลัง

การศึกษา

การทำงาน

ดร. ปิยสวัสดิ์ เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2523 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 4 กองวางแผนเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จนได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และประมาณการเศรษฐกิจ เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2535 และได้โอนและเลื่อนระดับตำแหน่งเป็น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในปีเดียวกัน นายปิยสวัสดิ์ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2537 และอยู่ในตำแหน่งรวม 6 ปี ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543

ดร. ปิยสวัสดิ์ มีแนวคิดเห็นด้วยกับการเปิดเสรีด้านพลังงาน และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ด้วยความขัดแย้งกับนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีกำกับดูแลด้านพลังงานในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้า และนโยบายการแปรรูปปตท. และกฟผ. จึงลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2545 เพื่อไปดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย

ผู้บริหารการบินไทย

พ.ศ. 2552 ดร. ปิยสวัสดิ์ ได้ลาออกจากบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย เพื่อสมัครคัดเลือกเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จนกระทั่งต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งช่วงเวลาที่เขาเข้ามาบริหารการบินไทยนั้น เป็นช่วงเวลาที่การบินไทยกำลังเผชิญกับภาวะขาดทุนสะสม และมีสถานะทางการเงินที่ลำบาก ดร. ปิยสวัสดิ์ จึงได้ดำเนินนโยบายลดค่าใช้จ่าย ปรับลดเงินเดือนพนักงาน ปลดพนักาน ตัดงบประมาณส่วนที่ไม่จำเป็นของบริษัทออกอย่างมหาศาล และปรับปรุงภาพลักษณ์ของบริษัทให้ดีขึ้น จนทำให้ในปี พ.ศ. 2552 การบินไทยสามารถทำกำไรได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี และทำกำไรเพิ่มขึ้นในปีต่อมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2554 การบินไทยได้รับการจัดอันดับจากสกายแทรกซ์ ให้เป็นสายการบินอันดับ 5 ของโลก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่การบินไทยติด 1 ใน 5 สายการบินที่ดีที่สุด แม้ว่าจะช่วยทำให้สถานะของการบินไทยดีขึ้น แต่จากนโยบายของเขา ได้สร้างความไม่พอใจให้กับพนักงานการบินไทยจำนวนมาก

พ.ศ. 2555 วันที่ 21 พฤษภาคม คณะกรรมการบริหารบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ ได้มีมติเลิกจ้างดร. ปิยสวัสดิ์ จากการเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย โดยอ้างเหตุผลว่า เนื่องจาก ดร. ปิยสวัสดิ์มีปัญหาเรื่องการสื่อสารและกับคณะกรรมการบริษัทฯ จากเหตุการณ์นี้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาในทันทีจากวงสังคม ถึงเหตุผลในการปลด ดร. ปิยสวัสดิื เพราะเหตุผลของคณะกรรมการบริษัทนั้นไม่มีความชัดเจนพอ และมีการตั้งข้อสงใสว่าอาจจะมีเรื่องของผลประโยชน์และการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามจากการเลิกจ้างครั้งนี้ การบินไทยต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับ ดร. ปิยสวัสดิื เป็นจำนวนเงินกว่า 5.4 ล้านบาท

อิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

ก่อนหน้า ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ถัดไป
นายวิเศษ จูภิบาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม.56)
(8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ