ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แมงอีนูน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: vep:Böbörii
LaaknorBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: da:Oldenborre
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
[[br:C'hwil-derv]]
[[br:C'hwil-derv]]
[[cs:Chroust obecný]]
[[cs:Chroust obecný]]
[[da:Oldenborre]]
[[de:Feldmaikäfer]]
[[de:Feldmaikäfer]]
[[en:Cockchafer]]
[[en:Cockchafer]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:58, 18 พฤษภาคม 2555

แมงอีนูน
แมงอีนูน
การรับประทานแมงอีนูน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Coleoptera
วงศ์: Scarabaeidae
วงศ์ย่อย: Melolonthinae
MacLeay, 1819
สกุล: Melolontha
สปีชีส์: M.  melolontha
ชื่อทวินาม
Melolontha melolontha
(Linnaeus, 1758)

แมงอีนูน หรือ แมงกีนูน หรือ แมงนูน หรือ กุดกีนูน (อีสาน) หรือ แมงนูนหลวง (อังกฤษ: Cockchafer) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melolontha melolontha อยู่ในวงศ์ Scarabaeidae

มีรูปร่างอ้วนป้อมเป็นรูปไข่ หัวมันเรียบ มีหนวดแบบใบไม้ 1 คู่ที่ปาก ปากเป็นแบบปากกัด ตามีขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัด ที่อกปล้องแรกเห็นชัดกว่าปล้องอื่น ๆ ปีกมี 2 คู่ คู่หน้ามีลักษณะแข็งเรียบเป็นมันมีหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มตัว ส่วนปีกคู่ที่สองนั้นบางใส ใช้สำหรับบิน ส่วนท้องอยู่ด้านล่างมีปีกที่แข็งคลุม หัว อกและขามีสีน้ำตาลไปจนถึงสีดำ ปีกที่แข็งมีสีน้ำตาลอ่อน ขนาดลำตัวยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร

แมงอีนูน จัดเป็นแมลงศัตรูพืช เพราะกัดแทะใบของพืชที่เป็นพืชเศรษฐกิจ อาทิ มะขามเทศ, มะขาม, อ้อย, มันสำปะหลัง, พุทรา แมงอีนูนมีวงจรชีวิตเป็นหนอนอยู่ใต้ดินนานนับปี ก่อนจะเข้าสู่ระยะดักแด้และเป็นตัวเต็มวัยในช่วงต้นฤดูฝนของทุกปี ซึ่งจะพบแมงอีนูนเป็นจำนวนมากในเวลานี้

แมงอีนูนจัดเป็นอาหารรับประทานในวิถีชีวิตของชาวเหนือและชาวอีสาน อีกทั้งยังเป็นการกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยการจับแมงอีนูนจะกระทำในช่วงหัวค่ำ ใช้แสงไฟจากนีออนเป็นตัวล่อ หรือเขย่าจากต้นไม้ที่มีแมงอีนูนจำนวนอาศัยอยู่ก็จะหล่นลงมาให้จับได้ง่าย ๆ ซึ่งการปรุงแมงอีนูนทำได้ทั้งวิธีการต้มและทอด ในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดกำแพงเพชร มีการค้าขายกันเป็นล่ำเป็นสันด้วย[1][2]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA