ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดดุสิดาราม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tom02 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tom02 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
[[หมวดหมู่:อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา|ดวัดดุสิดาราม]]
[[หมวดหมู่:วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา|ดวัดดุสิดาราม]]
{{อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:12, 17 พฤษภาคม 2555

วัดดุสิดารามตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 3058 ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดมีเนื้อที่ประมาณ ๙ ไร่ ปัจจุบันมีพระภิกษุจำพรรษา สังกัดคณะมหานิกาย

ประวัติ

ประวัติการสร้างวัดดุสิดารามว่า สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๐๐ และรับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๐ [1] หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า ตอนที่กล่าวถึงพระอารามหลวงในกรุงศรีอยุธยา ระบุชื่อวัดแห่งหนึ่งว่า วัดดุสิตมหาพระนเรศวรทรงสร้าง[2]สันนิษฐานว่า หมายถึงวัดดุสิดาราม ในพิธีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒสัตยา(ไม่ปรากฎพ.ศ.)[3] พระนารถอยู่วัดดุสิตาราม เป็นพระราชาคณะรูปหนึ่ง จากทั้งหมด ๑๗ รูป ๑๗ วัด ในกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา


เจ้าแม่วัดดุสิต ขัตติยะนารีพระบรมราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี สตรีผู้สูงศักดิ์แห่งราชสำนักสยาม รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอนหลังได้เป็นท้าวสมศักดิ์มหาธาตรี[4] หม่อมเจ้าหญิงบัว(ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเจ้าแม่วัดดุสิตสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด )นั้นแต่เดิมอาศัยอยู่ใกล้วัดดุสิต ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองดุสิตตรงส่วนที่ต่อกับคลองปากข้าวสาร ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชทานสร้างวังมีตำหนักตึกที่ริมวัดดุสิดารามถวายพระองค์เจ้าพระนมนางจึงได้เรียกกันมาว่า เจ้าแม่วัดดุสิต

เจ้าแม่วัดดุสิตมีบุตร 3 คน บุตรชายคนโตชื่อ เหล็ก ภายหลังก็คือเจ้าพระยาโกษาเหล็ก บุตรคนที่สองเป็นหญิงชื่อ แช่ม ต่อมาเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ บุตรคนที่สามเป็นชายชื่อ ปาน ต่อมาก็คือออกพระวิสูตรสุนทร หรือเจ้าพระยาโกษาปาน

โบราณสถานสำคัญ

เจดีย์ประธาน วัดนี้มีเจดีย์สูงใหญ่เป็นโบราณสถานสำคัญของวัด มีลักษณะเช่นเดียวกับเจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคลแต่มีขนาดเล็กกว่า[5]เจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง การบูรณะซ่อมแซมในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ มีบันไดทางขึ้นลง โดยรอบมีเจดีย์บริวารที่มุมมุมทั้งสี่ ส่วนล่างของเจดีย์เป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมลดหลั่นขึ้นไปรองรับมาลัยเถา ด้านบนเป็นองค์ระฆัง ทรงเรียว ถดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุมไม้สิบสอง รองรับเสาหานที่ล้อมรอบก้านฉัตร ถัดขึ้นไปเป็นปล้องไฉนและปลียอด ด้านหน้าเจดีย์ประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปหินทราย

พระอุโบสถ อุโบสถในสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานอุโบสถแอ่นเป็นท้องสำเภา ด้านหน้ามีพาไลและหลังคามีประตูทางเข้าด้านหน้าสองข้าง ด้านข้างเจาะหน้าต่างข้างละบาน มีเสาประดับผนังประดับกลีบบัว หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้ หน้าบันเป็นไม้แกะสลักลายกระหนก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยอยุธยา รอบพระอุโบสถเป็นที่ตั้งของใบเสมาหินทรายสีขาว สมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่บนฐานบัวปูนปั้น

พระวิหาร(ศาลา) ประดิษฐานสิ่งสำคัญคือ รอยพระพุทธบาทหินทรายสีขาว สมัยอยุธยาตอนปลาย(ไม่ปรากฎพ.ศ.ที่สร้าง)และใบเสมาหินทรายแดง

รอยพระพุทธบาท สร้างด้วยหินทรายสีขาว ขนาดยาวประมาณหนึ่งเมตร กว้างประมาณครึ่งเมตร ตรงกลางรอยพระพุทธบาทเป็นรูปธรรมจักร นอกธรรมจักรทำเป็นตารางสี่เหลี่ยม ภายในสลักภาพมงคล เป็นลักษณะการสร้างรอยพระพุทธบาทในสมัยอยุธยาตอนปลาย รูปแบบคล้ายๆ กับรอยพระพุทธบาทที่สมเด็จพรเจ้าอยู่หัวบรมโกศส่งไปถวายกษัตริย์ลังกา [6] รอยพระพุทธบาทได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดดุสิดารามมาแต่เดิม ชาวบ้านพบอยู่ในแอ่งน้ำในบริเวณใกล้วัด จึงนำมาไว้ที่วัดนี้เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๘ หรือ ๒๕๐๙

สันนิษฐานว่ารอยพระพุทธบาทที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ว่า [7]ประดิษฐานอยู่ที่วัดสมณโกฏฐารามนั้น อาจจะคือรอยพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานที่วัดดุสิดารามในปัจจุบัน

เสมาหินทราย อยู่ทางด้านหน้าศาลา ใบเสมาตั้งอยู่บนฐานสูง (พระเฉลิม ฐิตสังวโร) บอกว่าได้มาจากบริเวณใกล้ๆ วัด จากรูปแบบและลวดลายมีผู้สันนิษฐานว่า เป็นใบเสมาสมัยอโยธยา ซึ่งยังไม่เป็นข้อสรุป[8]

อ้างอิง

  1. กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔. ๒๕๒๘. หน้า ๑๑๕.
  2. กรมศิลปากร. คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. ๒๕๐๗. หน้า ๒๑๖.
  3. คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  4. http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/490/32/
  5. น. ณ ปากน้ำ “วัดนอกตัวเกาะอยุธยา” ช่อฟ้า. ปีที่ ๑ เล่ม ๗ มิถุนายน ๒๕๐๙ หน้า ๒๔.
  6. นันทนา ชุติวงศ์. รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์. ๒๕๓๓. หน้า ๕๔.
  7. ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์. พระนคร : มงคลการพิมพ์,๒๕๐๘. (พิมพ์ในงานฌา ปนกิจศพ นายรวย ศยามานนท์ ๒๘ มกราคม ๒๕๐๘).
  8. นายธีระ แก้วประจันทร์