ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตลาดหลักทรัพย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: hr:Burza vrijednosnih papira
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: id:Bursa Efek
บรรทัด 135: บรรทัด 135:
[[hr:Burza vrijednosnih papira]]
[[hr:Burza vrijednosnih papira]]
[[hy:Ֆոնդային բորսա]]
[[hy:Ֆոնդային բորսա]]
[[id:Bursa efek]]
[[id:Bursa Efek]]
[[it:Borsa valori]]
[[it:Borsa valori]]
[[ja:証券取引所]]
[[ja:証券取引所]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:47, 14 พฤษภาคม 2555

ตลาดหลักทรัพย์ หรือ ตลาดหุ้น เป็นสถานที่สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ระยะยาว ของ บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งถือว่าเป็นตลาดรอง (Secondary Market) ทั้งนี้เนื่องจากจะทำการซื้อขายเฉพาะหลักทรัพย์ที่ได้ออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนโดยทั่วไปแล้วเท่านั้น หลักทรัพย์ระยะยาว จะประกอบไปด้วยตราสารหนี้ และตราสารทุนซึ่งประกอบไปด้วย หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิแบบต่าง ๆ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หุ้นกู้ และ หน่วยลงทุน เป็นต้น โดยเรียกว่าเป็นประเภทของตราสารเพื่อการลงทุนตลาดหลักทรัพย์มีอยู่แทบทุกประเทศทั่วโลก

ดัชนีราคาหุ้น

ประชาชนโดยทั่วไป จะรู้จักตลาดหลักทรัพย์ของประเทศต่าง ๆ ผ่านทางชื่อดัชนีราคาหุ้น (Price Index) ของตลาดหลักทรัพย์นั้น ๆ มากกว่าชื่อของตลาดหลักทรัพย์ ตัวอย่างดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นที่รู้จัก เช่น

ประเทศ ตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีราคาหุ้น
สหรัฐอเมริกา ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ดาวโจนส์
สหรัฐอเมริกา ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) เอสแอนด์พี 500
สหรัฐอเมริกา แนสแด็ก (NASDAQ) แนสแด็ก
อังกฤษ ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ฟุตซี่
สิงคโปร์ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ สเตรทไทมส์
ญี่ปุ่น ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว นิกเคอิ
จีน ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ เซี่ยงไฮ้คอมโพสิต
ฮ่องกง ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ฮั่งเส็ง
ไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET
ไทย ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ MAI

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก หรือ New York Stock Exchange ถือไว้ว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่เก่าแก่ที่สุด[1] และดัชนีดาวโจนส์ ถือว่าเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่เก่าแก่ที่สุด ตลาดหลักทรัพย์ลาว[2] เป็นตลาดหลักทรัพย์ล่าสุด(เปิด10-10-10)เปิดทำการจริง 11-01-11 ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกจะนิยมใช้การคิดดัชนีราคาหลักทรัพย์ตามแบบ เอสแอนด์พี S&P ซึ่งคิดค้นโดยบริษัท สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ จำกัด เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากจะสามารถสะท้อนถึงปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดได้ดีกว่าทั้งในด้านปริมาณของธุรกรรม และด้านราคาของหลักทรัพย์

มูลค่าตลาด

30 อันดับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด

  1. Exxon Mobil (แอกซ่อน โมบิล) 388,859,637,370
  2. General Electric (จีอี) 368,648,614,000
  3. Microsoft (ไมโครซอฟท์) 272,878,675,566
  4. Gazprom 250,132,759,200
  5. Citigroup (ธนาคารซิตี้แบงค์) 247,644,960,000
  6. Bank of America 246,253,076,390
  7. Royal Dutch Shell 219,640,875,000
  8. BP 212,327,784,000
  9. Pfizer (ไฟเซอร์) 207,151,515,000
  10. Wal-Mart Stores (วอล์มาร์ท) 206,200,322,720
  11. HSBC Holdings 204,521,208,000
  12. Procter & Gamble (พีแอนด์จี) 197,808,730,000
  13. Johnson & Johnson 191,594,050,000
  14. PetroChina 187,881,490,000
  15. Toyota Motor (โตโยต้า) 179,968,527,000
  16. American International Group (เอไอเอ หรือ เอไอจี) 173,313,972,000
  17. JPMorgan Chase 165,764,125,000
  18. Altria Groups 158,352,340,000
  19. GlaxoSmithKline 155,432,960,000
  20. Total SA 155,411,841,000
  21. Roche Holding 151,379,753,850
  22. Berkshire Hathaway 150,303,366,000
  23. Vodafone Group (บริษัทเครือข่ายมือถือรายใหญ่ในยุโรป) 145,192,590,000
  24. China Mobile 143,840,856,000
  25. Cisco Systems 142,098,700,000
  26. Chevron 138,342,120,000
  27. Novartis AG 137,499,012,000
  28. Nestle (เนสเลท์) 135,251,120,000
  29. Mitsubishi UFJ Financial Group 127,881,468,000
  30. AT&T (บริษัทโทรศัพท์พื้นฐานของอเมริกา) 126,430,710,000

หน่วย $ ในวันที่ 05/10/2549

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น