ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าอินทวิชยานนท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Yell (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| ราชสมภพ =
| ราชสมภพ =
| วันพิราลัย= [[23 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2440]]
| วันพิราลัย= [[23 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2440]]
| พระอิสริยยศ = เจ้านครเชียงใหม่
| พระอิสริยยศ = พระเจ้านครเชียงใหม่
| พระบิดา = เจ้าราชวงศ์ มหาพรหมคำคง ณ เชียงใหม่
| พระบิดา = เจ้าราชวงศ์ มหาพรหมคำคง ณ เชียงใหม่
| พระมารดา= แม่เจ้าคำหล้า
| พระมารดา= แม่เจ้าคำหล้า
บรรทัด 92: บรรทัด 92:


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
* [[ไฟล์:Order of the Royal House of Chakri (Thailand) ribbon.JPG|80px]] [[เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์]] (ม.จ.ก.)<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/034/367.PDF ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์], เล่ม ๑๐, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๑๘๙๓, หน้า ๓๖๗ </ref>
* [[ไฟล์:Order of the Royal House of Chakri (Thailand) ribbon.JPG|80px]] [[เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์]] (ม.จ.ก.)<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/034/
* [[ไฟล์:Order of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]] ชั้น[[ปฐมจุลจอมเกล้า]] (ป.จ.)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/046/385_1.PDF บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ, เล่ม ๓, ตอน ๔๖, ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๙, หน้า ๓๘๕]</ref>
* [[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - 1st Class (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย|เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม]] ชั้น มหาสุราภรณ์

==ราชตระกูล==
{{ahnentafel top|width=100%}}
<center>{{ahnentafel-compact5
|style=font-size: 90%; line-height: 110%;
|border=1
|boxstyle=padding-top: 0; padding-bottom: 0;
|boxstyle_1=background-color: #fcc;
|boxstyle_2=background-color: #fb9;
|boxstyle_3=background-color: #ffc;
|boxstyle_4=background-color: #bfc;
|boxstyle_5=background-color: #9fe;
|1= 1. '''พระเจ้าอินทวิชยานนท์'''
|2= 2. เจ้าราชวงศ์ มหาพรหมคำคง
|3= 3. แม่เจ้าคำหล้า
|4= 4. [[เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น]]
|5= 5. แม่เจ้าเนตรนารีไวยตาเวยมหาเทวี
|6=
|7=
|8= 8. [[เจ้าฟ้าชายแก้ว สิงหราชธานี]]
|9= 9. แม่เจ้าจันทาราชเทวี
|10= 10. เจ้าฟ้าเมืองยางแดง
|11=
|12=
|13=
|14=
|15=
|16=[[ พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม]]
|17= แม่เจ้าพิมพามหาเทวี
|18=
|19=
|20=
|22=
|23=
|24=
|25=
|26=
|27=
|28=
|29=
}}</center>
{{ahnentafel bottom}}

== อ้างอิง ==
* ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. '''เพ็ชร์ล้านนา'''. (ครั้งที่ ๒) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, ๒๕๓๘.
* สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. '''ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) '''. เชียงใหม่: มิ่งเมือง, ๒๕๔๐.
* ศักดิ์ รัตนชัย. '''พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) '''.
* เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. '''เจ้าหลวงเชียงใหม่'''. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.
* คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. '''ครบรอบ ๑๐๐ ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช ๒๓๘๗ - ๒๔๕๖'''. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., ๒๕๔๖
* นงเยาว์ กาญจนจารี. '''ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี'''. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๓๙.
* คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. '''เจ้านายฝ่ายเหนือ'''. [http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html]
{{รายการอ้างอิง}}

{{เริ่มกล่อง}}
{{สืบตำแหน่ง
| ก่อนหน้า = [[พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์]]
| ตำแหน่ง = [[เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่]]
| ราชวงศ์ = ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
| ปี = [[พ.ศ. 2416]] - [[พ.ศ. 2440]]
| ถัดไป = [[เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์]]
}}
{{จบกล่อง}}

{{เจ้านครเชียงใหม่}}
{{ประสูติปี|}}
{{สิ้นพระชนม์ปี|2440}}

{{เรียงลำดับ|อินทวิชยานนท์}}
[[หมวดหมู่:เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่| ๗]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)]]

[[en:Inthawichayanon]]
[[ja:インタウィチャヤーノン]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:47, 28 เมษายน 2555

พระเจ้าอินทวิชยานนท์

พระเจ้าอินทวิชยานนท์
ไฟล์:King Intawichayanon.jpg
พระเจ้านครเชียงใหม่
ครองราชย์พ.ศ. 2416 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440
รัชสมัย24 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
รัชกาลถัดไปเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์
พิราลัย23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440
พระบุตร11 พระองค์
ราชวงศ์ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
พระบิดาเจ้าราชวงศ์ มหาพรหมคำคง ณ เชียงใหม่
พระมารดาแม่เจ้าคำหล้า

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (? - พ.ศ. 2440 ขึ้นครองนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2440) ทรงเป็นพระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าเมืองประเทศราชองค์สุดท้าย ที่ทรงครองพระราชอำนาจเหนือล้านนาอย่างแท้จริง เพราะใน 2 รัชสมัยต่อมา พระราชอำนาจในฐานะเจ้าผู้ครองนครได้ถูกลดลง และได้ถูกยกเลิกในที่สุดเมื่อครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 นับจากพลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 พระราชโอรสได้เสด็จถึงพิราลัย

ด้วยความจงรักภักดีที่ทรงถวายต่อ พระบรมราชวงศ์จักรี อย่างไม่สั่นคลอน กอปรกับทรงเป็นพระราชบิดาในพระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระราชชายาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ซึ่งนับว่าเป็นการถวายพระเกียรตินับเนื่องเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ในพระบรมราชวงศ์จักรี และพระเจ้าเมืองประเทศราช เพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ ที่ได้รับพระราชทานและยกย่องพระเกียรติยศดังกล่าว

พระราชประวัติ

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ หรือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พหลเทพภักดี ศรีโยนางคราชวงศา มหาประเทศราชาธิบดี นพีสีนคราภิพงศ์ ดำรงพิพัฒน์ ชิยางคราชวงศา เจ้านครเชียงใหม่ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนถึงวันพระราชสมภพ ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าราชวงศ์ มหาพรหมคำคง ณ เชียงใหม่ เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ กับ แม่เจ้าคำหล้า และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 กับ แม่เจ้าเนตรนารีไวยตาเวยมหาเทวี ซึ่งเป็นพระราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง อันเป็นเมืองกะเหรี่ยงที่ร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรไม้ขอนสักจำนวนมหาศาล จนได้รับการยกย่องว่าเป็นเศรษฐีนีป่าไม้ของพม่า (ผู้ได้รับกรรมสิทธิ์ครอบครองป่าไม้ในแถบขุนยวมทั้งหมด)

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีราชอนุชาและราชขนิษฐา ร่วมราชบิดา 16 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7
  • เจ้าอุปราช บุญทวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ - เจ้าปู่ใน "เจ้าหญิงพันธ์คำ (ณ เชียงใหม่) สุขุม" ภริยา "คุณประสาท สุขุม" บุตรใน "เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)"
  • เจ้าราชภาติกวงศ์ น้อยเทพวัง ณ เชียงใหม่ เจ้าราชภาติกวงศ์นครเชียงใหม่
  • เจ้าน้อยไชยลังกา ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหญิงฟองนวล ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหญิงดวงเทพ ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหญิงบุญฝ้าย ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหญิงคำทิพย์ ณ เชียงใหม่
  • เจ้าน้อยไชยวงศ์ ณ เชียงใหม่
  • เจ้าดวงทิพย์ ณ เชียงใหม่ - เจ้าปู่ใน "เจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่" "คุณหญิง เจ้าฉมชบา (ณ เชียงใหม่) วรรณรัตน์" "เจ้าวัฒนา (ณ เชียงใหม่) โชตนา"
  • เจ้าบุญสม ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหญิงบัวใส ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหญิงบัวเที่ยง ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหญิงกาบเมือง ณ เชียงใหม่
  • เจ้าน้อยอ๋อ ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหญิงแว่นคำ ณ เชียงใหม่
กู่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ บนยอดดอยอินทนนท์

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เสด็จขึ้นครองนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2416 จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 ด้วยโรคชรา[1] รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 24 ปี ภายหลังเสด็จพิราลัย พระอัฐิส่วนหนึ่งได้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปพระอัฐิใน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ วัดสวนดอกวรมหาวิหาร และอีกส่วนหนึ่งอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอด ดอยอินทนนท์ อันเป็นที่ซึ่งพระองค์ทรงรักและหวงแหนมากที่สุด และได้นามตามพระนามของพระองค์ด้วยนั่นเอง

ราชโอรส ราชธิดา

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีราชโอรสและราชธิดา รวม 11 พระองค์ซึ่งอยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ มีพระนาม ดังนี้

แม่เจ้าเทพไกรสรราชเทวี

ใน แม่เจ้าเทพไกรสรราชเทวี - ราชธิดาใน พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 และแม่เจ้าอุษาราชเทวี (มีราชธิดา 2)

แม่เจ้ารินคำ

ใน เจ้าหญิงรินคำเทวี - ราชธิดาใน "เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6" (มีราชโอรส 1)

แม่เจ้าเขียว

ใน หม่อมเขียว (มีราชโอรส 2)

เจ้าหญิงเทพ

ใน เจ้าหญิงเทพ - เจ้านายในราชตระกูล "ณ ลำปาง" (มีราชโอรส 2)

  • เจ้าน้อยโตน ณ เชียงใหม่
  • เจ้าแก้วปราบเมือง ณ เชียงใหม่

หม่อมช่างซอ

ใน หม่อมช่างซอ (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าน้อยมหาวัน ณ เชียงใหม่ - ราชโอรสองค์ใหญ่

หม่อมคำ

ใน หม่อมคำ (มีราชโอรส 1 ราชธิดา 1)

  • เจ้าราชวงศ์น้อยขัตติยะ ณ เชียงใหม่ เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ - เจ้าปู่ทวดใน "เจ้าวงศ์จันทร์ (ณ เชียงใหม่) คชเสนี" เจ้ามารดาใน "คุณหญิงวิจันทรา (คชเสนี) บุนนาค"
  • เจ้าหญิงคำข่าย ณ เชียงใหม่ - สมรสกับ "เจ้าน้อยมหาวงศ์ ณ เชียงใหม่" คหบดีแห่งบ้านสันทรายมหาวงศ์, โอรสใน "เจ้าหญิงฟองสมุทร" ราชธิดาใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1" และเป็นราชปนัดดา (หลาน-ปู่ทวด) ใน "เจ้าฟ้าจุฬามณีสิริเมฆ ภูมินทนรินทาเขมาธิบติราชา (เจ้าฟ้าชายสาม), เจ้าฟ้านครเชียงตุง องค์ที่ 1" ผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ "เม็งรายมหาราช"

หม่อมป้อม

ใน หม่อมป้อม (มีราชธิดา 1)

  • เจ้าหญิงคำห้าง ณ เชียงใหม่ - สมรสกับ "เจ้าราชภาคินัย น้อยสิงห์โต ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่"

เหตุการณ์ในรัชสมัย

ก่อนรัชสมัยของ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2411 มีมิชชันนารีศาสนาจารย์แมคกิลวารี และ ครอบครัวอพยพขึ้นมาศัยอยู่ที่นครเชียงใหม่ ตั้งจุดประกาศศาสนาโดยเริ่มจัดการศึกษาแบบตะวันตก โดยมี นางโซเฟีย รอยซ์ แมคกิลวารี ได้เริ่มให้มีการศึกษาสำหรับสตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418

ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 นางสาวแมรี แคมป์เบลล์ และ เอ็ดนา โคล ได้มาจัดระเบียบโรงเรียนสตรี บริเวณเชิงสะพานนวรัฐ จนกลายมาเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กชายนั้น ได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนเด็กชายวังสิงห์คำ" ขึ้นที่บริเวณที่เรียกว่า วังสิงห์คำ เมื่อ พ.ศ. 2431 โดยมีศาสนาจารย์ เดวิด จี.คอลลินส์ เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมาเป็นโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนดังกล่าวระยะแรกนั้น ใช้ภาษาอังกฤษและ ภาษาล้านนา ในการเรียนการสอน มีการพิมพ์ตำราด้วยอักษรธรรมล้านนา ในขณะที่ตัวหนังสือแป้นนั้นมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2379 แล้ว

ในช่วงเดียวกันนี้ บริษัททำป่าไม้ ซึ่งทยอยเข้ามาที่เมืองเชียงใหม่ เช่น บริษัทบริติชบอร์เนียว (British Borneo, เข้ามาในราว พ.ศ. 2407) บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (Bombay Burma, เข้ามาในราว พ.ศ. 2432) และ บริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest) เป็นต้น ได้นำเอาลูกจ้างชาวพม่า กะเหรี่ยง และชาวพื้นเมืองอื่นๆ เข้ามาทำงาน ดังนั้นจึงมีชาวอังกฤษและผู้ติดตามเข้ามาในล้านนามากขึ้น ทำให้เกิดการฟ้องศาลที่กรุงเทพฯ หลายคดี จากหลักฐานพบว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 - 2416 มีคดีความจำนวน 42 เรื่อง ตัดสินยกฟ้อง 31 คดี ส่วนอีก 11 คดีนั้นพบว่าเจ้านายทำผิดจริง จึงตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายรวม 466,015 รูปี หรือ 372,812 บาท เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ทรงขอชำระเพียงครึ่งเดียวก่อน ส่วนที่เหลือจะทรงชำระภายใน 6 เดือน แต่กงสุลอังกฤษไม่ยินยอม เรียกร้องให้เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ชำระทั้งหมด หรือมิฉะนั้นต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย ซึ่งราชสำนักกรุงเทพฯ ก็ไม่ยินยอมด้วยเช่นกัน ดังนั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จึงทรงจ่ายค่าเสียหาย 150,000 รูปี (120,000 บาท) โดยราชสำนักกรุงเทพฯ ให้ยืมเงิน 310,000 รูปี (248,000 บาท) โดยต้องชำระคืนภายใน 7 ปี พร้อมทั้งดอกเบี้ยในรูปไม้สัก 300 ท่อนต่อปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  1. ข่าวพระเจ้านครเชียงใหม่ถึงแก่พิลาไลย