ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองได้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vagobot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต ลบ: ru:Продуценты
Vagobot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: ru:Автотрофы
บรรทัด 52: บรรทัด 52:
[[pt:Autotrofismo]]
[[pt:Autotrofismo]]
[[ro:Autotrof]]
[[ro:Autotrof]]
[[ru:Автотрофы]]
[[sah:Автотрофтар]]
[[sah:Автотрофтар]]
[[simple:Autotroph]]
[[simple:Autotroph]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:33, 20 เมษายน 2555

สีเขียวจากต้นเฟิร์นบ่งบอกว่าต้นเฟิร์นมีคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นตัวที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง จึงทำให้มันเป็นออโตทรอพ

ออโตทรอพ (อังกฤษ: Autotroph เป็นคำสมาสภาษากรีกมาจากคำว่า autos ที่แปลว่าตัวเอง และ trophe ที่แปลว่าโภชนาการ) คือสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ โดยทำการผลิตอาหารขึ้นมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแหล่งคาร์บอน และแสงหรือสารอนินทรีย์อื่นๆ เป็นแหล่งพลังงาน สิ่งมีชีวิตประเภทออโตทรอพถูกจัดให้เป็นผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหาร สิ่งมีชีวิตจำพวกพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ผลิตอาหารโดยการสังเคราะห์แสงถือว่าเป็นโฟโตทรอพ (phototroph) ส่วนแบคทีเรียที่นำการออกซิเดชันของสารอนินทรีย์ต่างๆ เช่นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือเหล็กโลหะมาเป็นแหล่งพลังงานเรียกว่า คีโมออโตทรอพ (chemoautotroph)

สิ่งมีชีวิตจำพวกออโตทรอพถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งในห่วงโซ่อาหารในทุกๆ ระบบนิเวศ โดยที่พวกมันจะรับพลังงานมาจากแสงอาทิตย์ (หรือแหล่งอนินทรีย์อื่นๆ) แล้วแปลงพลังงานเหล่านี้ให้กลางเป็นโมเลกุลที่มีโครงสร้างเป็นคาร์บอนหรือโมเลกุลอินทรีย์อื่นๆ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานเชิงชีวภาพของสิ่งมีชีวิต เช่นการสร้างเซลล์ รวมถึงเป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตจำพวกเฮเทโรทรอพ ที่ผลิตอาหารเองไม่ได้เพื่อนำไปใช้ในการทำงานเชิงชีวภาพเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเฮเทโรทรอพต่างๆ ได้แก่สัตว์กินพืช, ฟังไจหรือเห็ดรา เช่นเดียวกับแบคทีเรียส่วนใหญ่และโปรโตซัวจะพึ่งพาออโตทรอพเป็นอาหารที่จะให้พลังงานและวัตถุดิบที่จะนำไปใช้ในการผลิตโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยเฮเทโรทรอพทำการแปลงอาหารเป็นพลังงานโดยการแตกโมเลกุลอาหารให้เล็กลง สัตว์กินเนื้อก็พึ่งพาออโตทรอพเช่นเดียวกัน เนื่องจากพลังงานและคุณค่าโภชนาการในอาหารก็มาจากอาหารประเภทพืชที่เหยื่อของสัตว์กินเนื้อได้กินเข้าไป

มีสิ่งมีชีวิตอยู่บางสายพันธุ์ที่อาศัยอินทรียสารเป็นแหล่งคาร์บอน แต่ก็สามารถอาศัยแสงหรืออนินทรียสารมาเป็นแหล่งพลังงานได้ด้วย แต่สิ่งมีชีวิตจำพวกนี้มักไม่ถูกจัดให้อยู่ในสิ่งมีชีวิตจำพวกออโตทรอพ แต่มักจะถูกจัดให้อยู่ในจำพวกเฮเทโรทรอพเสียมากกว่า โดยสิ่งมีชีวิตที่อาศัยคาร์บอนจากอินทรีย์สาร แต่อาศัยพลังงานจากแสง จัดอยู่ในพวกโฟโตเฮเทโรทรอพ (photoheterotroph) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยคาร์บอนมาจากอินทรีย์สาร แต่อาศัยพลังงานจากการออกซิเดชันของอนินทรีย์สาร จะถูกจัดอยู่ในพวกคีโมเฮเทโรทรอพ (chemoheterotroph)