ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
*[[วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์|วิทยาลัยเพาะช่าง]]
*[[วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์|วิทยาลัยเพาะช่าง]]
*[[คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์|คณะศิลปศาสตร์]]
*[[คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์|คณะศิลปศาสตร์]]
*คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม
*คณะอุตสาหกรรมการโรงแรมและท่องเที่ยว
*[[คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์|คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี]]
*[[คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์|คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี]]
*วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรัตนโกสินทร์
*วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรัตนโกสินทร์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:51, 16 มีนาคม 2555

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ชื่อย่อมทร.รัตนโกสินทร์ / RMUTR
คติพจน์มหาวิทยาลัยแห่งสังคมการประกอบการ (SMART Entrepreneur)
ประเภทมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
สถาปนา18 มกราคม พ.ศ. 2548
นายกสภาฯนายประพัฒน์ โพธิวรคุณ
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.rmutr.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Rattanakosin)เป็นผู้นำในการจัดการศึกษาวิชาชีพสู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศิลปกรรม การบริการและบริหารธุรกิจสู่สังคมการประกอบการเพื่อก้าวเข้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ

ประวัติ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ สถาปนาขึ้นในตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ประกอบด้วยทึ่ตั้งของวิทยาเขต 4 แห่งรวมเข้าด้วยกันได้แก่

  1. วิทยาเขตศาลายา (จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2538)[1] ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานอธิการบดี และศูนย์กลางมหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ตลอดจนจัดการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของวิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรัตนโกสินทร์ และวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
  1. วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ เป็นที่ตั้งคณะบริหารธุรกิจและคณะศิลปศาสตร์
  2. วิทยาเขตเพาะช่าง จัดการศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์
  3. วิทยาเขตวังไกลกังวล เป็นที่ตั้งคณะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม

การแบ่งส่วนราชการ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ แบ่งส่วนราชการรับผิดชอบการเรียนการสอนดังนี้

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

  • พระมหาพิชัยมงกุฎ ตราประจำมหาวิทยาลัยนั้นเป็นรูปดวงตราวงกลมภายในมีพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ล้อมรอบด้วยดอกบัว 8 กลีบ ซึ่งสื่อความหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จ มรรค 8 และความสดชื่น เบิกบานอันก่อให้เกิดปัญญา ด้านบนดวงตรานั้นมีพระมหาพิชัยมงกุฎที่มีตัวเลข ๙ ซึ่งหมายถึง รัชกาลที่ 9 ครอบอยู่ ด้านล่างดวงตรานั้นเขียนชื่อสถาบัน ทั้งนี้ตราของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ล้วนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง บรรดาคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่าราชมงคลทุกรุ่น ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น [2]
  • ดอกไม้ประจำสถาบัน คือ ดอกบัวสวรรค์
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแดงเลือดนก อันเป็นสีวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การที่มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้พระราชทานชื่อวิทยาเขตวังไกลกังวล และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีนั้น ผู้บริหารและคณาจารย์ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเป็นการรำลึกถึงพระองค์ท่านจึงกำหนดใช้สีแดงเลือดนก อันเป็นสีวันพระราชสมภพของสมเด็จย่า เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

สถานที่ตั้ง วิทยาเขต

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี,โท,เอก มีทั้งหลักสูตรปกติและสบทบ ต่อเนื่องทั้งหมด 5 คณะ 3 วิทยาลัย ดังต่อไปนี้


คณะ ระดับปริญญาตรี บัณฑิตศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา(2 ปีต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม(2 ปีต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวัดคุม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์
คณะบริหารธุรกิจ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบัญชีทั่วไป
  • สาขาวิชาการบัญชีการเงิน
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการตลาด-การบริหารการตลาด
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ-พัฒนาซอร์ฟแวร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ-การจัดการระบบสารสนเทศ

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
  • สาขาวิชาการบัญชี(หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต)
วิทยาลัยเพาะช่าง

หลักสูตรศิลปบัณฑิต 4 ปีปกติ

  • สาขาวิชาเครื่องปั้นดินเผา
  • สาขาวิชาเรื่องโลหะและรูปพรรณอัญมณี
  • สาขาวิชาจิตรกรรม
  • สาขาวิชาประติมากรรม
  • สาขาวิชาศิลปะไทย
  • สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์
  • สาขาวิชาหัตถกรรม
  • สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
  • สาขาวิชาออกแบบภายใน
  • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สาขาวิชาศิลปการถ่ายภาพ

หลักสูตรศิลปบัณฑิต 2 ปีต่อเนื่อง

  • สาขาวิชาเรื่องโลหะและรูปพรรณอัญมณี
  • สาขาวิชาศิลปะไทย
  • สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
คณะศิลปศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารสากล(โครงการ)
คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม

หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต

  • สาขาวิชาการท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาการโรงแรม
คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการออกแบบแม่พิมพ์

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรัตนโกสินทร์
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต
  • สาขาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
  • สาขาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต

  • Doctor of Business Administration(D.B.A.) หลักสูตร 3 ปี

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • Doctor of Public Administration(D.P.A.) หลักสูตร 3 ปี

แหล่งข้อมูลอื่น


อ้างอิง