ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัมมี่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: ลิงก์บทความคัดสรร hu:Múmia
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต เพิ่ม: ky:Мумия
บรรทัด 118: บรรทัด 118:
[[kn:ರಕ್ಷಿತ ಶವ/ಮಮ್ಮಿ]]
[[kn:ರಕ್ಷಿತ ಶವ/ಮಮ್ಮಿ]]
[[ko:미라]]
[[ko:미라]]
[[ky:Мумия]]
[[la:Mumia]]
[[la:Mumia]]
[[lt:Mumija]]
[[lt:Mumija]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:01, 25 กุมภาพันธ์ 2555

มัมมี่ภายในพิพิธภัณฑ์

มัมมี่ (อังกฤษ: Mummy) คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า "มัมมี่" มาจากคำว่า "มัมมียะ" (Mummiya) ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซีย มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา

ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา

วิธีการทำมัมมี่

นำศพของผู้ตายมาทำความสะอาด ล้วงเอาอวัยวะภายในออกโดยการใช้ตะขอที่ทำด้วยสำริดเกี่ยวเอาสมองออกทางโพรงจมูก แล้วใช้มีดที่ทำจากหินเหล็กไฟซึ่งมีความคมมาก กรีดข้างลำตัว เพื่อล้วงเอาตับ ไต กระเพาะอาหาร ปอดและลำไส้ออกจากศพ โดยเหลือหัวใจไว้

สาเหตุที่ไม่เอาหัวใจออกจากร่างด้วยเพราะเชื่อกันว่าหัวใจเป็นศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณ อวัยวะภายในเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยวัสดุประเภทขี้เลื่อย เศษผ้าลินิน โคลน และเครื่องหอม จากนั้นอวัยวะทั้งหมดจะถูกนำไปล้างด้วยไวน์ปาล์ม เสร็จแล้วก็จะถูกนำลงบรรจุในภาชนะสี่เหลี่ยม มีฝาปิด ที่รู้จักกันในชื่อของคาโนบิค ส่วนร่างของผู้ตายจะถูกนำไปดองโดยใช้เกลือประมาณ 7-10 วัน

เมื่อศพแห้งสนิทแล้ว ก็จะถูกนำมาเคลือบด้วยน้ำมันสน จากนั้นจะมีการตกแต่งและพันศพด้วยผ้าลินินสีขาวชุบเรซิน มัมมี่ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะถูกนำบรรจุลงในหีบศพ พร้อมกับเครื่องรางของขลังต่างๆ และมัมมี่บางตัวยังมีหน้ากากที่จำลองใบหน้าของผู้ตายวางไว้ในหีบศพของมัมมี่อีกด้วย

วิธีทำมัมมี่อย่างละเอียด

นับเป็นเวลาหลายร้อยปี กว่าชาวอียิปต์โบราณจะพัฒนาวิธีรักษาศพให้ใกล้เคียงสภาพเดิมให้นานที่สุดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ด้วยวิธีที่เรียกว่า mummification ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ

  1. embalming เป็นวิธีรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย
  2. wrapping เป็นวิธีพันผ้าศพหลังผ่านขั้นตอนแรก

ทั้งสองขั้นตอนใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 70 วัน โดยสัปเหร่อต้องสวมหน้ากากหมาไน ซึ่งเป็นเศียรของเทพ Anubis อันเป็นเทพที่ทำหน้าที่สัปเหร่อนั่นเอง ต้องใส่สมุนไพรที่หน้ากากขณะทำงานเพื่อกลบกลิ่นศพ

ขั้นตอนแรกของ embalming คือวางศพไว้บนเตียงหินมีขอบ ปลายเตียงที่มีรูให้ของเหลวที่เกิดจากการทำศพไหลลงภาชนะที่วางไว้บนพื้น จากนั้นจึงทำความสะอาดศพด้วย palm wine และสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม แล้วล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์อีกครั้ง ตามด้วยผ่าท้องบริเวณสีข้างหรือบั้นเอวด้านซ้ายด้วย sharp stone แล้วดึงอวัยวะภายในออก อวัยวะเหล่านี้เป็นแหล่งที่มีเชื้อ bacteria จำนวนมาก โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วย bacteria ที่เป็นสาเหตุให้ลำไส้ใหญ่เน่าก่อนแล้วลุกลามให้ส่วนอื่นของศพเน่าตามมา

อวัยวะที่นำเอาออกมาได้แก่ กระเพาะอาหาร ปอด ตับ ลำไส้ ส่วนหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ที่ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า เป็นศูนย์กลางของจิตวิญญาณ ความเฉลียวฉลาดและความรู้สึกนึกคิด ให้คงไว้ในศพ อันที่จริงยังมีม้าม ไต รังไข่และมดลูกที่ไม่ได้นำออกมา

นับว่าชาวอียิปต์โบราณมีวิทยาการสูงทีเดียว อวัยวะที่นำออกมาล้วนเป็นอวัยวะที่อาจมีเชื้อ bacteria และเน่าก่อนอวัยวะอื่น ทำให้พลอยลุกลามเน่าไปทั้งตัว อาจทำให้ทำมัมมี่ไม่สำเร็จ

ส่วนเนื้อสมองนั้น แต่เดิมไม่ได้นำออก เมื่อศพแห้งสมองสูญเสียของเหลวจึงแห้งเหี่ยวเป็นก้อนกลิ้งอยู่ในกะโหลก เวลาเคลื่อนศพมีเสียงดัง ต่อมาจึงมีการนำเนื้อสมองออกมา โดยใช้เหล็กที่มีปลายเป็นตะขอสอดเข้าไปทางรูจมูก ผ่านฐานกะโหลกส่วน ethmoid ซึ่งเป็นส่วนที่บางที่สุด เพื่อตีเนื้อสมองให้แตก แล้วคว่ำหน้าให้เนื้อสมองไหลออกมาทางจมูก เรียกวิธีนี้ว่า transethmoidal excerebration หลังจากนั้นจึงใส่น้ำมันดิน bitumen ที่ต้มจนเดือดเข้าไปแข็งตัวในกะโหลก บ้างก็ใช้ resin

อวัยวะต่างๆที่นำออกมาจากศพ จะถูกล้างให้สะอาดแล้วกลบด้วยสารที่เรียกว่า natron ซึ่งเป็น native sodium carbonate และ sodium bicarbonate ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดสารน้ำได้ดี เมื่ออวัยวะเหล่านี้แห้งแล้ว จึงห่อด้วยผ้าแล้วเก็บในโถ (canopic jar) ที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือหินสลัก ฝาโถสลักเป็นเศียรของเทพ 4 องค์ที่เป็นบุตรของเทพ Horus (เทพสูงสุดที่ชาวอียิปต์โบราณนับถือ) คือ

  • ตับบรรจุในโถ Imsety เทพที่มีเศียรเป็นคน
  • ปอดบรรจุในโถ Hapy เทพที่มีเศียรเป็นบาบูน
  • กระเพาะอาหารบรรจุในโถ Duamutef เทพที่มีเศียรเป็นหมาไน
  • ลำไส้บรรจุในโถ Qebehsenuef เทพที่มีเศียรเป็นเหยี่ยว

โถทั้ง 4 นี้ถูกเก็บไว้ในกล่องที่ถูกปกปักรักษาด้วยเทวี 4 องค์ คือ Isis, Nephthys, Selket, Neith โดยทำเป็นรูปสลักวางอยู่ที่มุมกล่องมุมละองค์ เป็นรูปเทวีทั้ง 4 กางปีกเพื่อปกป้องอวัยวะในโถ กล่องนี้ถูกเก็บไว้ในสุสานพร้อมศพ

ตัวศพก็เช่นเดียวกันคือ ใส่ natron เข้าไปในช่องท้อง แล้วจึงกลบด้วย natron อีกชั้น มีการเปลี่ยน natron ทุก 3 วัน และใช้ระยะเวลา 40-60 วัน ศพก็จะแห้งสนิท ส่วนของเหลวที่เกิดจากการทำศพจะไหลออกทางรูที่ปลายเตียงลงสู่ภาชนะที่รองอยู่ด้านล่าง และถูกเก็บไว้เพื่อฝังไปพร้อมศพ

เมื่อครบกำหนดจึงล้างศพด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์ จากนั้นทาผิวด้วยน้ำมันเพื่อให้มีความยืดหยุ่น แล้วตกแต่งศพด้วยลูกตาเทียม ถ้าผู้ตายมีเศรษฐานะดีอาจติดขนคิ้วด้วยเส้นผม ใส่ผมปลอม หรือแต่งเล็บด้วยทองคำประดับพลอย อาจอัดเมล็ดพริกไทยเข้าไปในจมูกเพื่อป้องกันจมูกบี้ บ้างก็อัดลินินในช่องปากเพื่อให้แก้มเต่ง

ประมาณปี 1000 BC จึงเริ่มมีการห่ออวัยวะภายในด้วยลินิน บรรจุกลับเข้าไปในช่องท้อง แล้วอัดด้วยขี้เลื่อย ใบไม้แห้ง หรือลินิน เพื่อให้สภาพใกล้เคียงกับเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ส่วนโถทั้ง 4 แม้ไม่ได้ใช้บรรจุอวัยวะภายในแล้ว ยังคงถูกเก็บไว้ในสุสานดังเดิม

ขั้นตอนต่อไปเรียกว่า wrapping คือพันด้วยผ้าลินิน โดยเริ่มพันจากศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า คล้ายการพันเฝือกหลายชั้น ส่วนของนิ้ว แขนและขาให้พันแยกออกจากกัน ทุกชั้นทาด้วย resin เหลว ระหว่างพันผ้ามีการวางเครื่องรางหลายชนิด แล้วพันลินินทับ มีพิธีสวดมนต์ขณะพันผ้า และวางม้วนกระดาษ papyrus ที่เรียกว่า book of death หรือคัมภีร์มรณะ ไว้กลางลำตัว พันผ้าอีกหลายชั้น แล้วจึงห่อด้วยผืนผ้าลินินที่วาดภาพเทพ Osiris ซึ่งเป็นเทพแห่งยมโลก และเป็นบิดาของเทพ Horus ห่อซ้ำอีกชั้นด้วยผ้าผืนใหญ่ แล้วจึงผูกด้วยลินินเป็นปล้องๆ แบบเดียวกับมัดตราสัง

หลังจากนั้นต้องทำพิธีเปิดปาก เปิดตา ด้วยความเชื่อว่าเพื่อให้มัมมี่มองเห็น กินอาหารและดื่มน้ำได้นั่นเอง แล้วจึงบรรจุในโลงศพ (coffin) ที่มีลักษณะคล้ายรูปร่างคน 3 ชั้น แล้วจึงวางลงในโลงศพหิน (sarcophagus) เขียนรูปผู้ตายไว้ที่ฝาโลงหินเพื่อให้วิญญาณที่เรียกว่า Ka กลับร่างเดิมได้ถูกต้องขณะฟื้นคืนชีพ

จะเห็นว่าการทำมัมมี่ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง ผู้มีเศรษฐานะดีเท่านั้นที่ทำได้ ส่วนผู้มีเศรษฐานะต่ำอาจใช้วิธีทำหุ่นเหมือนผู้ตายแทนการทำมัมมี่ก็ได้

ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่านอกจากร่างกายแล้วยังมีจิตวิญญาณ เรียกว่า unseen twin ประกอบด้วย Ka หมายถึง spirit และ Ba หมายถึง soul

Ba หรือ soul คือดวงวิญญาณที่มีลักษณะเป็นนกตัวเล็กๆ มีหัวเหมือนผู้ตายบินวนเวียนรอบๆมัมมี่ ส่วน Ka หรือ spirit เป็นดวงจิตที่ตายไปพร้อมกับร่างกาย จึงต้องทำมัมมี่หรือสร้างรูปเหมือนไว้ให้ Ka อาศัยอยู่ มัมมี่นับเป็นรูปเหมือนที่ดีที่สุด ต้องจัดอาหารให้ด้วย เพราะเชื่อว่าไม่เช่นนั้น Ka ก็จะตายไปพร้อมร่าง เมื่อกลับมาเกิดใหม่ Ka และ Ba ก็จะมารวมกันกับร่างที่เตรียมไว้ เพื่อฟื้นคืนชีพใหม่อีกครั้ง

เรื่องของมัมมี่เป็นที่สนใจในวงการแพทย์มาช้านาน เหตุเพราะต้องศึกษาโดยให้มัมมี่คงสภาพเดิม จึงไม่สามารถผ่าออกมาศึกษาได้ ทำให้นักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ในอดีตสามารถศึกษาร่างของมัมมี่ได้ในวงจำกัด โดยศึกษาทาง x-ray และส่องกล้อง (scope)

ครั้นเมื่อวิทยาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าจนมีเครื่อง MRI ในปัจจุบัน จึงสามารถศึกษามัมมี่ได้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น โดยเฉพาะส่วนของกะโหลก ทำให้ทราบวิธีทำมัมมี่ละเอียดขึ้น ตัวอย่างเช่น ทราบว่ามีทั้งที่เก็บสมองไว้ และเอาสมองออกด้วยวิธี transethmoidal excerebration คือเห็นรูที่ฐานกะโหลกศีรษะบริเวณเหนือโพรงจมูกจากเครื่อง MRI เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบโรคต่างๆและสาเหตุการตายของชาวอียิปต์โบราณ เช่น เพดานโหว่ (cleft palate) กะโหลกแตก (fracture skull) โพรงอากาศที่กะโหลกอักเสบ (mastoiditis) โรคเหงือกและฟัน

โรคที่พบบ่อยในอียิปต์โบราณ มีโรคตา พยาธิ วัณโรค (TB) เกาต์ (gout) โรคไขข้อ (rheumatism) ฝีดาษ (smallpox) โรคทางนรีเวช (women’s disease)

ส่วนยาที่ใช้ได้แก่ ขี้ผึ้ง (ointment) ยาน้ำ (potions) ยาเม็ดที่ทำจากสมุนไพร ไขมัน เลือด อวัยวะสัตว์ น้ำผึ้ง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าอียิปต์ยุคโบราณ มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการสูงทีเดียว มัมมี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม วิหารขนาดใหญ่ สมบัติล้ำค่ามากมายมหาศาลที่เก็บไว้ในสุสานเตรียมไว้ใช้ในโลกหน้าของตุตันคาเมนอันลือชื่อ เป็นสุสานนี้ซ่อนอยู่ในหุบผากษัตริย์ จึงหลุดรอดสายตาโจรขโมยหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน

ส่วนสุสานที่ทำเป็นปิรามิดขนาดมหึมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่พบเห็นได้โดยง่าย จึงถูกขโมยไม่เหลือสมบัติให้เห็นในปัจจุบัน

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA