ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไทยถิ่นเหนือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pandayai (คุย | ส่วนร่วม)
RxAlchemiste (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 114: บรรทัด 114:
{| class="wikitable"
{| class="wikitable"
|-
|-
! คำเมืองเชียงใหม่ !! คำเมืองจังหวัดอื่น !! ภาษาไทยมาตรฐาน
! สำเนียงเชียงใหม่ !! สำเนียงจังหวัดอื่น !! ภาษาไทยมาตรฐาน
|-
|-
| อ้าย || ปี้ || พี่ชาย
| อ้าย || ปี้ || พี่ชาย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:57, 11 กุมภาพันธ์ 2555

ภาษาไทยวน (คำเมือง)
ᨣᩴᩤᨾᩮᩥᩬᨦ
ออกเสียง[kam˧ mɯːaŋ˧] กำเมือง
ประเทศที่มีการพูดไทย พม่า ลาว กัมพูชา
ภูมิภาคภาคเหนือตอนบน (ไทย)
จำนวนผู้พูด6 ล้าน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรธรรมล้านนา(ตัวเมือง), อักษรไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการไม่มี
รหัสภาษา
ISO 639-1-
ISO 639-2tai
ISO 639-3nod

ภาษาไทยถิ่นเหนือ หรือ ภาษาล้านนา หรือ คำเมือง (คำเมือง:ᨣᩴᩤᨾᩮᩥᩬᨦ กำเมือง) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นพายัพ[1] เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของ จังหวัดตาก สุโขทัยและ เพชรบูรณ์อีกด้วย

นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไทยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย

ภาษาคำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะ และเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป๊นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)

คนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์

คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้คู่กับ ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ

ระบบเสียง

ระบบเสียงพยัญชนะ

ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ฟัน-ปุ่มเหงือก ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
ระเบิด p,pʰ,b t,tʰ,d k,kʰ ʔ
กึ่งเสียดแทรก
เสียดแทรก f s x h
นาสิก m n ɲ ŋ
เปิดข้างลิ้น l
กึ่งสระ w j

ระบบเสียงสระ

สระเดี่ยว

อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ

สระประสม

อัวะ อัว เอียะ เอีย เอือะ เอือ

เสียงสระเอือะ,เอือ จะไม่พบในบางท้องถิ่น คือในถิ่นล้านนาตะวันออก ได้แก่ จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ น่าน พะเยา ลำปาง โดยจะออกเสียงเป็นสระเอียะ,เอีย เช่น คำเมือง เป็น กำเมียง (มีเสียงเอือะ และเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป๊นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)

นอกจากนี้ยังมีสำเนียงแบบเมืองยองซึ่งพูดกันมากในจังหวัดลำพูน โดยจะไม่มีสระประสม สระอัว กลายเป็น โอ สระเอีย กลายเป็น เอ และสระเอือ กลายเป็น เออ เช่น เมือง เป็น เมิง, เกลือ เป็น เก๋อ, สวย เป็น โสย, หมี่เกี๊ยว เป็น หมี่เก๊ว เป็นต้น

คำเมืองกับตัวอักษรของมันเองคือตัวเมือง วลีนี้เขียนว่า "ภาษาล้านนา รฤ คำเมือง"
ตำราคำเมือง คู่กับภาษาไทย
ตำราคำเมือง คู่กับภาษาไทย
ตำราคำเมือง คู่กับภาษาไทย

ระบบเสียงวรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์บางที่มีถึง 9 เสียง ได้แก่

  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอกต่ำ หรือเสียงเอกขุ่น
  • เสียงเอกสูง หรือเสียงเอกใส
  • เสียงโทต่ำ หรือเสียงโทขุ่น
  • เสียงโทพิเศษ
  • เสียงโทสูง หรือเสียงโทใส
  • เสียงตรีต่ำ หรือเสียงตรีขุ่น
  • เสียงตรีสูง หรือเสียงตรีใส
  • เสียงจัตวา

เสียงวรรณยุกต์สำเนียงเชียงใหม่มี 6 เสียง คือ เสียงจัตวา, เสียงเอก, เสียงโทพิเศษ, เสียงสามัญ, เสียงโท, และเสียงตรี[2]

เสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่าง การถอดรหัสเสียง การออกเสียง ความหมายในภาษาไทย
เสียงจัตวา ขา /xǎː/ [xaː˩˦] ขา
เสียงเอก ข่า /xàː/ [xaː˨˨] ข่า
เสียงโทพิเศษ ฃ้า /xa̋ː/ [xaː˥˧] ฆ่า
เสียงสามัญ ฅา /xaː/ [xaː˦˦] หญ้าคา
เสียงโท ไฮ่ /hâjː/ [hajː˦˩] ไร่
เสียงตรี ฟ้า /fáː/ [faː˦˥˦] ฟ้า

คำควบกล้ำ

ไม่ปรากฏคำควบกล้ำเสียง ร ล มีคำควบกล้ำเฉพาะเสียง ว เท่านั้น อนึ่งเสียงรัวลิ้น "ร" และเสียงไม่รัวลิ้น "ล" ถือว่าไม่ต่างกัน ซึ่งบางครั้งเสียง "ล" จะกลายเป็นเสียง "ร" ก็ไม่ถือว่าต่างกันแต่อย่างใด

ข้อสังเกต

  • การเปลี่ยนในอักษรต่ำ จากเสียงธนิต(aspirate)เป็นเสียงสิถิล(unaspirate)เช่น จาก "ท" เปลี่ยนเป็น "ต" (เช่น "ทาง" เป็น "ตาง"), "ร" เป็น "ฮ" (เช่น "รัก" เป็น "ฮัก"), "ช" เป็น "จ" (เช่น "ช้อน" เป็น "จ๊อน"), "พ" เป็น "ป" (เช่น "แพง" เป็น "แปง"), "ค" เป็น "ก" (เช่น "คำ" เป็น "กำ") เป็นต้น โดยมักจะคงเสียงวรรณยุกต์เดิม (เช่น "ใช้" เป็น "ใจ๊") *อักษรสูงและอักษรกลาง(ยกเว้น ด, บ, อย, และ อ)ในภาษาไทยที่มีเสียงสามัญจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวาในคำเมือง (เช่น "ตัว" เป็น "ตั๋ว", "ใจ" เป็น "ใจ๋") แต่ในคำพ้องเสียงของภาคกลาง ในภาษาเหนือนั้นอาจจะออกเสียงไม่เหมือนกัน
ตำราคำเมือง คู่กับภาษาไทย

การพูดคำเมืองผสมกับภาษาไทย

การพูดคำเมืองผสมกับภาษาไทยนั้น คำเมืองจะเรียกว่า แปล๊ด (ปะ-แล๊ด, ไทยแปล๊ดเมือง) ซึ่งโดยมากแล้วมักจะพบใน คนที่พูดคำเมืองมาก ๆ แล้วพยายามจะพูดไทย หรือ คนพูดภาษาไทยพยายามจะพูดคำเมือง เผลอพูดคำทั้ง ๒ ภาษามาประสมกัน เช่น

  • แดดร้อนมากเลย เอาจ้องมากางดีกว่า
  • อะไรเนี่ย! ทำไมมันแพงแต๊แพงว่า (ถ้าเป็นภาษาเมืองจริง ๆ ต้องพูดว่า "อะหยังนิ ยิไดมันแปงแต๊แปงว่า")

การพูดคำเมืองแบบดั้งเดิม

การพูดคำเมืองที่เป็นประโยคแบบดังเดิมนั้นหายากแล้วเนื่องจากมีการผสมผสานกับภาษาไทยภาคกลาง ทั้งในสำเนียงและคำศัพท์ ส่วนนี้จะเป็นส่วนรวบรวม ประโยค กำเมือง ดั้งเดิม

  • กิ๋นข้าวแล้วกา = ทานข้าวแล้วรึยัง
  • ยะอะหยั๋งกิ๋นกา(เจ้า) = ทำอะไรทานหรือ(คะ) ถ้าเป็นผู้ชายจะไม่นิยมลงท้ายด้วยคำว่า เจ้า
  • ไปตังใดมา(เจ้า) = ไปไหนมา(คะ)

คำเมืองในจังหวัดอื่น

คำเมืองในจังหวัดอื่นเช่น ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน ก็มีการใช้คำบางคำที่แตกต่างกันออกไปด้วย แต่โดยรวมแล้วจะสื่อสารกันเข้าใจในกลุ่มคนเหนือ เช่น

สำเนียงเชียงใหม่ สำเนียงจังหวัดอื่น ภาษาไทยมาตรฐาน
อ้าย ปี้ พี่ชาย
ปี้ เย้ย, เย้, ใย้ พี่สาว
อา, น้า อาว (ผู้ชาย), อา (ผู้หญิง) อา, น้า
บะก้วย บะแก๋ว,บะมั้น ฝรั่ง (ผลไม้)
หอมป้อม หอมน้อย(หอมหน้อย) ผักชี
บะก้วยเตด บะเตด มะละกอ

นอกจากนี้ สำเนียงในของคำเมืองในกลุ่มนี้จะออกสั้นและห้วนกว่า โดยที่เห็นได้ชัดคือเสียงตรีในเชียงใหม่ ลำพูน จะเป็นเสียงโทในจังหวัดอื่น เช่น บ่ะฮู้ แปลว่า ไม่รู้ เป็นสำเนียงเชียงใหม่ แต่จะออกเสียงว่า บ่ะฮู่ ในสำเสียงอื่น, กิ๋นน้ำ ที่แปลว่า ดื่มน้ำ จะออกเสียงเป็น กิ๋นน่ำ, สามร้อย ออกเสียงเป็น สามร่อย เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. บัญชีอักษรย่อและคำย่อ ที่ใช้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 จากเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน
  2. Gedney, William J., and Thomas J. Hudak. William J. Gedney's Tai Dialect Studies: Glossaries, Texts, and Translations. Ann Arbor, MI: Center for South and Southeast Asian Studies, The University of Michigan, 1997. Print.
  • พจนี ศิริอักษรสาสน์. ภาษาถิ่นของไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2545. ISBN 974-593-984-6