ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูลโครงสร้าง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: fr:Structurae
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ko:Structurae
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
[[id:Structurae]]
[[id:Structurae]]
[[jv:Structurae]]
[[jv:Structurae]]
[[ko:Structurae]]
[[la:Structurae]]
[[la:Structurae]]
[[no:Structurae]]
[[no:Structurae]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:39, 10 กุมภาพันธ์ 2555

ฐานข้อมูลโครงสร้าง (เยอรมัน: Structurae: Internationale Galerie und Datenbank des Ingenieurbaus} อังกฤษ: Structurae: International Database and Gallery of Structure หรือเรียกสั้นๆ ว่า Structurae) "ฐานข้อมูลโครงสร้าง" เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางวิศวกรรม และ โครงสร้างทางโยธาทุกรูปแบบเช่นสะพาน ตึก ตึกระฟ้า หอ เขื่อน และอื่นๆ นอกจากนั้นก็ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท และ บุคคล (วิศวกร สถาปนิก และผู้ก่อสร้าง) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการออกแบบหรือก่อสร้างโครงสร้าง คำว่า "ฐานข้อมูลโครงสร้าง" มาจากภาษาลาติน "Strūctūra" ที่หมายถึงการกระทำการก่อสร้างและผลของสิ่งที่กระทำ[1][2]

"ฐานข้อมูลโครงสร้าง" ดำรงอยู่ได้โดยอาสาสมัครผู้ส่งข้อมูลและภาพประกอบเข้ามาในเป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูล ข้อมูลแต่ละหัวข้ออ้างอิงไปยังนิตยสารทางวิชาการและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ผู้ก่อตั้งนิโคลัส ยานบวร์กเป็นวิศวกรสร้างสะพานชาวเยอรมัน-ฝรั่งเศสผู้ก่อตั้งฐานข้อมูลขึ้นในปี ค.ศ. 1998 หลังจากสร้างโฮมเพจที่คล้ายคลึงกันขณะที่เป็นอาจารย์ผู้ช่วยอยู่ที่แผนกวิศวกรรมโยธาที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในสหรัฐอเมริกา "ฐานข้อมูลโครงสร้าง" ใช้พื้นฐานจากฐานข้อมูล "archINFORM" ที่ถือกันว่าเป็นผู้ริเริ่มโครงการฐานข้อมูลออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต

ฐานข้อมูล "ฐานข้อมูลโครงสร้าง" มีข้อมูลสามภาษา อังกฤษ, ฝรั่งเศส และ เยอรมัน ฐานข้อมูลได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากการโฆษณา และ ข้อมูลในฐานข้อมูลของบริษัทและผลิตภัณฑ์ ฐานข้อมูลมีข้อมูลด้วยกันทั้งสิ้นกว่า 100,000 หน้าโดยใช้ภาษาโปแกรมColdFusion และระบบจัดการฐานข้อมูล "MySQL"

ข้อมูลจัดเป็นหกกลุ่มที่รวมทั้ง ข้อมูลเรียงตามตัวอักษรของชื่อ, ประเภทของโครงสร้าง, ประเภทของการใช้สอย, วิธีการก่อสร้าง, ที่ตั้ง และ ปีสร้าง

ในกลุ่มประเภทของสิ่งก่อสร้างก็แบ่งออกเป็นสะพานและสะพานส่งน้ำ สิ่งก่อสร้าง เขื่อนและสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการค้ำยัน หอและเสาสูง และ อุโมงค์และสิ่งก่อสร้างใต้ดิน

ในประเภทของการใช้สอยก็รวมสิ่งก่อสร้างเช่น สถาบันการศึกษา, ปราสาท, ประตูเมือง, สิ่งก่อสร้างทางการค้า, โรงพยาบาล, ศาสนสถาน หรือที่อยู่อาศัย ในบรรดาสิ่งก่อสร้างทางการค้าก็มีสิ่งก่อสร้างประเทศต่างๆ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับตึกใบหยก 2[1]

ข้อมูลแต่ละชิ้นถ้าเป็นไปได้ก็จะประกอบด้วยชื่อของสิ่งก่อสร้าง, ภาพ, ที่ตั้ง, ประเภทของสิ่งก่อสร้าง การใช้สอย ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ออกแบบและผู้สร้าง ข้อมูลทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม, เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และวรรณกรรมเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง

อ้างอิง

ดูเพิ่ม