ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาวเหนือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ta:துருவ நட்சத்திரம்
บรรทัด 131: บรรทัด 131:
[[sl:Severnica]]
[[sl:Severnica]]
[[sv:Polstjärna]]
[[sv:Polstjärna]]
[[ta:துருவ நட்சத்திரம்]]
[[tr:Kutup Yıldızı]]
[[tr:Kutup Yıldızı]]
[[tt:Тимерказык]]
[[tt:Тимерказык]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:02, 31 มกราคม 2555

Alpha Ursae Minoris

ภาพดาวเหนือ ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000      วิษุวัต J2000
กลุ่มดาว หมีเล็ก
ไรต์แอสเซนชัน 02h 31m 48.7s
เดคลิเนชัน +89° 15' 51″
ความส่องสว่างปรากฏ (V) 1.97
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมF7 Ib-II SB
ดัชนีสี U-B0.38
ดัชนีสี B-V0.60
ชนิดดาวแปรแสงดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)-17 km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: 44.22 mas/yr
Dec.: -11.74 mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)7.56 ± 0.48 mas
ระยะทาง430 ± 30 ly
(132 ± 8 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)-3.64
รายละเอียด
มวล4.3 +1.1 for Pol B M
รัศมี30 R
กำลังส่องสว่าง2200 L
อุณหภูมิ7200 K
ค่าความเป็นโลหะ112% solar[1]
การหมุนตัว~17 km/s
อายุ? ปี
ชื่ออื่น
Polaris, Cynosura, Alruccabah, Phoenice,

Lodestar, Pole Star, Tramontana, Angel Stern,

Navigatoria, Star of Arcady, Yilduz, Mismar,

Поля́рная звезда́ (Polyarnaya zvyezda), 1 Ursae Minoris, HR 424,

BD +88°8, HD 8890, SAO 308, FK5 907,

GC 2243, ADS 1477, CCDM 02319+8915, HIP 11767.
ภาพที่ถ่ายโดยเปิดหน้ากล้องเป็นเวลานาน แสดงให้เห็นว่าดาวดวงอื่นดูคล้ายเคลื่อนที่วนรอบดาวเหนือ

ดาวเหนือ (อังกฤษ: Polaris หรือ Cynosura) (α UMi / α หมีเล็ก / แอลฟาหมีเล็ก) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหมีเล็ก และอยู่ใกล้กับขั้วฟ้าเหนือ จึงปรากฏเหมือนอยู่นิ่งกับที่บนท้องฟ้า (แท้จริงเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น เพราะแกนหมุนของโลกมีการส่าย)

การที่ดาวเหนืออยู่ในทิศทางที่เกือบจะเป็นทิศทางเดียวกับแกนหมุนของโลก ดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ จึงดูเหมือนเคลื่อนที่วนเป็นวงกลมรอบดาวเหนือ นักสำรวจอาศัยดาวเหนือในการเดินเรือ ปัจจุบันดาวเหนือไม่ได้อยู่ตรงกับขั้วฟ้าเหนือแต่ห่างจากขั้วฟ้าเหนือเล็กน้อย (ไม่เกิน 1°) จึงเคลื่อนที่เป็นวงกลมเล็ก ๆ ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2° มีเพียงสองเวลาในวันหนึ่ง ๆ ที่ดาวเหนืออยู่ตรงกับทิศเหนือพอดี ส่วนในเวลาอื่นต้องอาศัยตารางคำนวณเพื่อหาทิศเหนือที่แม่นยำ

แท้จริงแล้วดาวเหนือไม่ได้บอกทิศเหนือตลอดไป การที่แกนหมุนของโลกส่ายคล้ายลูกข่างด้วยคาบ 26,000 ปี ทำให้ดาวฤกษ์ดวงอื่นเคยเป็นดาวเหนือมาก่อน เช่น ดาวทูแบนในกลุ่มดาวมังกร ส่วนในอนาคต จะเป็นดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ

ในอนาคตอันใกล้นี้ เรายังสามารถใช้ดาวเหนือบอกทิศเหนือได้ต่อไป โดยที่ดาวเหนือจะอยู่ใกล้ขั้วฟ้าเหนือมากที่สุดในปี ค.ศ. 2100 ด้วยระยะห่างไม่เกินครึ่งองศา

เราสามารถค้นหาดาวเหนือได้จากการลากเส้นตรงผ่านดาว 2 ดวงของกลุ่มดาวหมีใหญ่ ((β และ α หมีใหญ่) ไปหาดาวเหนือได้ เรียกดาว 2 ดวงนี้ว่าดาวชี้ (Pointers) หรือไม่ก็ลากเส้นผ่านแบ่งครึ่งผ่านกลางกลุ่มดาวแคสซิโอเปียที่มีรูปร่างเหมือนตัวอักษร W

การเป็นที่รู้จักของดาวเหนือ ทำให้คนจำนวนมากคิดว่าดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า, แต่ในความเป็นจริง ดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับที่ 47. ส่วนดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า (ยกเว้นดวงอาทิตย์) คือ ดาวซิริอัส

ข้อมูลจากดาวเทียมฮิปปาร์คอส พบว่าดาวเหนืออยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 431 ปีแสง (132 พาร์เซก) เป็นดาวยักษ์ใหญ่หรือดาวยักษ์ที่มีฤกษ์จาง ๆ 2 ดวงเป็นสหาย ดวงแรกมีชนิดสเปกตรัม F3 V อยู่บนแถบลำดับหลัก ห่างจากดาวแม่ประมาณ 2,000 หน่วยดาราศาสตร์ อีกดวงอยู่ใกล้กว่าด้วยกึ่งแกนเอกของวงโคจรเพียง 5 หน่วยดาราศาสตร์ ดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ดาวแปรแสงดวงหนึ่ง ราวปี ค.ศ. 1900 ดาวเหนือมีความสว่างขึ้นลงประมาณ 8% (คิดเป็น 0.15 ความส่องสว่าง) ด้วยคาบ 3.97 วัน ปี ค.ศ. 2005 ความสว่างเปลี่ยนแปลงเพียง 2% นอกจากนี้ยังมีความสว่างมากกว่าปี ค.ศ. 1900 อยู่ประมาณ 15% รวมทั้งคาบก็เพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 8 วินาทีต่อปี

งานวิจัยเมื่อเร็วนี้ ๆ บ่งชี้ว่าในยุคที่ทอเลมียังมีชีวิตอยู่ ดาวเหนืออาจสว่างกว่านี้ 2.5 เท่า ซึ่งถ้าหากเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวเหนือ จะสูงเกินกว่าผลการพยากรณ์โดยอาศัย ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาวฤกษ์

ในท้องฟ้าซีกใต้ ไม่มีดาวฤกษ์สว่างที่อยู่ใกล้ขั้วฟ้าใต้ ดาวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าและอยู่ใกล้ขั้วฟ้าใต้มากที่สุด คือ ดาวซิกมาออกแทนต์ (บางครั้งเรียกว่า Polaris Australis) อย่างไรก็ตาม คนในซีกโลกใต้สามารถใช้กลุ่มดาวกางเขนใต้ในการคะเนตำแหน่งของทิศใต้

อ้างอิง

  1. Cayrel de Strobel, G. (2001). " Catalogue of [Fe/H] determinations for FGK stars: 2001 edition ". A&A. 373: 159–163. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)