ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัครมุขนายก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: vi:Tổng giám mục
บรรทัด 71: บรรทัด 71:
[[tr:Başpiskopos]]
[[tr:Başpiskopos]]
[[uk:Архієпископ]]
[[uk:Архієпископ]]
[[vi:Tổng giám mục]]
[[zh:總主教]]
[[zh:總主教]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:43, 29 มกราคม 2555

ไฟล์:Archbishop Francis Xavier Keangsak Kowit Vanit 1.JPG
อัครมุขนายก ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประมุขเขตมิสซังกรุงเทพฯองค์ปัจจุบัน[1]

อาร์ชบิชอป[2] (อังกฤษ: Archbishop) หรือแปลว่าอัครมุขนายก[3] ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองภายในคริสตจักรบางนิกาย มีสถานะเหนือกว่ามุขนายก[4] (bishop) พบทั้งในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และอื่น ๆ การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese)[5] ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนก็จะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่นภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีแต่ก็ไม่จริงเสมอไป

“อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนาแต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับศีลอนุกรมใหม่ แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกผู้นั้นก็ต้องทำพิธีรับศีลอนุกรมก่อนที่จะได้รับตำแหน่งและทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก

คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล”

“อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “รัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz)

อ้างอิง

  1. [1].เรียกข้อมูลวันที่ 5 ต.ค. 2553.
  2. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Archbishop[2]
  3. เป็นการแปลโดยอนุโลมเทียบจากคำว่า "อัครมุขมณฑล" (archdiocese) ที่ราชบัณฑิตสถานบัญญัติไว้
  4. กรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6
  5. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2552, หน้า 145

ดูเพิ่ม