ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือโคร่งชวา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
| subspecies = '''''P. t. sondaica'''''
| subspecies = '''''P. t. sondaica'''''
| trinomial = '''''Panthera tigris sondaica'''''
| trinomial = '''''Panthera tigris sondaica'''''
| trinomial_authority = ([[Coenraad Jacob Temminck|Temminck]], [[ค.ศ. 1844|1844]])
| trinomial_authority = [[Coenraad Jacob Temminck|Temminck]], [[ค.ศ. 1844|1844]]
| range_map = P-tigris-sondaicus-map.png
| range_map = P-tigris-sondaicus-map.png
| range_map_caption = แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเสือโคร่งชวา
| range_map_caption = แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเสือโคร่งชวา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:49, 9 มกราคม 2555

เสือโคร่งชวา
ภาพถ่ายเสือโคร่งชวาที่อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน ในปี ค.ศ. 1938
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  tigris
สปีชีส์ย่อย: P.  t. sondaica
Trinomial name
Panthera tigris sondaica
Temminck, 1844
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเสือโคร่งชวา

เสือโคร่งชวา เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris sondaica เป็นเสือโคร่ง 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่เคยพบได้ในอินโดนีเซีย โดยจะพบได้เฉพาะบนเกาะชวาเท่านั้น ปัจจุบันเสือโคร่งชวาได้สูญพันธุ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับเสือโคร่งบาหลี (P. t. balica)

เสือโคร่งชวาเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดเล็ก เช่นเดียวกับเสือโคร่งบาหลี และเสือโคร่งสุมาตรา (P. t. sumatrae) โดยตัวผู้มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 100-140 กิโลกรัม มีความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง 245 เซนติเมตร ตัวเมียมีน้ำหนักระหว่าง 75-115 กิโลกรัม และมีขนาดตัวเล็กกว่าตัวผู้

เสือโคร่งชวาถูกคุกคามอย่างหนักจากการล่าของมนุษย์และการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย โดยส่วนมากถูกล่าอย่างหนักในช่วงทศวรรษที่ 40 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1970 เหลือเสือโคร่งชวาเพียงแห่งเดียวที่อุทยานแห่งชาติเมรูเบติลีที่ชวาตะวันตกเท่านั้น และหลังจากปี ค.ศ. 1976 ก็ไม่มีใครพบเสือโคร่งชวาอีกเลย

ปัจจุบัน มีรายงานการพบเห็นเสือโคร่งชวาบ้าง แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่มีน้ำหนักมายืนยันได้อย่างเพียงพอ โดยการพบเห็นครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 พบร่างนักปีนเขาหญิงนิรนามผู้หนึ่งถูกสัตว์ที่คาดว่าเป็นเสือโจมตี ที่อุทยานแห่งชาติเขาเมอร์บารู ในชวากลาง[1] และในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 มีชาวบ้านอ้างว่าพบเห็นแม่เสือพร้อมลูกเสือ 2 ตัวที่ใกล้กับหมู่บ้านที่เขาลาวู[2]

ลิงก์ภายใน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panthera tigris sondaica ที่วิกิสปีชีส์