ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูกระด้าง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
งูกระด้าง มีลําตัว[[สีน้ำตาล]]และ[[สีดำ|ดํา]] หรือบางครั้งจะพบมี[[สีสัน]]ที่หลากหลายมากกว่านี้ แต่ก็จะเป็นไปในกลุ่มสีที่แฝงตัวเข้ากับธรรมชาติได้ มีส่วนหัวเป็น[[รูปสี่เหลี่ยม]]แบน มีจุดเด่นที่สังเกตได้ชัด คือ มีอวัยวะที่คล้าย[[หนวด]]สั้นหุ้มด้วยเกล็ดเล็ก ๆ อยู่ 2 เส้น
งูกระด้าง มีลําตัว[[สีน้ำตาล]]และ[[สีดำ|ดํา]] หรือบางครั้งจะพบมี[[สีสัน]]ที่หลากหลายมากกว่านี้ แต่ก็จะเป็นไปในกลุ่มสีที่แฝงตัวเข้ากับธรรมชาติได้ มีส่วนหัวเป็น[[รูปสี่เหลี่ยม]]แบน มีจุดเด่นที่สังเกตได้ชัด คือ มีอวัยวะที่คล้าย[[หนวด]]สั้นหุ้มด้วยเกล็ดเล็ก ๆ อยู่ 2 เส้น


มีความยาวเต็มที่ประมาณ 50-90 [[เซนติเมตร]] อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติต่าง ๆ รวมทั้งใน[[นาข้าว]] หรือกระทั้งในแหล่ง[[น้ำกร่อย]]หรือ[[น้ำเค็ม]]ด้วย เป็นงูที่มีลักษณะแปลก คือ เมื่อถูกรบกวนหรือถูกจับจะทำตัวแข็งท่อคล้าย[[กิ่งไม้]] จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "งูกระด้าง"<ref>[http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-1-search.asp กระด้าง ๒ ตาม[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]]]</ref>
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 50-90 [[เซนติเมตร]] อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติต่าง ๆ รวมทั้งใน[[นาข้าว]] หรือกระทั้งในแหล่ง[[น้ำกร่อย]]หรือ[[น้ำเค็ม]]ด้วย เป็นงูที่มีลักษณะแปลก คือ เมื่อถูกรบกวนหรือถูกจับจะทำตัวแข็งทื่อคล้าย[[กิ่งไม้]] จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "งูกระด้าง"<ref>[http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-1-search.asp กระด้าง ๒ ตาม[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]]]</ref>


แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาค[[เอเชียอาคเนย์]] เป็นงูที่มีพิษอ่อนมาก ไม่ปรากฏว่า[[พิษ]]จะสามารถทำอันตราย[[มนุษย์]]ได้ หากินในเวลา[[กลางคืน]] โดยจับ[[ปลา]]ขนาดเล็กกินเป็นอาหาร
แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาค[[เอเชียอาคเนย์]] เป็นงูที่มีพิษอ่อนมาก ไม่ปรากฏว่า[[พิษ]]จะสามารถทำอันตราย[[มนุษย์]]ได้ หากินในเวลา[[กลางคืน]] โดยจับ[[ปลา]]ขนาดเล็กกินเป็นอาหาร
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
จากความแปลกประหลาดและไม่เป็นอันตรายนี้ อีกทั้งยังเป็นงูที่หาได้มายาก ราคาจึงไม่แพง ทำให้งูกระด้างเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็น[[สัตว์เลี้ยง]] สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยง[[สัตว์เลื้อยคลาน]]หรือสัตว์แปลก ๆ โดยสามารถเลี้ยงได้ใน[[ตู้ปลา]] โดยการจัดสภาพแวดล้อมในที่เลี้ยงให้เลียนแบบธรรมชาติ โดยใส่น้ำเพียงตื้น ๆ ให้งูพออาศัยและใช้กิ่งไม้หรือขอนไม้วางไว้ เพื่อให้งูเกาะเกี่ยวได้ ให้อาหารโดยใช้ลูกปลาขนาดเล็กที่ว่ายน้ำช้า เช่น [[ปลากัด]], [[วงศ์ปลาสอด|ปลาสอด]] และ[[ปลาหางนกยูง]] เป็นต้น
จากความแปลกประหลาดและไม่เป็นอันตรายนี้ อีกทั้งยังเป็นงูที่หาได้มายาก ราคาจึงไม่แพง ทำให้งูกระด้างเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็น[[สัตว์เลี้ยง]] สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยง[[สัตว์เลื้อยคลาน]]หรือสัตว์แปลก ๆ โดยสามารถเลี้ยงได้ใน[[ตู้ปลา]] โดยการจัดสภาพแวดล้อมในที่เลี้ยงให้เลียนแบบธรรมชาติ โดยใส่น้ำเพียงตื้น ๆ ให้งูพออาศัยและใช้กิ่งไม้หรือขอนไม้วางไว้ เพื่อให้งูเกาะเกี่ยวได้ ให้อาหารโดยใช้ลูกปลาขนาดเล็กที่ว่ายน้ำช้า เช่น [[ปลากัด]], [[วงศ์ปลาสอด|ปลาสอด]] และ[[ปลาหางนกยูง]] เป็นต้น


ซึ่งในแวดวงสัตว์เลี้ยง บางครั้งจะมี[[ภาษาเฉพาะ]]เรียกงูกระด้างว่า "งูอะโรวาน่า" อันเนื่องจากหนวด 2 เส้นนี้ที่แลดูคลายหนวดของ[[ปลาอะโรวาน่า]]<ref>PaaYuu, ''งูกระด้าง'' คอลัมน์ เราไม่แปลก, นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 269 วันที่ [[24 กรกฎาคม|24]]-[[30 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2553]] หน้า 54</ref>
ซึ่งในแวดวงสัตว์เลี้ยง บางครั้งจะมี[[ภาษาเฉพาะ]]เรียกงูกระด้างว่า "งูอะโรวาน่า" อันเนื่องจากหนวด 2 เส้นนี้ที่แลดูคล้ายหนวดของ[[ปลาอะโรวาน่า]]<ref>PaaYuu, ''งูกระด้าง'' คอลัมน์ เราไม่แปลก, นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 269 วันที่ [[24 กรกฎาคม|24]]-[[30 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2553]] หน้า 54</ref>
{{commons|Category:Erpeton tentaculatum}}
{{commons|Category:Erpeton tentaculatum}}
==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:00, 1 มกราคม 2555

งูกระด้าง
งูกระด้างในสวนสัตว์
ส่วนหัวของูกระด้าง
สถานะการอนุรักษ์
Not evaluated (IUCN 3.1)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Colubridae
วงศ์ย่อย: Homalopsinae
สกุล: Erpeton
สปีชีส์: E.  tentaculatum
ชื่อทวินาม
Erpeton tentaculatum
Lacépède, 1800[1]
ชื่อพ้อง
  • Erpeton tentaculatus Lacépède, 1800
  • Rhinopirus erpeton Merrem, 1820
  • Homalopsis herpeton Schlegel, 1837
  • Herpeton tentaculatum Jan, 1860

งูกระด้าง (อังกฤษ: Tentacled snake, Fishing snake, ชื่อวิทยาศาสตร์: Erpeton tentaculatum) เป็นงูพิษอ่อนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) ซึ่งจัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Erpeton[2]

งูกระด้าง มีลําตัวสีน้ำตาลและดํา หรือบางครั้งจะพบมีสีสันที่หลากหลายมากกว่านี้ แต่ก็จะเป็นไปในกลุ่มสีที่แฝงตัวเข้ากับธรรมชาติได้ มีส่วนหัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบน มีจุดเด่นที่สังเกตได้ชัด คือ มีอวัยวะที่คล้ายหนวดสั้นหุ้มด้วยเกล็ดเล็ก ๆ อยู่ 2 เส้น

มีความยาวเต็มที่ประมาณ 50-90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติต่าง ๆ รวมทั้งในนาข้าว หรือกระทั้งในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มด้วย เป็นงูที่มีลักษณะแปลก คือ เมื่อถูกรบกวนหรือถูกจับจะทำตัวแข็งทื่อคล้ายกิ่งไม้ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "งูกระด้าง"[3]

แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นงูที่มีพิษอ่อนมาก ไม่ปรากฏว่าพิษจะสามารถทำอันตรายมนุษย์ได้ หากินในเวลากลางคืน โดยจับปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหาร

จากความแปลกประหลาดและไม่เป็นอันตรายนี้ อีกทั้งยังเป็นงูที่หาได้มายาก ราคาจึงไม่แพง ทำให้งูกระด้างเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ โดยสามารถเลี้ยงได้ในตู้ปลา โดยการจัดสภาพแวดล้อมในที่เลี้ยงให้เลียนแบบธรรมชาติ โดยใส่น้ำเพียงตื้น ๆ ให้งูพออาศัยและใช้กิ่งไม้หรือขอนไม้วางไว้ เพื่อให้งูเกาะเกี่ยวได้ ให้อาหารโดยใช้ลูกปลาขนาดเล็กที่ว่ายน้ำช้า เช่น ปลากัด, ปลาสอด และปลาหางนกยูง เป็นต้น

ซึ่งในแวดวงสัตว์เลี้ยง บางครั้งจะมีภาษาเฉพาะเรียกงูกระด้างว่า "งูอะโรวาน่า" อันเนื่องจากหนวด 2 เส้นนี้ที่แลดูคล้ายหนวดของปลาอะโรวาน่า[4]

อ้างอิง

  1. EOL.org
  2. จาก zipcodezoo.com (อังกฤษ)
  3. กระด้าง ๒ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  4. PaaYuu, งูกระด้าง คอลัมน์ เราไม่แปลก, นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 269 วันที่ 24-30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 54