ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลูกปืนใหญ่ (พืช)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
* [http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=17&t=19537 19537.โพธิญาณพฤกษา : ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ)]
บรรทัด 32: บรรทัด 32:


== เกร็ด ==
== เกร็ด ==
สาละลังกาเป็นต้นไม้ประจำ[[มหาวิทยาลัยชินวัตร]]และในอดีตเคยเป็นต้นไม้ประจำ[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]](ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นต้น[[ราชพฤกษ์]]แล้ว)
* สาละลังกาเป็นต้นไม้ประจำ[[มหาวิทยาลัยชินวัตร]]และในอดีตเคยเป็นต้นไม้ประจำ[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]](ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นต้น[[ราชพฤกษ์]]แล้ว)
* สาละลังกาเป็นต้นไม้ประจำ [[โรงเรียนสารวิทยา]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:22, 24 ธันวาคม 2554

สาละลังกา
ดอกสาละ ที่วัดนิเวศฯ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Lecythidaceae
สกุล: Couroupita
สปีชีส์: C.  guianensis
ชื่อทวินาม
Couroupita guianensis
Aubl.

สาละลังกา หรือ ลูกปืนใหญ่[1] (Cannonball Tree) เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรงทั้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

สาละลังกาเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา ดอกสีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ปลายช่อโน้มลง กลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกแข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็นมีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่[2]

พุทธประวัติ

ประสูติ:ก่อนพุทธศักราช 80 ปี พระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดพระสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีพระสูติการที่กรุงเทพวทหะตามธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์ เมื่อขบวนเสด็จมาถึงสวนลุมพินีวันซึ่งเป็นป่าต้นสาละ พระนางได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร
ตรัสรู้:เมื่อเจ้าชายสิทธัตถเสวยข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาแล้ว ได้ทรงอธิษฐานว่าถ้าพระองค์ได้สำเร็จพระโพธิญาณ ขอให้การลอยถาดทองคำนี้สามารถทวนกระแสน้ำแห่งแม่น้ำเนรัญชลาได้ เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด ปรากฏว่าถาดได้ลอยทวนกระแสน้ำ จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละ ตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งบนบัลลังก์ภายใต้ต้นโพ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ปรินิพพาน:เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี มีรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดพระที่บรรทม ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ แล้วพระองค์ก็ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน[3]

เกร็ด

อ้างอิง

  1. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  2. สาละลังกา ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. สาละลังกา ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

แหล่งข้อมูลอื่น