ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟ็อลคส์วาเกิน กอล์ฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: ลิงก์บทความคัดสรร cs:Volkswagen Golf
บรรทัด 71: บรรทัด 71:


[[หมวดหมู่:รถโฟล์กสวาเกน|กอล์ฟ]]
[[หมวดหมู่:รถโฟล์กสวาเกน|กอล์ฟ]]
{{Link FA|cs}}


[[ar:فولكس جولف]]
[[ar:فولكس جولف]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:26, 20 ธันวาคม 2554

ฟ็อลคส์วาเกิน กอล์ฟ
โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโฟล์กสวาเกน
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2517-ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังเปิดประทุน 2 ประตู
แฮทช์แบค 3 ประตู
แฮทช์แบค 5 ประตู
กระบะ 2 ประตู(เฉพาะรุ่นแรก)
รุ่นที่คล้ายกันฮอนด้า ซีวิค
โตโยต้า โคโรลล่า
มาสด้า 3
นิสสัน ซันนี่/ทีด้า
ฟอร์ด โฟกัส
มิตซูบิชิ แลนเซอร์
เชฟโรเลต ออพตร้า
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าโฟล์กสวาเกน บีเทิล (รถทรงเต่าทอง)

โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ เป็นรถรุ่นหนึ่งของรถยนต์ยี่ห้อ โฟล์กสวาเกน มียอดขายสะสมจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 26 ล้านคัน เป็นรถยนต์รุ่นที่ขายดีที่สุดของโฟล์กสวาเกน และเป็นรุ่นที่ขายดีเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจาก โตโยต้า โคโรลล่า และ ฟอร์ด เอฟ-ซีรีส์ ซึ่งมียอดขายรวม 37 ล้านคัน และ 32 ล้านคัน ตามลำดับ

โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ จะมีรูปทรงท้ายกุด เทียบเท่า ฮอนด้า แจ๊ซ, โตโยต้า ยาริส, มาสด้า 2 ฯลฯ แต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า (ขนาดของมันจะเปรียบเทียบได้กับ ฮอนด้า ซีวิค, โตโยต้า โคโรลล่า ฯลฯ เริ่มผลิตครั้งแรกในพ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบัน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวม 6 รุ่น (Generation) ดังนี้

รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2517-2527)

โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ รุ่นที่1

กอล์ฟ รุ่นที่ 1 ใช้รหัสตัวถังว่า Mk1 รหัสรถ 17 โดยถูกออกแบบเพื่อมาทดแทนรถรุ่น โฟล์กสวาเกน บีเทิล หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อรถเต่าทอง โดยในอเมริกาและแคนาดา โฟล์กสวาเกนได้ใช้ชื่อ โฟล์กสวาเกน แรบบิท (Volkswagen Rabbit) ในการขาย และในเม็กซิโกได้ใช้ชื่อรุ่น โฟล์กสวาเกน คาริบ (Volkswagen Caribe) แทนชื่อกอล์ฟ

กอล์ฟ Mk1 มีระบบเกียร์ให้เลือกซื้อทั้งสิ้น 3 แบบ คือ เกียร์ธรรมดา 4 สปีด, เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด (สมัยนั้นระบบเกียร์อัตโนมัติยังไม่ก้าวหน้า ทำให้เกียร์อัตโนมัติในยุคนั้นมีราคาแพง และสิ้นเปลืองน้ำมันมาก)

ในยุคนั้น ผู้ใช้รถไม่คุ้นชินกับรถที่มีลักษณะท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง และไม่เชื่อมั่นในความปลอดภัย ด้วยเกรงว่าผู้โดยสารที่นั่งแถวหลังจะได้รับอันตรายได้ง่ายหากถูกชนท้าย รถเกือบทุกรุ่นที่มีลักษณะท้ายกุดในช่วงนั้นจึงมักไม่ประสบความสำเร็จ แต่ โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ ซึ่งมีลักษณะท้ายกุด กลับสามารถประสบความสำเร็จได้เป็นวงกว้าง จนในภายหลังมีการเพิ่มกระบะบรรทุกของลงไปที่ด้านหลัง กลายเป็นรถโฟล์กกอล์ฟที่มีลักษณะแบบรถกระบะ ซึ่งผลิตอยู่ระยะหนึ่ง ก็ได้แยกตัวไปเป็นรถรุ่นใหม่ คือ โฟล์กสวาเกน เจ็ตตา (Volkswagen Jetta) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ โฟล์กสวาเกน เวนโต (Volkswagen Vento) นั่นเอง

ในพ.ศ. 2519 กอล์ฟได้มีการออกรุ่นพิเศษออกมา คือ โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ จีทีไอ (Volkswagen Golf GTI) ซึ่งเป็นรถสปอร์ตขนาดเล็ก จีทีไอของMk1ใช้ขนาดลูกสูบใหญ่ที่สุดไม่เกิน 1800 ซีซี แต่แรงจัด ให้แรงได้สูงสุดถึง 110 แรงม้า (โดยที่มีน้ำหนักรถเปล่าเพียง 730 กิโลกรัม) และในช่วงท้ายๆ ก่อนเลิกผลิตMk1 ได้มีการนำระบบหัวฉีดเข้ามาใช้แทนระบบคาร์บูเรเตอร์ ทำให้เครื่องยนต์ให้แรงได้มากขึ้น และประหยัดน้ำมันมากขึ้น นอกจากนี้ กอล์ฟ Mk1 ทุกคัน ขับเคลื่อนล้อหน้าด้วย ซึ่งเป็นความล้ำสมัยมากในยุคนั้น

กอล์ฟ Mk1 ในเกือบทุกตลาดได้เลิกผลิตลงใน พ.ศ. 2527 ยกเว้นรถกอล์ฟรุ่นเปิดประทุน(หลังคารถเปิด-ปิดได้) ที่ขายในชื่อ โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ คาบริโอเล็ต(Volkswagen Golf Cabriolet) ที่ได้ผลิตโดยใช้แม่แบบMk1ขายอย่างต่อเนื่องไปจนถึงพ.ศ. 2536 จึงเปลี่ยนไปใช้แม่แบบของรถMk3 และนอกจากนี้ ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่กอล์ฟ Mk1 สามารถขายได้อย่างต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมานี้ จึงได้เลิกผลิตลงอย่างสมบูรณ์ รวมยอดขายรถ โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ Mk1 ทั้งสิ้น 6.8 ล้านคัน

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2528-2535)

โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ รุ่นที่ 2

กอล์ฟ รุ่นที่ 2 หรือ กอล์ฟ Mk2 รหัสรถ 19E มีลักษณะรถใหญ่ขึ้นเล็กน้อย และได้ออกแบบให้เริ่มมีความโค้งมน มีการเพิ่มรุ่นพิเศษขึ้นมากมาย ทำให้มีการใช้งานที่หลากหลาย เช่น รุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ, รุ่นออฟโรด (ลุยป่า ลุยเขา ลุยดิน ฯลฯ) ฯลฯ

รุ่นพิเศษที่มีชื่อเสียงของกอล์ฟ Mk2 คือ รุ่น GTI ซึ่งมีการใช้ระบบ 16 วาล์ว และรุ่นลิมิเต็ด (Limited) ซึ่งมีการผลิตขึ้นเพียง 71 คัน ในช่วงนั้นขายในราคา 41,250 ดอลลาร์สหรัฐ (มูลค่าเงินจำนวนดังกล่าวในสมัยนั้น เทียบเท่า 75,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.5 ล้านบาทในปัจจุบัน) แต่เครื่องยนต์ให้แรงสูงถึง 150 แรงม้า ทอร์ค 252 นิวตันเมตร สามารถเร่งความเร็วจาก 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ใน 7.2 วินาที เป็นเครื่องยนต์ที่มีแรงสูงที่สุดในรุ่นกอล์ฟในขณะนั้น ส่วนรุ่นเปิดประทุน หรือคาบริโอเล็ตนั้น ในช่วงนี้ คาบริโอเล็ตได้ผลิตโดยใช้แม่แบบจากรุ่นที่ 1 ทำให้ไม่มีการผลิตกอล์ฟ Mk2 แบบเปิดประทุน

กอล์ฟ Mk2 ยกเลิกการผลิตใน พ.ศ. 2535 รวมยอดขายทั่วโลกประมาณ 6.3 ล้านคัน

รุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2535-2541)

โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ รุ่นที่ 3

กอล์ฟ รุ่นที่ 3 หรือ กอล์ฟ Mk3 รหัสรถ 1H มีลักษณะรถที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย ในอเมริกา รถกอล์ฟรุ่น 3 ประตู(แฮทช์แบค) เกือบทั้งหมดที่พบได้ในอเมริกาในยุคนั้น มักจะเป็นรถรุ่นสปอร์ต GTI ส่วนคาบริโอเล็ต จากเดิมที่ใช้แม่แบบจากรถรุ่น Mk1 ก็ได้เปลี่ยนมาใช้แม่แบบของกอล์ฟ Mk3 นี้แทน

ในรุ่นที่ 3 นี้ มีระบบเกียร์ให้เลือกคือ ธรรมดา 4 และ 5 สปีด ส่วนเกียร์อัตโนมัติแบบ 3 สปีดที่ใช้มาตั้งแต่รุ่น Mk1 ได้ถูกเปลี่ยนเป็น 4 สปีด เพื่อประหยัดน้ำมัน และเพิ่มอัตราเร่งและอัตราเร็ว

นอกจากนี้ ยังมีการผลิตรถรุ่นพิเศษ ฉลอง 20 ปี โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ จีทีไอ (20th Anniversary GTI) จำนวน 1,000 คัน แต่ทว่า เนื่องจากความผิดพลาด รถรุ่นพิเศษนี้หลายคันได้เข้าสู่ตลาดรถเช่าในประเทศอังกฤษ ซึ่งรถเช่าโดยทั่วไปจะมีผู้เช่าจำนวนมาก ถูกใช้งานหนักอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน และมักไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ ภายในเวลาไม่กี่ปี รถรุ่นพิเศษนี้เกือบทั้งหมดก็ได้หมดสภาพลงและถูกขายสู่ในตลาดรถมือสอง เหลือไม่กี่ร้อยคันเท่านั้นที่ยังเหลือรอดเป็นรถคุณภาพ

กอล์ฟ Mk3 มียอดการผลิตรวมทั้งสิ้น 4.8 ล้านคัน

รุ่นที่ 4 (พ.ศ. 2541-2548)

โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ รุ่นที่ 4

กอล์ฟ รุ่นที่ 4 หรือ กอล์ฟ Mk4 รหัสรถ 1J ประสบความสำเร็จในแถบยุโรปมากขึ้น โดยได้ครองตำแหน่งรถที่มียอดขายสูงสุดในยุโรปประจำปี ค.ศ. 2001

ในรุ่นที่ 4 มีระบบเกียร์ให้เลือก 3 ระบบ คือ เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ขนาดเครื่องยนต์เล็กที่สุด 1400 ซีซี และมีการทำลิมิเต็ดเอดิชันออกมาเป็นจำนวนมากมายหลายรุ่น โดยรุ่นที่เป็ที่น่าสนใจ คือ กอล์ฟ R32 ขนาดเครื่องยนต์ 3200 ซีซี 237 แรงม้า เกียร์ธรรมดา 6 สปีด ขับเคลื่อน 4 ล้อ และการตกแต่งภายในที่หรูหราเป็นพิเศษ สามารถเร่งความเร็วจาก 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ใน 6.5 วินาที

กอล์ฟ Mk4 มียอดการผลิตรวมทั้งสิ้น 4.3 ล้านคัน (ส่วนคาบริโอเล็ตในช่วงนี้ ใช้ตัวถังของ Mk3)

รุ่นที่ 5 (พ.ศ. 2546-2552)

โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ รุ่นที่ 5

กอล์ฟ รุ่นที่ 5 หรือ กอล์ฟ Mk5 รหัสรถ 1K เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่มีการขายในชื่อ แรบบิท ในช่วงนี้ได้มีการนำระบบเกียร์แบบใหม่มาใช้ คือ เกียร์ทิปโทรนิค และเกียร์ดีเอสจี (ซึ่งทั้งคู่ไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย)

เกียร์ทิปโทรนิค คือเกียร์ที่สามารถปรับให้เป็นได้ทั้งเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติในตัวเดียวกัน ส่วนเกียร์ดีเอสจี เป็นเกียร์ที่ออกแบบเพื่อการขับรถด้วยความเร็วสูงมากโดยเฉพาะ เน้นอัตราเร่งและความเป็นรถสปอร์ต (สุดยอดรถซุปเปอร์คาร์ของปัจจุบัน"บูกัตติ เวย์รอน" เลือกใช้ระบบเกียร์ดีเอสจี ควบคู่กับเครื่องยนต์ขนาด 8000 ซีซี กลายเป็นรถมีแรงถึง 987 แรงม้า และเร่งความเร็วสูงสุดได้ถึง 406 กิโมตรต่อชั่วโมง) โดยจะใช้กับกอล์ฟ R32 เป็นส่วนใหญ่ (แต่เกียร์ดีเอสจีในR32 จะใช้แบบ 6 สปีด และขนาดเครื่องยนต์เล็กกว่า จึงมีอัตราเร่งและอัตราเร็วที่ต่ำกว่าบูกัตติ แต่ก็ถือว่าสูง)

ส่วน R32ก็ได้เปลี่ยนตัวถังมาเป็นแบบ Mk5 และได้ปรับปรุงระบบเครื่องยนต์ให้มีแรงเพิ่มขึ้น จาก 237 เป็น 250 แรงม้า เกียร์ดีเอสจี สามารถเร่งความเร็วจากศูนย์ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ใน 6.2 วินาที

อย่างไรก็ตาม ในช่วงดังกล่าวนี้ ไม่มีการผลิตคาบริโอเล็ต

รุ่นที่ 6 (พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน)

โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ รุ่นที่ 6

กอล์ฟรุ่นที่ 6 หรือ กอล์ฟ Mk6 รหัสรถ 5K ได้เปิดตัวครั้งแรกในงานปารีสออโตโชว์ ในเดือนตุลาคม ปี 2008 ณ ประเทศฝรั่งเศส ในรุ่นนี้ การผลิตเกียร์อัตโนมัติทั้งหมดถูกยกเลิก ด้วยเหตุที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะขับได้อย่างสะดวกสบายกว่า แต่ประสิทธิภาพของเกียร์อัตโนมัตินั้นต่ำ ใช้น้ำมันอย่างสิ้นเปลือง อัตราเร่งและสมรรถนะต่ำกว่าเกียร์ธรรมดา และโฟล์กสวาเกน กอล์ฟ ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะรถสปอร์ตเสียส่วนใหญ่ จึงมียอดขายเกียร์อัตโนมัติไม่ดีนัก ในที่สุดก็ยกเลิกเกียร์อัตโนมัติ และเปลี่ยนไปเน้นการใช้เกียร์ธรรมดากับเกียร์ดีเอสจีเป็นหลัก และมีเกียร์ทิปโทรนิคคงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อย

และนอกจากนี้ ยังมีการทำรถที่ใช้ระบบเชื่อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือแอลพีจี ซึ่งเป็นรถที่ใช้พลังงานทดแทน และคาบริโอเล็ต กำลังจะถูกผลิตขึ้นอีกครั้ง

แม่แบบ:Link FA