ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจมส์ แฟรนโก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: lv:Džeimss Franko
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: gl:James Franco
บรรทัด 259: บรรทัด 259:
[[fi:James Franco]]
[[fi:James Franco]]
[[fr:James Franco]]
[[fr:James Franco]]
[[gl:James Franco]]
[[he:ג'יימס פרנקו]]
[[he:ג'יימס פרנקו]]
[[hi:जेम्स फ्रेंको]]
[[hi:जेम्स फ्रेंको]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:53, 18 ธันวาคม 2554

เจมส์ แฟรนโก
รอบปฐมทัศน์ภาพยนตร์ Spiderman 3 ในนิวยอร์ก
รอบปฐมทัศน์ภาพยนตร์ Spiderman 3 ในนิวยอร์ก
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด (1978-04-19) 19 เมษายน ค.ศ. 1978 (45 ปี)
เจมส์ เอ็ดเวิร์ด แฟรนโก
อาชีพนักแสดง, ผู้กำกับ ,นักเขียนบทภาพยนตร์ ,โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ และ ศิลปิน
ลูกโลกทองคำนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมประเภทมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์
2002 James Dean

เจมส์ เอ็ดเวิร์ด แฟรนโก (อังกฤษ: James Edward Franco) เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1978 เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน ผู้กำกับ นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ และ ศิลปิน เขาเริ่มแสดงในช่วงปลายคริสตทศวรรษ 1990 ปรากฏในซีรีส์เรื่อง Freaks and Geeks และ แสดงนำในภาพยนตร์วัยรุ่นอีกหลายเรื่อง และในปี 2001 ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงยอดเยี่ยมจากซีรีส์เรื่อง James Dean

จนเป็นที่รู้จักในต้นคริสตทศวรรษ 2000 บทบาทแฮร์รี ออสบอร์น ในภาพยนตร์เรื่องสไปเดอร์แมน ในปี 2005 เขาแสดงในภาพยนตร์สงครามเรื่อง The Great Raid ในบทโรเบิร์ต พรินซ์ ในปี 2006 แฟรนโกได้แสดงนำในภาพยนตร์ฮอลลีวูด 3 เรื่อง คือ Tristan & Isolde , Annapolis และ Flyboys ในปี 2008 แฟรนโกนักแสดงในหนังตลกเรื่อง Pineapple Express ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์เพลงหรือภาพยนตร์ตลก เขายังรับบทเด่นในภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่อง Milk

ชีวิตช่วงแรก

แฟรนโกเกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1978 ในพาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นบุตรชายของเบตซี (นามสกุลเดิม เวิร์น) กวี นักประพันธ์ บรรณาธิการ กับดั๊ก แฟรนโก[1] คุณยาย มิตซี เลวีน เวิร์น ได้เปิดแกเลอรีศิลปะที่ชื่อ เวิร์นอาร์ตแกเลอรี ในคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ[2] พ่อของแฟรนโกมีเชื้อสายโปรตุเกสและสวีเดน[3] ส่วนแม่ของแฟรนโกเป็นคนยิว[4][5] ที่ลี้ภัยมาจากรัสเซีย[1] แฟรนโกโตที่แคลิฟอร์เนียกับน้องชายอีกสองคน ชื่อทอมและเดฟ[1][6] เขาจบระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนมัธยมพาโลอัลโต ในปี 1996 เขาได้รับเลือกเป็นนักเรียนที่ยิ้มมากที่สุด[1] จากนั้นเขาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) เอกภาษาอังกฤษ[7] แต่เขาก็หยุดจากการเรียนตั้งแต่ชั้นปี 1 และเลือกที่ก้าวสู่การแสดงอาชีพในฐานะนักแสดง โดยเรียนการแสดงกับโรเบิร์ต คาร์นีกี ที่เพลย์เฮาส์เวสต์[1]

อาชีพ

งานช่วงแรก

หลังจากการฝึกหัดนานกว่า 15 เดือน เขาเริ่มจะไปออดิชันในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เขาได้ร่วมแสดงในบทนำในซีรีส์ทางโทรทัศน์ ที่ออกฉายอยู่ไม่กี่ตอนแต่ก็ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดี ในซีรีส์เรื่อง Freaks and Geeks[8] แฟรนโกอธิบายเกี่ยวกับซีรีส์นี้ว่า "เป็นอะไรที่สนุกที่สุดเรื่องหนึ่ง" ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีที่เขาได้รับ[9] ในอีกบทสัมภาษณ์หนึ่ง แฟรนโกพูดว่า "เมื่อตอนที่เราทำ Freaks and Geeks ผมไม่เข้าใจเลยว่าหนังหรือทีวี เขาทำกันอย่างไร และผมก็แสดงออกมาแม้ว่าจะไม่มีกล้องจับที่ผม...ผมก็เริ่มแสดงสด แต่ก็ไม่ได้ดีอะไรมากมาย" [10]

บทหลักของเขาเรื่องแรกในภาพยนตร์ คือหนังโรแมนติกคอเมดี้ เรื่อง Whatever It Takes (2000) ที่เขาแสดงร่วมกับอดีตแฟนเก่า มาร์ลา โซโคลอฟฟ์[11][12] ต่อมาเขาได้แสดงในบทเจมส์ ดีน ภาพยนตร์โทรทัศน์แนวชีวประวัติ กำกับโดยมาร์ก ไรเดลล์ ในปี 2001[13][14] เคน ทักเกอร์แห่งหนังสือ เอนเทอร์เทนเมนต์วีกลี เขียนไว้ว่า "แฟรนโกสอบผ่านสบาย ๆ กับบทของดีน แต่แทนที่จะถูกควบคุมที่ดูไม่น่าเชื่อถือ เขากลับเป็นชายหนุ่มที่ไร้รากนั้น"[15] เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ[16] และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอมมีและรางวัลแซกอวอร์ด อีกด้วย[17][18]

ไอ้แมงมุม และงานหลังจากนั้น

เดนิส โอ แฮร์ กับเจมส์ แฟรนโกในบทบาทภาพยนตร์ของกัส แวน แซงต์ เรื่อง Milk กำลังสนธนาหัวข้อ ฮาร์วีย์ มิลก์

ในปี 2002 เขาได้แสดงในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร เรื่อง ไอ้แมงมุม ที่ถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพของเขา โดยแฟรนโกรับบทเป็นแฮร์รี ออสบอร์น บุตรชายของตัวร้าย กรีน ก็อบลิน (วิลเลม ดาโฟ) และเพื่อนรักที่เป็นไอ้แมงมุม (โทบีย์ แม็คไกวร์)[19] เดิมทีแฟรนโกได้ถูกพิจารณาไว้ในบทนำ ไอ้แมงมุม/ปีเตอร์ ปาร์กเกอร์ ในภาพยนตร์[20] แต่บทก็ตกไปอยุ่ที่โทบีย์ แม็คไกวร์ ด้านคำวิจารณ์ ท็อดด์ แม็กคาร์ธี แห่ง วาไรตี้ เขียนไว้ว่า "มีส่วนที่ดีที่สุด ที่เกิดขึ้นระหว่างแม็คไกวร์กับแฟรนโก ในหนังเรื่องนี้"[21] ไอ้แมงมุม ประสบความสำเร็จด้านรายได้และคำวิจารณ์เป็นอย่างดี[22] ภาพยนตร์ทำรายได้ 114 ล้านเหรียญสหรัฐ ในสัปดาห์เปิดตัวในอเมริกาเหนือ และทำรายได้รวมที่ 822 ล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก[23] ในปีเดียวกัน แฟรนโกแสดงในหนังดราม่า เรื่อง City by the Sea (2002)[1][24] ปีถัดมาเขาแสดงร่วมในภาพยนตร์ของโรเบิร์ต อัลต์แมน ร่วมกับเนฟ แคมป์เบลล์ เรื่อง The Company (2003)[25]

จากการประสบความสำเร็จของภาพยนตร์ ไอ้แมงมุม ทำให้เขาได้แสดงบทบาทต่อในภาคต่อ ไอ้แมงมุม 2[26] ในปี 2004 ภาพยนตร์ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดีจากนักวิจารณ์[27] และเป็นข้อพิสูจน์ในด้านความสำเร็จอย่างมาก โดยทำสถิติใหม่ของหนังเปิดตัวสุดสัปดาห์ในบ็อกซ์ออฟฟิสในอเมริกาเหนือ[28] ด้วยยอด 783 ล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก กลายเป็นหนังที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในปี 2004[23] ปีถัดมาเขาแสดงในภาพยนตร์สงครามเรื่อง The Great Raid รับบทเป็นร้อยเอกโรเบิร์ต พรินซ์ ของกองทัพอเมริกันในกองบัญชาการกองทัพที่ 6 ที่ได้วางแผนช่วยผู้ที่ถูกคุมขังในค่ายกักกันในคาบานาทวน ประเทศฟิลิปปินส์ ออกมา[29][30]

ในปี 2006 แฟรนโกแสดงร่วมกับไทรีส กิบสัน ใน Annapolis[31] ผู้กล้าในตำนาน ทริสตัน ใน Tristan & Isolde เป็นเรื่องราวความรักของ ทริสตันและอิโซต์ นำแสดงร่วมกับนักแสดงหญิงชาวอังกฤษ โซเฟีย ไมลส์[32] จากนั้นเขาได้ร่วมฝึกกับทีมสตันต์ที่ชื่อ "เดอะบลูแอนเจิลส์" และได้รับใบอนุญาตบิน สำหรับการเตรียมตัวในบทบาทเรื่อง Flyboys[33] ที่ออกฉายเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 ต่อมาในเดือนเดียวกันเขาปรากฏในภาพยนตร์แนวสยองขวัญเรื่อง The Wicker Man นำแสดงโดยนิโคลัส เคจ กำกับโดยซันนี[34] และเช่นเดียวกันในปี 2006 เขาปรากฏตัวในบทเล็ก ๆ ในภาพยนตร์แนวโรแมนติกคอเมดี้เรื่อง The Holiday[14][35]

ในปี 2007 เขากลับมารับบทแฮร์รี ออสบอร์น อีกครั้งใน ไอ้แมงมุม 3[36] บทวิจารณ์ของภาคนี้ตรงกันข้ามกับในสองภาคแรกที่ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดี[22][27] ไอ้แมงมุม 3 ได้รับเสียงวิจารณ์บวกลบปนกัน[37] ถึงกระนั้นภาพยนตร์ก็ทำรายได้ทั่วโลกได้ 891 ล้านเหรียญสหรัฐ และถือเป็นภาพยนตร์หนึ่งในซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด และถือเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดของแฟรนโก จากข้อมูลปลายปี 2008[23] ในปีเดียวกันแฟรนโก แสดงในบทเล็ก ๆ ในภาพยนตร์ตลกเรื่อง Knocked Up[38]

เขาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Pineapple Express หนังตลกที่แสดงร่วมและร่วมเขียนบทกับเซธ โรเกน และผลิตโดยจัดด์ อแพโทว์ ทั้งคู่เคยร่วมงานกับแฟรนโกในภาพยนตร์ Freaks and Geeks[9][39] นักวิจารณ์ นิวยอร์กไทมส์ มาโนห์ลา ดาร์จิส เขียนไว้ว่า "เขาดูความสุขในบท ซอล ที่ดูสบาย ๆ น่าขัน และยังไม่สามารถระงับความเซ็กซี่ ทั้ง ๆ ที่มีม่านผมที่มันกับที่พักพุ ๆ พัง ๆ ที่มีค่าศูนย์ เกินกว่าผู้หญิงจะยอมรับได้ เป็นการแสดงที่ไม่น่าประทับใจที่ดูเกินพอ อีกทั้งทำให้หนังดูเป็นผู้เป็นคนเกินไป ทำเสียงฉุนเฉียวซึ่งกลายเป็นการสร่างเมาที่น่าผิดหวังและดูเครียด"[40] การแสดงจากภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงชายยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์เพลงหรือตลก[16] ในปี 2008 เขามีผลงานในภาพยนตร์ของศิลปินที่ชื่อคาร์เตอร์ จัดการแสดงที่แกลเลอรี Yvon Lambert ในปารีส[41] และเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2008 เขาเป็นพิธีกรรายการ แซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์[42]

แฟรนโกแสดงร่วมกับ ฌอน เพนน์ จอช โบรลิน และเอไมล์ เฮิร์ช ในภาพยนตร์ชีวประวัติในปี 2008 ของฮาร์วีย์ มิลก์ เรื่อง Milk กำกับโดย กัส แวน แซงต์[43] เขารับบทเป็นสกอตต์ สมิธ คนรักของฮาร์วีย์ มิลก์ (เพนน์) คำวิจารณ์การแสดงเรื่องนี้ เคนเนธ ทูแรนแห่ง ลอสแอนเจลิสไทมส์ เขียนไว้ว่า "แฟรนโกดูเหมาะสมกับเขา (เพนน์) ในฐานะคนรักที่สุดท้ายก็มีชีวิตด้านการเมือง"[44] สำหรับการแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ แฟรนโกได้รับรางวัลหนังอินดี้ยอดเยี่ยมแห่งสหรัฐอเมริกา ในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม[45]

ชีวิตส่วนตัว

ในปี ค.ศ. 2008 แฟรนโกศึกษาจบปริญญาตรีภาษาอังกฤษจากยูซีแอลเอ[46] เขาทำวิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลของนักประพันธ์ โมนา ซิมป์สัน[47] ต่อจากนั้นแฟรนโกย้ายมาที่นิวยอร์กเพื่อศึกษาปริญญาโทด้านการเขียนจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และโรงเรียนศิลปะทิชของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ที่ที่เขาศึกษาด้านการทำภาพยนตร์ที่นี่[48][49][50][51]

แฟรนโก ถ่ายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009

ในด้านศิลปะแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจิตรกรรม แฟรนโกมีความสามารถตั้งแต่ศึกษาระดับไฮสคูล ขณะที่เขาเรียนอย่างเข้มงวดที่โรงเรียนศิลปะแคลิฟอร์เนียสเตดซัมเมอร์ (California State Summer School for the Arts)[1] แฟรนโกเคยพูดว่า งานด้านจิตรกรรมเป็นหนทางในการ "ปลดปล่อย" ที่เขาต้องการในช่วงเรียนไฮสคูล และแท้จริงแล้วเขาวาดภาพยาวนานกว่าการแสดงเสียอีก[52] งานเขียนของเขาแสดงครั้งแรกสู่สาธารณะชนที่ กลูแกเลอรี ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งแต่ 7 มกราคม ค.ศ. 2006 ถึง 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006[1][53] นอกจากนั้นในภาพยนตร์ ไอ้แมงมุม 3 ยังมีฉากที่เขาวาดรูปอยู่ในเรื่องด้วย[54]

ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2006 แฟรนโกมีความสัมพันธ์กับนักแสดงสาว อาห์นา โอ'ไรลี[55][56]ในปี ค.ศ. 2008 แฟรนโกถูกขนานนามว่าเป็นหน้าใหม่ของน้ำหอมผู้ชายกุชชี[48][57]

เขาถูกเลือกให้เป็นผู้พูดในวันสำเร็จการศึกษาที่อายุน้อยที่สุด ที่เรียนเก่าของเขา ยูซีแอลเอ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2009 แต่เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2009 สื่อประกาศออกมาว่าแฟรนโกยกเลิกการพูดนี้เนื่องจากตารางเวลาขัดกัน[58] ซึ่งต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 แฟรนโกออกวิดีโอเสียดสีในเว็บไซต์ตลก "ฟันนี่ออร์ดาย" ล้อเลียนเรื่องเกี่ยวกับนาทีสุดท้ายที่เขายกเลิกครั้งนี้[59]

ผลงานแสดง

ปี ภาพยนตร์ บทบาท หมายเหตุ
1999 Never Been Kissed
(ชื่อไทย: จูบแรกเมื่อไหร่จะมา)
เจสัน เวย์
Freaks and Geeks เดเนียล ดีเซริโอ นักแสดงซีรีส์
2000 Whatever It Takes คริส แคมป์เบล
2001 James Dean เจมส์ ดีน ได้รับรางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ออกอากาศปี ค.ศ. 1991 ในสาขานักแสดงชายยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์โทรทัศน์
ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์โทรทัศน์
ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลไพรม์ไทม์เอมมีสาขานักแสดงนำชายโดดเด่น ประเภทมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์
ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลแซกอวอร์ด สำหรับการแสดงอันโดดเด่นประเภทนักแสดงชายในมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์โทรทัศน์
2002 Sonny ซันนี ฟิลิปส์ ฉายจำนวนจำกัด
City By The Sea
(ชื่อไทย: ล้างบัญชีฆ่า)
โจอี้ ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลโครทรูดิสปี 2003 ในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
Spider-Man
(ชื่อไทย: ไอ้แมงมุม)
แฮร์รี ออสบอร์น
Deuces Wild ทิโน
2003 The Company
(ชื่อไทย: เดอะคอมพานี)
จอช
2004 Spider-Man 2
(ชื่อไทย: ไอ้แมงมุม 2)
แฮร์รี ออสบอร์น
2005 The Ape แฮร์รี วอล์กเกอร์ หนังประเภทไดเรกต์ทูวิดีโอ
The Great Raid
(ชื่อไทย: 121 ตะลุยนรกมฤตยู)
กัปตันพรินซ์
Fool's Gold เบรนต์ ผู้กำกับ นักเขียน
2006 Tristan & Isolde
(ชื่อไทย: สงครามรัก สองแผ่นดิน)
ทริสตัน
Annapolis
(ชื่อไทย: เกียรติยศลูกผู้ชาย)
เจค ฮอด
The Wicker Man
(ชื่อไทย: สาปอาถรรพณ์ล่าสุดโลก)
ผู้ชายในบาร์
Flyboys
(ชื่อไทย: คนบินประจัญบาน)
เบลน รอว์ลิงส์
The Holiday
(ชื่อไทย: เดอะ ฮอลิเดย์ เซอร์ไพรส์รักวันพักร้อน)
ตัวเขาเอง (ไม่มีในเครดิต)
The Dead Girl เดเรก
2007 Spider-Man 3
(ชื่อไทย: ไอ้แมงมุม 3)
แฮร์รี ออสบอร์น / ก็อบลินตัวใหม่ ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลแซตเทิร์นในสาขานักแสดงสมทบยอดเยี่ยม
Knocked Up ตัวเขาเอง (ไม่มีในเครดิต)
In the Valley of Elah
(ชื่อไทย: กระชากเกียรติ เหยียบอัปยศ)
นายสิบแดน คาร์เนลลี
Finishing the Game ดีน ไซโล/"ร็อบ ฟอร์ซ"
An American Crime แอนดี้
Camille ซิเลียส
Good Time Max แมกซ์ เวอร์บินสกี
2008 Pineapple Express
(ชื่อไทย:วุ่นแล้วตู จู่ๆก็โดนล่า)
ซอล ซิลเวอร์ ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมประเภท ภาพยนตร์เพลงหรือตลก
ได้รับการเสนอชื่อ - เอ็มทีวีมูวี่อวอร์ดสในสาขาแสดงตลกยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อ - เอ็มทีวีมูวี่อวอร์ดสในสาขาต่อสู้ยอดเยี่ยม
Nights in Rodanthe
(ชื่อไทย: โรดันเต้รำลึก)
มาร์ก แฟลนเนอร์ (ไม่มีในเครดิต)
Milk
(ชื่อไทย: ฮาร์วี่ย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก)
สก็อต สมิธ ได้รับรางวัลอินดีเพนเดนต์สปริตปี 2008 ในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับรางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ออกอากาศปี 2008 ในสาขาตัวแสดงยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อ - ได้รับรางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ออกอากาศปี 2008 ในสาขานักแสดงสมทบยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลแซกอวอร์ดในสาขาการแสดงโดดเด่นประเภทภาพยนตร์
2009-ปัจจุบัน General Hospital 20 พฤศจิกายน 2009-ปัจจุบัน
2010 Howl อัลเลน กินสเบิร์ก อยู่ในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ[60]
Date Night เชส ไมเยอร์ส อยู่ในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ
Your Highness เดนี โลเวิร์ต กำลังถ่ายทำ[61]
2011 Eat, Pray, Love กำลังถ่ายทำ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 "James Franco Biography". Yahoo!. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  2. "Case Western Reserve University". Admission Case. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  3. "LatinoReview.com". Franco Talks Annapolis!. สืบค้นเมื่อ May 9 2006. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dateformat= ถูกละเว้น (help)
  4. "the Jewish News Weekly of Northern California". Celebrity Jews. สืบค้นเมื่อ May 9 2006. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dateformat= ถูกละเว้น (help)
  5. "James Franco News". The Insider. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessadate= ถูกละเว้น (help)
  6. Van Sant, Gus. "James Franco". Interview. p. 1. สืบค้นเมื่อ 2009-03-02.
  7. Posner, Michael (2008-08-05). "Top of the food chain". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  8. "Shout! Factory - Freaks And Geeks". Shout Factory. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  9. 9.0 9.1 "United Press International". Franco to reunite with Freaks pals. United Press International. สืบค้นเมื่อ 2006-09-23.
  10. Van Sant, Gus. "James Franco". Interview. p. 4. สืบค้นเมื่อ 2009-03-03.
  11. Gleiberman, Owen (2000-03-31). "What It Takes Review". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  12. Scott, A.O. (2000-03-24). "Whatever It Takes Review". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  13. Carter, Kelly (2001-07-27). "James Franco: The next James Dean". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  14. 14.0 14.1 Lee, Chris (2008-08-06). "James Franco plays against type in 'Pineapple Express'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  15. Tucker, Ken (2001-08-03). "James Dean TV Review". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.
  16. 16.0 16.1 "HFPA - Awards Search". Golden Globes. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  17. "8th Annual SAG Awards Nominee - Screen Actors Guild Awards". Screen Actors Guild Awards. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  18. "2002 Emmys". CNN. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  19. Travers, Peter (May 23, 2002). "Spider-Man Review". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ August 4, 2008.
  20. "Mike Clark review". USA Today. 2002-05-03. สืบค้นเมื่อ 2007-01-23.
  21. McCarthy, Todd (2002-04-19). "Spider-Man Review". Variety. สืบค้นเมื่อ 2009-03-02.
  22. 22.0 22.1 "Spider-Man (2002): Reviews". Metacritic. May 3, 2002. สืบค้นเมื่อ March 2, 2009.
  23. 23.0 23.1 23.2 "James Franco Movie Box Office Results". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ March 2, 2009.
  24. Winfield, Monica (2003-01-10). "BBC Films - City by the Sea Review". BBC. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  25. Mitchell, Elvis (2003-12-25). "The Company Review". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  26. Turan, Kenneth (June 29, 2004). "Turan reviews Spider-Man 2". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ May 29, 2007.
  27. 27.0 27.1 "Spider-Man 2 (2004): Reviews". Metacritic. June 30, 2004. สืบค้นเมื่อ December 9, 2008.
  28. "Spider-Man 2 (2004)". Box Office Mojo. June 30, 2004. สืบค้นเมื่อ December 9, 2008.
  29. Ebert, Roger (August 12, 2005). "The Great Raid Review". Chicago Sun-Times. Roger Ebert.com. สืบค้นเมื่อ August 12, 2008.
  30. Otto, Jeff (August 11, 2005). "IGN: The Great Raid Review". IGN. สืบค้นเมื่อ August 12, 2008.
  31. Ebert, Roger (January 27, 2006). "Annapolis Review". Chicago Sun-Times. Roger Ebert.com. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
  32. Leydon, Joe (January 12, 2006). "Tristan and Isolde Review". Variety. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
  33. "ContactMusic". Franco takes off with Stunt Squad. สืบค้นเมื่อ September 23, 2006. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dateformat= ถูกละเว้น (help)
  34. The Wicker Man (DVD). Warner Bros. 2006.
  35. "Lohan's Rehab Blamed on Her Obsession With Little-Known Spider-Man Actor". Us Magazine. January 19, 2007. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
  36. Travers, Peter (May 3, 2007). "Spider-Man 3 Review". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ August 4, 2008.
  37. "Spider-Man 3 (2007): Reviews". Metacritic. May 4, 2007. สืบค้นเมื่อ December 11, 2008.
  38. "James Franco". The Baltimore Sun. สืบค้นเมื่อ April 22, 2009.
  39. Travers, Peter (August 7, 2008). "Pineapple Express Review". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
  40. Dargis, Manohla (August 6, 2008). "'Pineapple Express' - Stoners Who Put the Bud in Buddies". New York Times. สืบค้นเมื่อ August 24, 2008.
  41. Freydkin, Donna (April 7, 2009). "Franco takes 'Erased James Franco' to art". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 22, 2009.
  42. Boedeker, Hal (September 21, 2008). ""Saturday Night Live" with James Franco improves in week two, but still far from its peak". The Orlando Sentinel. blogs.orlandosentinel.com. สืบค้นเมื่อ September 21, 2008. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  43. Freydkin, Donna (August 3, 2008). "'Pineaple' star Franco digs deep, plays stoner and serious". USA Today. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
  44. Turan, Kenneth (November 26, 2008). "Review: 'Milk'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ February 23, 2009.
  45. Smith, Neil (February 22, 2009). "Rourke steals Spirit award show". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ February 23, 2009. นักแสดงคนอื่นที่ได้รับรางวัลอย่างมาลิซซา ลีโอและเพเพนโลเป ครูซ ทั้งคู่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ เช่นเดียวกับเจมส์ แฟรนโกในสาขาสมทบชายเรื่อง Milk
  46. Black, Rosemary (August 27, 2008). "Brad Pitt explores other options". Daily News (New York). p. 2. สืบค้นเมื่อ March 3, 2009.
  47. Schmelzer, Randi. "The Smart Set". 20 (2). UCLA Magazine: 57. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); |access-date= ต้องการ |url= (help)
  48. 48.0 48.1 Kamp, David (December 2008). "Franco cum Laude". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ December 2, 2008.
  49. Evans, Sean (August 6, 2008). "Side Dish: Write on, James Franco". New York Daily News. สืบค้นเมื่อ September 21, 2008. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  50. Froelich, Paula (September 10, 2008). "No Ogling!". New York Post. สืบค้นเมื่อ September 21, 2008. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  51. "Academia: James Franco To Sexify Morningside Heights". Gawker.com. สืบค้นเมื่อ September 21, 2008.
  52. "Lindzi.com Your Connection to the Stars". James Franco. สืบค้นเมื่อ February 1, 2007.
  53. Oldenburg, Ann (August 14, 2002). "Celebrities pour passion into artwork". USA Today. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
  54. Spider-Man 3 (DVD). Sony Pictures. 2007.
  55. Dinh, Mai. "James Franco Biography". People. สืบค้นเมื่อ April 22, 2009. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  56. Freydkin, Donna (August 3, 2008). "'Pineapple' star Franco digs deep, plays stoner and serious". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 22, 2009.
  57. Pearlman, Cindy (November 30, 2008). "James Franco a big man in 'Milk' -- and on campus". Chicago Sun-Times. สืบค้นเมื่อ December 2, 2008.
  58. Schaefer, Samantha (June 3, 2009). "Franco cancels as commencement keynote". Daily Bruin. สืบค้นเมื่อ June 4, 2009.
  59. "James-Franco's-Rejected-UCLA-Commencement-Speech". Funny or Die. July 8, 2009. สืบค้นเมื่อ July 8, 2009.
  60. McNary, Dave (March 24, 2009). "Jon Hamm joins the cast of 'Howl'". Variety. สืบค้นเมื่อ May 27, 2009.
  61. Kit, Borys (May 30, 2009). "Natalie Portman signs on for comedy "Your Highness"". The Hollywood Reporter. Reuters. สืบค้นเมื่อ June 1, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น