ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โกเมน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: an:Granat (mineral)
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: is:Granat
บรรทัด 111: บรรทัด 111:
[[id:Batu delima]]
[[id:Batu delima]]
[[io:Granato]]
[[io:Granato]]
[[is:Granat]]
[[it:Granato]]
[[it:Granato]]
[[ja:柘榴石]]
[[ja:柘榴石]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:17, 12 ธันวาคม 2554

โกเมน หรือชื่อทางวิชาการว่า การ์เนต (อังกฤษ: Garnet) มาจากภาษาละตินว่า granatus แปลว่า เมล็ดพืช

คุณสมบัติ

  • โกเมนจะอยู่ในระบบผลึกแบบ Cubic
  • มีรูปผลึกเป็นรูปเหลี่ยม 12 หน้า (rhombic-dodecahedral)
  • มีความแข็งประมาณ 6.5 - 7.5
  • มีหลายสีแต่ที่เด่นที่สุดคือสีแดง
  • ความวาวที่พบจะมีความวาวคล้ายแก้ว
  • มีรอยแตกแบบก้นหอย
  • ความคงทนค่อนข้างดีนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ

ชนิดและชื่อทางการค้าของโกเมน

ไพโรป (Pyrope)

จะมี สีส้มอมแดง ถึงแดงอมม่วงเล็กน้อย สีสดกว่าการ์เนตชนิดอื่น (Cr3+, Fe2+) มีแหล่งกำเนิดสำคัญบริเวณอัฟริกาใต้ เชโกสโลวาเกีย และแทนซาเนีย ซึ่งเราสามารถจำแนกความแตกต่างของไพโรปออกจากการ์เนตอื่น ๆ โดยใช้

  • ค่าดัชนีหักเห 1.720 - 1.756 ปรกติ 1.746
  • ความถ่วงจำเพาะที่มีค่า 3.62 - 3.87 ปรกติ 3.78

อัลแมนดีน (Almandine)

Almandine in metamorphic rock

จะมี สีส้มอมแดง แดงอมม่วงเล็กน้อย โทนสีออกจะมืดตลอด (Fe2+, Cr3+) ลักษณะเด่นของอัลแมนดีนคือมลทินภายในจะมีลักษณะคล้ายเข็มตัดกันด้วยมุม 40/110° หรือ เห็นผลึกเซอร์คอนล้อมด้วยวงแหวน แหล่งกำเนิดจะอยู่ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา และ มาดากัสการ์ เนื่องจากอัลแมนดีนเป็นการ์เนตที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง จึงเป็นที่นิยมในการนำมา ใช้เป็นพลอยปะ ด้านบนของแก้ว (Garnet - glass doublets) เพื่อเลียนแบบทับทิม หรือ ไพลินที่เป็นอัญมณีราคาแพง

  • ค่าดัชนีหักเห 1.760 - 1.820 ปรกติ 1.790 (จะสูงกว่าไพโรป เพราะมี Feในองค์ประกอบ)
  • ค่าความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.93 - 4.30 ปรกติ 4.05 (จะสูงกว่าไพโรป เพราะมี Feในองค์ประกอบ)

โรโดไลต์ (Rhodolite)

จะมีสีแดงอมม่วง ถึงม่วงอมแดง แต่จะมีสีม่วงปนอยู่เสมอซึ่งเป็นลักษณะเด่น ชื่อนี้ได้มาจากภาษากรีก แปลว่า “สีชมพู” ในทางการค้า พลอยการ์เนตสีม่วงจะถูกเรียกเป็นโรโดไลต์ จะมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ประเทศศรีลังกา แอฟริกาตะวันออก และอินเดีย

  • ค่าดัชนีหักเห 1.740 - 1.770 ปรกติ 1.760 (อยู่ระหว่างไพโรปอัลแมนดีน)
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.74 - 3.94 ปรกติ 3.84 (อยู่ระหว่างไพโรปอัลแมนดีน)

สเปสซาทีน (Spessatine)

จะมีสีส้มอมเหลืองถึงส้มอมแดง มักจะต้องมีสีส้มติดอยู่เสมอ (อันเนื่องจากธาตุ Mn2+, Fe3+) ลักษณะเด่นของสเปสซาทีนคือเป็นแร่โปร่งใส ออกโทนสีส้มเสมอคล้ายเฮสโซไนต์ แต่แยกได้โดยใช้ค่าดัชนีหักเห แหล่งกำเนิดคุณภาพดีมาจากศรีลังกา สหรัฐอเมริกา บราซิล และ มาดากาสก้า

  • ค่าดัชนีหักเห 1.790 - 1.814 ปรกติ 1.810
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 4.12 - 4.20 ปรกติ 4.15

กรอสซูลาไรต์ (Grossularite)

จะมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ทานซาเนีย และ เคนยาสามารถจำแนกย่อยได้เป็น

กรอสซูลาไรต์แบบโปร่งใสทั่วไป (Transparent grossularite)

จะมีสีเหลือง เหลืองอมเขียว

ซาโวไรท์ (Tsavorite)

คือกรอสซูลาโปร่งใสที่มีสีเขียว เขียวมรกต (Cr3+, V3+)

  • ค่าดัชนีหักเห 1.736 - 1.742 ปรกติ 1.740
  • ความถ่วงจำเพาะ 3.59 - 3.63 ปรกติ 3.61

เฮสโซไนต์ (Hessonite)

คือกรอสซูลาที่มีสีเหลืองอมส้ม ส้มอมแดง (Fe3+) บางครั้งเรียก ซินนามอนสโตน (Cinnamon stone) เพราะสีคล้ายอบเชย หรือกระวาน มีลักษณะเด่นคือมีสีส้ม ลักษณะทั่วไปดูคล้ายคลื่นความร้อน (Heat wave effect) ทำให้พลอยดูซึม ๆ โดยมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศศรีลังกา

  • ค่าดัชนีหักเห 1.740 - 1.750 ปรกติ 1.740
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.57 - 3.73 ปรกติ 3.61

ไฮโดรกรอสซูลา (Hydrogrossular)

หรือกรอสซูลาแบบโปร่งแสงที่เป็นเม็ดละเอียดเนื้อแน่น มีสีเขียว (Cr3+) เรียก “หยกทรานสเวิล” (Transvaal Jade) หรือ “หยกอัฟริกา” (African Jade) เพราะมีสีคล้ายหยก บางครั้งอาจพบมีสีแดง, ชมพู (Mn3+) ลักษณะเด่นที่พบในเนื้อแร่มักมีมลทินเป็นจุดดำ ๆ ของแร่โครไมต์ (Chromite) และแมกนีไทต์ (Magnetite) อาจมีรอยแตกเป็นเสี้ยน มีความวาวเป็นแบบขี้ผึ้ง แหล่งกำเนิดจะอยู่ที่อัฟริกาใต้ คานาดา

  • ค่าดัชนีหักเห 1.690 - 1.730 - เขียว, 1.700 - 1.712 - แดง
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.30 - 3.50 - เขียว, 3.32 - 3.36 - แดง

แอนดราไดต์ (Andradite)

ชนิดที่สำคัญใน แอนดราไดต์ การ์เนต คือ

ดีมานทอยด์ (Demantoid)

มีสีเขียวอ่อนถึงเข้ม หรือเขียวอมเหลือง (Cr3+) มีชื่อมาจากภาษาดัชช์ แปลว่า “เพชร” เพราะมีการกระจายแสงสีรุ้งได้ดีมากกว่าเพชรจึงมีไฟดี สีสวย หายาก มีความวาวแบบเพชร ลักษณะเด่นภายในเนื้อแร่จะพบมลทินเส้นเข้มโค้งคล้าย “หางม้า” (Horse-tail) ที่มี สีน้ำตาลอมเหลืองของแร่บิสโซไลต์ (Byssolite) แหล่งกำเนิดคุณภาพดีมาจากรัสเซีย ใกล้เขายูราล ที่อื่น ๆ เช่น อิตาลี

  • ค่าดัชนีหักเห 1.855 - 1.895 ปรกติ 1.880 (สูงมาก)
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.81 - 3.87 ปรกติ 3.84

แอนดราไดท์เป็นอัญมณีประเภทหนึ่งในตระกูลของการ์เน็ทหรือโกเมน (Garnet) ลักษณะทั่วไปคือมีความโปร่งใส มีสีเขียวอมเหลืองถึงเขียว และมีการกระจายแสง (Dispersion) สูง

Malaya or Malaia Garnet (Mg,Mn) 3Al2 (SiO4) 3

จะออกสีส้มอมชมพู ส้มอมแดง ส้มอมเหลือง ส้มอมน้ำตาล ถึงชมพู ปรกติมีสีส้มเสมอ แหล่งกำเนิดจะอยู่ที่แทนซาเนีย

  • ค่าดัชนีหักเห 1.42 – 1.78 ปรกติ 1.76
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.78 - 3.85 ปรกติ 3.80 หรือน้อยกว่า