ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การก่อกวน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เว็บย่อวิกิ|[[WP:VAND]], [[WP:VANDAL]], [[WP:VANDALISM]]}}
{{เว็บย่อวิกิ|WP:VAND|WP:VANDAL|WP:VANDALISM}}
{{ระดับการก่อกวน}}
{{ระดับการก่อกวน}}
{{กล่องนโยบาย}}
{{กล่องนโยบาย}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:45, 21 พฤศจิกายน 2554

ระดับการก่อกวน

ขณะนี้การก่อกวนในวิกิพีเดียภาษาไทย
อยู่ในระดับ: 3

การก่อกวนระดับปานกลาง พบว่ามีจำนวนการก่อกวนเพิ่มขึ้นจากผู้ใช้ที่ไม่ได้ล็อกอินและผู้ใช้ใหม่
ดูล้างแคชอัปเดต


การก่อกวน คือการเสริมเติมแต่ง แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบ ข้อความในวิกิพีเดียโดยเจตนาทำให้เกิดความเสียหายกับบทความ ซึ่งการก่อกวนส่วนใหญ่นั้นจะเป็นการสอดแทรกข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องหรือคำหยาบคายหรือลบข้อความหมดทั้งหน้าทิ้ง ซึ่งการก่อกวนประเภทนี้มักจะสังเกตได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามบางครั้งการผิดพลาดจากผู้ใช้ใหม่ การใส่ความเห็นส่วนตัว อาจจะดูเหมือนการก่อกวนได้ โดยปกติแล้วการเชื่อใจว่าคนอื่นที่แก้ไขมีเจตนาดีเป็นพื้นฐานที่สำคัญในวิกิพีเดีย

อย่างไรก็ตามการก่อกวนในบางครั้งก็ยากที่จะสังเกต ซึ่งควรจะได้รับการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน

ลักษณะของการก่อกวน

การก่อกวนในวิกิพีเดียนั้นอาจจะมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้:

ทำหน้าว่าง
ลบข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความ ซึ่งทำให้ข้อความสำคัญได้ถูกลบออกไป อย่างไรก็ตามการลบข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งออกไปนั้นบางครั้งไม่ถือว่าเป็นการก่อกวน หากมีข้อความก่อกวนอยู่แล้วก่อนหน้า หรือเป็นการลบข้อความที่ซ้ำซ้อนกับข้อความอื่นอย่างชัดเจน
สแปม
โดยการใส่เว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงเข้าไปในบทความ อาจจะเพื่อโฆษณาเว็บไซต์ของตนเอง
การแก้ไขไร้สาระ
การใส่ข้อความเขียนเล่น รวมทั้งบทความและตัวอักษรที่ไม่มีความหมายลงไป ซึ่งในบางครั้งการแก้ไขเหล่านี้เกิดจากการทดลองเขียนจากผู้ใช้ใหม่ ซึ่งอาจจะไม่ถือว่าเป็นการก่อกวนโดยเจตนา
การใส่คำหยาบสอดแทรก
ใส่คำด่า คำหยาบ หรือคำต้องห้าม เขียนเล่นลงไปโดยเขียนสอดแทรกในส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความ คำอธิบาย หรือใส่หน้าพูดคุย
การแอบก่อกวน
การก่อกวนประเภทนี้ส่วนใหญ่จะทำการแอบแก้ไขข้อมูลเพียงเล็กน้อยในบทความซึ่งยากต่อการสังเกต เช่นการแก้ไขจำนวนตัวเลข (เช่น แอบแก้ไขวันที่)
การก่อกวนหน้าผู้ใช้
ใส่คำด่าหรือคำพูดดูถูกต่อผู้ใช้ ในหน้าผู้ใช้หรือหน้าพูดคุยของผู้ใช้ (ดูวิกิพีเดีย:อย่าว่าร้ายผู้อื่น) การแก้ไขหน้าผู้ใช้ของคนอื่นเช่นการสะกดคำไม่ถือว่าเป็นการก่อกวน แต่โดยทั่วไปตามมารยาทในวิกิพีเดียควรจะขออนุญาตผู้ใช้คนนั้นก่อน
การก่อกวนผ่านภาพ
อัปโหลดภาพไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพผีสาง ภาพคนตาย และสอดแทรกไปในบทความที่ไม่เกี่ยวข้องถือเป็นการก่อกวนในวิกิพีเดีย อย่างไรก็ตามในวิกิพีเดียนั้น บางบทความที่เกี่ยวกับเพศศึกษาหรือศิลปะอาจจะมีภาพโป๊หรือเปลือยสอดแทรกอยู่
อัปโหลดภาพที่อาจละเมิดลิขสิทธิ์ติดต่อกัน
อัปโหลดหรือใช้สื่อในวิกิพีเดียที่ละเมิดนโยบายลิขสิทธิ์ หลังจากได้ถูกเตือนแล้ว ถือว่าเป็นการก่อกวน เนื่องจากว่าผู้ใช้อาจไม่ทราบว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะถือว่าเป็นการก่อกวน หากผู้ใช้ยังดำเนินการต่อไปหลังจากที่ได้มีการแจ้งผู้ใช้ให้ทราบแล้ว
การเจตนาใส่ป้ายผิด
การเจตนาใส่ป้ายผิด เช่น ป้ายลบ หรือป้ายเตือนก่อกวนกับผู้ใช้ที่ไม่ได้ก่อกวน นั้นถือว่าเป็นการก่อกวนต่อวิกิพีเดียในภาพรวม (ดูวิกิพีเดีย:อย่าว่าร้ายผู้อื่น)
เจตนาย้ายป้ายออก
การลบป้าย {{ลบ}} {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หรือป้ายอื่นที่ใกล้เคียงกัน โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการลบบทความอาจถือเป็นการก่อกวนได้ โปรดทราบว่าผู้ใช้ใหม่อาจไม่เข้าใจระบบในวิกิพีเดีย และควรให้ความเห็นใจ พร้อมทั้งแจ้งผู้ใช้ให้ทราบโดยชี้แนะไปหน้าที่อธิบายถึงนโยบายดังกล่าว
เจตนาใส่ลิงก์ไปผิด
การแก้ไขลิงก์ในวิกิพีเดียหรือใส่เว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยบางครั้งการแสดงผลเหมือนเดิมแต่หน้าปลายทางเป็นหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง
เจตนาเปลี่ยนชื่อบทความผิด
การเปลี่ยนชื่อบทความไปอีกชื่อที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่เหมาะสม นั้นอาจถือว่าเป็นการก่อกวนเพื่อหลอกผู้ใช้ไปหน้าที่ผิด หรือสร้างความเข้าใจผิด
บิดเบือนความเห็นผู้อื่น
การแก้ไขข้อความพูดคุยหรือความเห็นของผู้อื่นในหน้าพูดคุย โดยเจตนาให้ผู้อ่านเข้าใจผิด ยกเว้นเสียแต่ว่าการลบคำหยาบหรือคำด่าออกจากบทพูดคุย อย่างไรก็ตามในวิกิพีเดียไม่สนับสนุนให้ผู้ใช้แก้ไขตัวสะกดผิดของผู้ใช้อื่น

อะไรที่ไม่ใช่การก่อกวน

อย่างไรก็ตามบางครั้งอาจเกิดความเข้าใจผิดกันได้ว่าสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่มีลักษณะคล้ายการก่อกวน

การทดลองเขียนจากผู้ใช้ใหม่
บางครั้งการแก้ไขจากผู้ทดลองเขียนใหม่ อาจดูเหมือนเป็นการก่อกวน ซึ่งควรจะแนะนำให้ผู้ใช้ใหม่ทดลองเขียนในหน้า ทดลองเขียน โดยควรจะต้อนรับผู้เขียนใหม่และใส่ป้าย {{test}} เข้าไปเตือน ซึ่งผู้ใช้ใหม่ที่มีเจตนาดีจะหยุดการแก้ไข และอาจไปทดลองเขียนก่อน
การใช้คำผิดและใช้คำสั่งผิด
ผู้เขียนใหม่ในวิกิพีเดียอาจจะใช้คำสั่งผิด หรือการจัดรูปแบบหน้าผิด โดยอาจจะสลับส่วน "ดูเพิ่ม" กับ "แหล่งข้อมูลอื่น" หรืออาจจะใส่คำสั่งทำตัวหนากับทำตัวเอียงผิด ซึ่งควรจะเข้าไปแนะนำการใช้งาน และอาจจะชี้ให้เข้าไปอ่านเพิ่มเติมที่ วิกิพีเดีย:การแก้ไขหน้า หรือ วิกิพีเดีย:วิธีการแก้ไขหน้าพื้นฐาน
การใส่ข้อความไม่เป็นกลาง
การใส่ข้อความไม่เป็นกลางนั้นไม่ถือว่าเป็นการก่อกวนในวิกิพีเดีย เว้นเสียแต่ว่าใส่ข้อความซ้ำแล้วซ้ำอีกหลังจากที่ถูกลบออก
ใส่ข้อมูลผิดพลาด
บางครั้งผู้ใช้บางคนใส่ข้อความที่ไม่ถูกต้องเข้าไปโดยอาจจะเชื่อว่าข้อมูลนั้นถูกต้อง ซึ่งการแก้ไขนี้ไม่ถือว่าเป็นการก่อกวน เพราะเนื่องจากต้องการปรับปรุงวิกิพีเดียให้ดีขึ้น ซึ่งถ้าคุณมีข้อมูลที่ต้องพร้อมแหล่งอ้างอิง ควรที่จะอภิปรายทั้งสองฝ่ายและแก้ไขให้ถูกต้อง
ใส่ข้อความภาษาอื่นแทรก
การใส่ข้อความในภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยแทรกในบทความหลายส่วนไม่ถือเป็นการก่อกวน โดยผู้เขียนอาจจะมีเจตนาใส่ภาษาอื่นเพื่อไว้เป็นการอ้างอิง ยกเว้นเสียแต่ว่าใส่ภาษาอื่นหมดทั้งหมดหรือใส่ภาษาอื่นเป็นภาษาหลักในหน้านั้น

ตรวจสอบการก่อกวน

การตรวจสอบการก่อกวนนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดคือตรวจสอบผ่านหน้า การปรับปรุงล่าสุด และจัดตาดูในหน้า รายการเฝ้าดู สำหรับหน้าที่สนใจในแต่ละหน้า สามารถเลือกดู "การปรับปรุงที่โยงมา" ได้ นอกจากนี้ยังอาจตรวจสอบจากหน้า ภาพ:Example.jpg , สื่อ:Example.ogg , ชื่อลิงก์, ข้อความหัวเรื่อง , Insert text , ใส่ชื่อหน้า , ตัวหนา , ไฟล์:ข้อความหัวเรื่อง

การต่อกรกับผู้ก่อกวน

เมื่อเจอกับการก่อกวนให้ทำการย้อนข้อมูลกลับไปยังรุ่นก่อนหน้า และเตือนในหน้าพูดคุยของผู้ก่อกวน โดยทำการตรวจสอบประวัติของผู้ก่อกวนว่าได้เขียนก่อกวนในหน้าไหนไว้บ้าง ซึ่งบางครั้งผู้ก่อกวนอาจจะก่อกวนมากกว่าหนึ่งบทความ และเพื่อแน่ใจว่าได้ทำการย้อนการก่อกวนทั้งหมด

ผู้ก่อกวนที่แกล้งใส่ข้อความขำขันโดยทั่วไปมักจะเลิกก่อกวนไปเองภายหลังจากที่ได้รับการแจ้งเตือน แต่ถ้าผู้ก่อกวนยังคงก่อกวนต่อเนื่อง ให้ใส่รายชื่อหรือหมายเลขไอพีไว้ที่ รายชื่อการก่อกวน เพื่อให้ผู้ดูแลระบบจัดการบล็อกผู้ใช้นั้น

ตรวจสอบ ไอพีแอดเดรส

คุณอาจจะตรวจสอบไอพีแอดเดรสของผู้ก่อกวน ได้โดยการตรวจสอบจากแหล่งต่อไปนี้:

  • ARIN (ทวีปอเมริกาเหนือ)
  • RIPE (ทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง)
  • APNIC (เอเชียแปซิฟิก)
  • LACNIC (ลาตินอเมริกา และแคริบเบียน)
  • AfriNIC (แอฟริกา)

ดูเพิ่ม