ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปอนด์สเตอร์ลิง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
FoxBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: nso:Pound sterling
Antelope (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 15: บรรทัด 15:


== อัตราแลกเปลี่ยน ==
== อัตราแลกเปลี่ยน ==
47.70 บาทไทย = 1 ปอนด์สเตอร์ลิง (วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
47.70 บาทไทย = 1 ปอนด์สเตอร์ลิง (วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)


== ธนบัตร ==
== ธนบัตร ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:56, 8 พฤศจิกายน 2554

ปอนด์สเตอร์ลิง (pound sterling) คือ มาตราเงินของอังกฤษ

ประวัติ

เงินปอนด์เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1320 ราชอาณาจักรซักซอน (อาจเรียกว่าพวกอังกฤษสมัยโบราณก็ได้ แต่ความจริงแล้ว ซักซอนไม่ได้เป็นบรรพบุรุษโดยตรงของอังกฤษปัจจุบัน) ได้ทำเหรียญกษาปณ์ขึ้นจากโลหะเงินแท้ น้ำหนัก 1 ปอนด์ ซึ่งได้เหรียญเงินเป็นจำนวน 240 อัน เรียกว่าเหรียญสเตอร์ลิง และด้วยน้ำหนักเท่ากับ 1 ปอนด์นี้เอง เมื่อต้องใช้จ่ายเงิน ก็จะบอกค่าเป็นจำนวนปอนด์ของเหรียญสเตอร์ลิง (pounds of sterlings) และภายหลังเรียกสั้นลงว่า ปอนด์สเตอร์ลิง (pound sterling)

ครั้นเมื่อพวกนอร์มัน (Norman) เข้ามาครองอำนาจแทนพวกซักซอน พวกนี้ได้แบ่งหน่วยเงินตราปอนด์ออกเป็นหน่วยย่อย คือ 1 ปอนด์ แบ่งได้ 20 ชิลลิง (shilling) และ 1 ชิลลิง ยังแบ่งได้อีกเป็น 12 เพนนี (เอกพจน์ penny, พหูพจน์ pennies หรือ pence)

เรื่องค่าของปอนด์นั้นยังไม่จบ เพราะตัวย่อของปอนด์นั้นมีปัญหา เมื่ออักษรย่อของปอนด์นั้น ใช้ lb หรือ £ ซึ่งทำให้สับสน และอักษรย่อ หรือเครื่องหมายดังกล่าว มีที่มาจากคำว่า libra ในภาษาละตินสมัยกลาง ความจริงแล้ว คำว่า ลิบรา ก็คือ ตาชั่ง (คำเดียวกับที่เรียกกลุ่มดาวราศีตุล) สำหรับอักษร £. นั้น ก็คือตัว L นั่นเอง (ใช้ได้ทั้งสองแบบ) ในตำราเก่าๆ บางครั้งเขียน l. เฉยๆ ก็มี

ส่วนชิลลิงนั้น เขาใช้อักษรย่อว่า s เฉย ๆ ตัวอักษรนี้ไม่ได้ย่อจาก shilling แต่มาจาก solidus ในภาษาละติน สำหรับหน่วยเล็กสุด คือ เพนนีนั้น ย่อเป็น d เพราะในภาษาละตินนั้น หน่วยเล็กสุดของค่าเงินคือ denarius เราจึงอาจพบการเขียนบอกจำนวนเงินเป็น 2l. 8s. 5d. นั่นคือ 2 ปอนด์ 8 ชิลลิง กับอีก 5 เพนนี

สำหรับเหรียญชิลลิงนั้น มีค่าเท่ากับ 12 เหรียญ เดิมเรียกว่าเทสทัน หรือเทสทูน (teston, testoon) เริ่มมีครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2047 มีการแกะสลักเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ครั้นในสมัยรัชกาลพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ก็ยังคงใช้เหรียญค่านี้ แต่เรียกใหม่ว่า ชิลลิง ส่วนที่มาของชื่อนั้น จริงๆ แล้วยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่เข้าใจว่าเรียกตามเหรียญของพวกอังโกล-ซักซอน คือสคีลลิง (scilling, scylling) และบางรัฐของเยอรมนีก็มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่เรียกว่า ชิลลิง (schilling) เหมือนกัน

ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2464 ค่าของชิลลิงเป็นแต่ชื่อเรียกเท่านั้น ไม่ได้มีการผลิตเหรียญเงินค่าชิลลิงออกมา และอีก 26 ปีต่อมา มีการผลิตเหรียญชิลลิง โดยใช้โลหะผสมระหว่างทองแดง และนิกเกิล เรียกว่าโลหะคิวโพรนิเกิล เมื่อถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 อังกฤษได้เปลี่ยนมาตราเงินแบบเทียบร้อยตามหลักสากล คือ 100 เพนนี เป็น 1 ปอนด์ โดยไม่ใช้หน่วยชิลลิงอีก ทำให้อักษรย่อชิลลิงจึงหมดไป อักษรย่อเพนนี เปลี่ยนจาก d เป็น p ซึ่งย่อมาจากคำว่าเพนนี (penny) โดยตรง

อัตราแลกเปลี่ยน

47.70 บาทไทย = 1 ปอนด์สเตอร์ลิง (วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)

ธนบัตร

ธนบัตรประกอบด้วย 5, 10, 20 และ 50 ปอนด์

เหรียญ

เหรียญประกอบด้วย 1, 2, 5, 10, 20, 50 เพนนี และ 1, 2 ปอนด์

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนสกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง
ภาพ มูลค่า เส้นผ่านศูนย์กลาง ความหนา น้ำหนัก ส่วนประกอบ ปีที่ประกาศใช้
ด้านหน้า ด้านหลัง
1 เพนนี 20.03 มม. 1.65 มม. 3.56 กรัม เหล็กกล้าชุบทองแดง พ.ศ. 2514
2 เพนซ์ 25.90 มม. 1.85 มม. 7.12 กรัม พ.ศ. 2514
5 เพนซ์ 18.00 มม. 1.70 มม. 3.25 กรัม ทองแดงผสมนิเกิล (คิวโปรนิเกิล) พ.ศ. 2533
10 เพนซ์ 24.50 มม. 1.85 มม. 6.50 กรัม พ.ศ. 2535
20 เพนซ์ 21.40 มม. 1.70 มม. 5.00 กรัม พ.ศ. 2525
25 เพนซ์ 38.61 มม. 2.89 มม. 28.28 กรัม พ.ศ. 2515
50 เพนซ์ 27.30 มม. 1.78 มม. 8.00 กรัม พ.ศ. 2540
1 ปอนด์ 22.50 มม. 3.15 มม. 9.50 กรัม ทองเหลืองผสมนิเกิล (นิเกิลบราส) พ.ศ. 2526
2 ปอนด์ 28.40 มม. 2.50 มม. 12.00 กรัม วงแหวน: ทองเหลืองผสมนิเกิล (นิเกิลบราส)
ตรงกลาง: ทองแดงผสมนิเกิล (คิวโปรนิเกิล)
พ.ศ. 2540
5 ปอนด์ 38.61 มม. 2.89 มม. 28.28 กรัม ทองแดงผสมนิเกิล (คิวโปรนิเกิล) พ.ศ. 2533

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:สกุลเงิน