ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
RedBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.2) (โรบอต เพิ่ม: ab:Вилгелм II (Англиа акрал)
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: kk:Вильгельм II (Англия королі)
บรรทัด 104: บรรทัด 104:
[[ja:ウィリアム2世 (イングランド王)]]
[[ja:ウィリアム2世 (イングランド王)]]
[[ka:უილიამ II (ინგლისი)]]
[[ka:უილიამ II (ინგლისი)]]
[[kk:Вильгельм II (Англия королі)]]
[[ko:윌리엄 2세 (잉글랜드)]]
[[ko:윌리엄 2세 (잉글랜드)]]
[[la:Gulielmus II (rex Angliae)]]
[[la:Gulielmus II (rex Angliae)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:31, 26 ตุลาคม 2554

พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ
ครองราชย์9 กันยายน ค.ศ. 10872 สิงหาคม ค.ศ. 1100
ราชาภิเษก26 กันยายน ค.ศ. 1087
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ
ประสูติราว ค.ศ. 1056
นอร์มังดี ฝรั่งเศส
สวรรคต2 สิงหาคม ค.ศ. 1100
นิวฟอเรสต์ อังกฤษ
สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ
ราชวงศ์นอร์มัน
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีมาทิลดา แห่งฟลานเดอร์

สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: William II of England หรือ Rufus) (ราว ค.ศ. 10562 สิงหาคม ค.ศ. 1100) ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์นอร์มันของราชอาณาจักรอังกฤษ

พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 1056 ที่นอร์มังดี ฝรั่งเศส ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ[1] และ มาทิลดาแห่งฟลานเดอร์ส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1087 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1100 ที่นิวฟอเรสต์ อังกฤษ พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 ทรงมีพระนามเล่นว่า “รูฟัส” ซึ่งอาจจะมาจากการที่มีพระพักตร์แดง

แม้ว่าพระเจ้าวิลเลียมจะทรงเป็นนายทหารผู้มีความสามารถ แต่ทรงเป็นประมุขที่ไม่มีความปราณีจึงไม่เป็นที่นิยมของผู้อยู่ใต้การปกครองของพระองค์ “บันทึกแองโกล-แซ็กซอน” กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นที่เกลียดชังของประชาชนเกือบทุกคน แต่ผู้บันทึกในสมัยนั้นอาจจะมีทัศนคติในทางลบต่อพระเจ้าวิลเลียมเพราะผู้บันทึกเป็นนักบวชซึ่งเป็นสถาบันที่พระเจ้าวิลเลียมทรงมีความขัดแย้งอยู่ด้วยเป็นเวลานาน นอกจากนั้นพระเจ้าองค์ก็ยังทรงดูถูกสิ่งที่เป็นอังกฤษและวัฒนธรรมอังกฤษ[2]

พระเจ้าวิลเลียมทรงมีพระลักษณะที่เป็นผู้ชอบความหรูหรา ทรงมีพระอารมณ์ร้าย ไม่ทรงเสกสมรสหรือมีพระโอรสธิดา คนโปรดของพระเจ้าวิลเลียมคือเรนัลฟ ฟลามบาร์ด (Ranulf Flambard) ผู้ที่ทรงแต่งตั้งให้เป็นบาทหลวงแห่งเดอแรมในปี ค.ศ. 1099 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ประทานให้เพราะเป็นเหตุผลทางการเมืองสำหรับสังฆมณฑลที่มีอำนาจทางการเมือง พระเจ้าวิลเลียมทรงถูกประณามในการแต่งตั้งและหลังจากเสด็จสวรรคตในเรื่องการที่ทรงมีคนรักที่เป็นเพศเดียวกันมากมาย[3]

เบื้องต้น

วันประสูติที่แน่นอนของพระองค์ไม่เป็นที่ทราบแต่สันนิษฐานกันว่าราวระหว่างปี ค.ศ. 1056 และปี ค.ศ. 1060 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในพระราชโอรสสี่พระองค์ของดยุคแห่งนอร์มังดี ทรงเป็นพระอนุชาของโรเบิร์ต เคอธอส (Robert Curthose) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาจากอัครบาทหลวงลองฟรองลองฟรอง (Lanfranc) อนาคตของพระองค์ดูเหมือนว่าจะได้เป็นขุนนางผู้มีอำนาจแต่มิใช่เป็นพระมหากษัตริย์เพราะทรงเป็นพระราชโอรสองค์รอง แต่เมื่อริชาร์ดพระราชโอรสองค์ที่สองสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็กลายเป็นผู้มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์, and seemed destined to be a great lord but not a king, until the death of the Conqueror's second son, Richard, put William next in line for the English succession.[4] วิลเลียมเป็นพระราชโอรสองค์โปรดของพระราชบิดาและทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อเสด็จสวรรคต วิลเลียมและโรเบิร์ต เคอธอสพระเชษฐาองค์โตไม่ทรงถูกชะตากันเท่าใดนัก แต่ทั้งสองคนก็คืนดีกันหลังจากการพยายามโค่นราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1091 โดยพระอนุชาองค์เล็กเฮนรี

ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องทั้งสามองค์เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนัก นักบันทึกประวัติศาสตร์ออร์เดอริค ไวทาลิส (Orderic Vitalis) กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1077 และปี ค.ศ. 1078 ที่วิลเลียมและเฮนรีทรงรู้สึกเบื่อจากการโยนลูกเต๋าจึงตัดสินใจล้อพี่ชายโดยเทน้ำเสียจากระเบียงชั้นบนลงบนพระเศียรของโรเบิร์ตซึ่งทำให้โรเบิร์ตทรงรู้สึกมีความขายพระพักตร์และพิโรธ จึงเกิดการทะเลาะกันจนพระราชบิดาต้องทรงเข้าห้าม[5]

อ้างอิง

  1. สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ
  2. Cantor, Norman F. The Civilization of the Middle Ages pp 280–84.
  3. H. Montgomery Hyde, in The Love That Dared not Speak its Name, pp.33-35, quotes contemporary sources Ordericus Vitalis, William of Malmesbury, and Serlo, Bishop of Bayeux and Abbot of Gloucester, as well as Edward Freeman, professor of History at Oxford towards the end of Queen Victoria's reign. William of Malmesbury decries William Rufus' court, which he describes as being filled by "effeminate" young men in extravagant clothes mincing about in "shoes with curved points". Orderic Vitalis makes mention of the "fornicators and sodomites" who held favour during William Rufus' reign, and remarks approvingly that when Henry I of England became king, one of his first acts was to have his courtiers shorn of their long hair.
  4. William of Malmesbury, in e.g. A History of the Norman Kings (1066 - 1125) , Llanerch, 1989, pp. 43, 46.
  5. Chibnall, M. (ed. & tr.), The Ecclesiastical History of Orderic Vitalis, Oxford Medieval Texts, 1968-1980, ii, pp. 356 ff. See also Barlow, F., William Rufus, Univ. of California Press, 1983, pp. 33-4. Barlow suggests that William and Henry probably urinated over Robert. In the context of the 11th century Norman court, it is tempting merely to observe that 'boys will be boys.'

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
(ราชวงศ์นอร์มัน)

(ค.ศ. 1087ค.ศ. 1100)
สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 1

แม่แบบ:Link FA