ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอิตซี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: hr:Ledeni čovjek
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: br:Ötzi
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
[[ar:أوتزي]]
[[ar:أوتزي]]
[[bg:Йоци]]
[[bg:Йоци]]
[[br:Ötzi]]
[[bs:Ötzi]]
[[bs:Ötzi]]
[[ca:Ötzi]]
[[ca:Ötzi]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:08, 17 ตุลาคม 2554

ไฟล์:Mann vom Hauslabjoch (Museum Bélesta).jpg
หุ่นจำลองเลียนแบบเอิตซี

เอิตซี (เยอรมัน: Ötzi) เป็นมัมมี่ธรรมชาติที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ของชายซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 5,300 ปีมาแล้ว[1] ร่างดังกล่าวได้รับการค้นพบโดยนักปีนเขาชาวเยอรมันสองคนในธารน้ำแข็งชนัลสตัล, เอิตซทัลแอลป์ ใกล้กับเฮาสลับยอค บนพรมแดนระหว่างออสเตรียและอิตาลี[2][3] เอิตซีเป็นมัมมีมนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป และได้ให้ภาพใหม่เกี่ยวกับชาวยุโรปยุคสำริด

ได้มีกรณีพิพาททางการทูตเล็กน้อยระหว่างออสเตรียและอิตาลีว่าประเทศใดจะเป็นเจ้าของร่างดังกล่าว ปัจจุบัน ร่างของเขาและทรัพย์สินถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีเซาท์ไทรอลในบอลซาโนในไทรอลใต้

นอกจากนี้ ยังมีการต่อสู้ทางกฎหมายยืดเยื้อยาวนานโดยผู้ค้นพบ เฮลมุทและเอริกา ไซมอน สำหรับรางวัลตอบแทนที่เหมาะสม หลังจากคำพิพากษาหลายศาล รัฐบาลท้องถิ่นตกลงที่จะจ่ายเงิน 150,000 ยูโร ให้กับเอริกา ไซมอน 17 ปีหลังจากที่ทั้งสองค้นพบร่าง และสามีของเธอได้เสียชีวิตไปแล้ว[4][5]

สาเหตุการเสียชีวิต

เมื่อ พ.ศ. 2544 การตรวจสอบด้วยรังสีเอกซ์และซีทีสแกนพบว่า เอิตซีมีหัวธนูฝังอยู่ในหัวไหล่ซ้ายเมื่อเขาเสียชีวิต[6] และรอยฉีกขนาดเล็กที่เข้ากันบนเสื้อโค้ตของเขา[7] การค้นพบหัวธนูนำให้นักวิจัยคิดว่าเอิตซีเสียชีวิตเพราะเสียเลือดจากบาดแผล ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตแม้ว่าจะมีวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ก็ตาม

การวิจัยต่อไปค้นพบว่าด้ามธนูได้ถูกนำออกไปก่อนที่จะเสียชีวิต และการตรวจสอบร่างอย่างใกล้ชิดได้พบรอยฟกช้ำและรอยบาดบริเวณมือ ข้อมือและหน้าอก หนึ่งในรอยบาดนั้นอยู่ที่โคนนิ้วหัวแม่มือซึ่งลึกลงไปจนถึงกระดูกแต่ไม่มีเวลาที่จะรักษาก่อนหน้าเขาเสียชีวิต[8]

ในปัจจุบัน เป็นที่เชื่อกันว่าการเสียชีวิตเกิดขึ้นจากการโจมตีเข้าที่ศีรษะ นักวิจัยไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะการสะดุดล้ม หรือจากการถูกตีด้วยก้อนหินจากคนอื่น[9]

รอยสัก

เป็นที่ชัดเจนว่าเอิตซีมีรอยสักจำนวน 57 รอย[10] รอยสักเหล่านี้เป็นคาร์บอน (เขม่า) เหล่านี้เป็นกลุ่มของลายเส้นสั้นขนานตั้งตรงทั้งสองข้างของบั้นเอว เครื่องหมายรูปกากบาทหลังเข่าขวา และเครื่องหมายอีกจำนวนมากรอบข้อเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งรอยสักเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับการรักษาบำบัดความเจ็บปวดคล้ายกับการฝังเข็ม ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง วิธีการเช่นนี้จะมีอายุอย่างน้อย 2,000 ปีก่อนหน้าการใช้การฝังเข็มที่เก่าแก่ที่สุดในจีน (ราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล) [11]

อ้างอิง

  1. Norman Hammond (21 February 2005), "Iceman was wearing 'earliest snowshoes'", The Times
  2. James Neill (last updated 27 October 2004), Otzi, the 5,300 year old Iceman from the Alps: pictures & information, สืบค้นเมื่อ 8 March 2007 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help).
  3. "The Discover of Ötzi". South Tyrol Museum of Archaeology.
  4. 'Iceman' row ends after 17 years, BBC News, 29 September 2008.
  5. Nick Squires (29 September 2008), "Oetzi The Iceman's discoverers finally compensated: A bitter dispute over the payment of a finder's fee for two hikers who discovered the world famous Oetzi The Iceman mummy has finally been settled", The Daily Telegraph.
  6. Stephanie Pain (26 July 2001), Arrow points to foul play in ancient iceman's death, New Scientist
  7. James M. Deem (updated 3 January 2008), Ötzi: Iceman of the Alps: scientific studies, สืบค้นเมื่อ 6 January 2008 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help).
  8. Alok Jha (7 June 2007), "Iceman bled to death, scientists say", The Guardian.
  9. Rory Carroll (21 March 2002), "How Oetzi the Iceman was stabbed in the back and lost his fight for life", The Guardian.
  10. "Iceman's tattoos came from fireplace: Discovery News". dsc.discovery.com. สืบค้นเมื่อ February 22, 2011.
  11. Dorfer, L (1999), "A medical report from the stone age?" (PDF), The Lancet, 354: 1023–1025, doi:10.1016/S0140-6736 (98) 12242-0, PMID 10501382, สืบค้นเมื่อ 25 September 2010. {{citation}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)

แม่แบบ:Link FA