ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิวัติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนไปรุ่นเดิม เนื้อหาใหม่เป็นการเผยแพร่แนวคิดใหม่ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลค้นคว้าต้นฉบับ
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ตัดความคลุมเครือ/ไม่มีหน้านั้นแล้ว
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''ปฏิวัติ''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: revolution ; [[ภาษาฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]: Révolution) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบบเดิม ยกเลิกระบบเดิม ใช้ระบบใหม่ หรือ การรื้อโครงสร้างเดิมเป็นส่วนใหญ่ หรือจะใช้เป็นคำที่อธิบายว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น ปฏิวัติตนเอง คือปรับปรุงตัวเองใหม่ จากหน้ามือเป็นหลังมือเป็นต้น
'''ปฏิวัติ''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: revolution ; [[ภาษาฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]: Révolution) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบบเดิม ยกเลิกระบบเดิม ใช้ระบบใหม่ หรือ การรื้อโครงสร้างเดิมเป็นส่วนใหญ่ หรือจะใช้เป็นคำที่อธิบายว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น ปฏิวัติตนเอง คือปรับปรุงตัวเองใหม่ จากหน้ามือเป็นหลังมือเป็นต้น

ในสังคมไทยมักสับสนในนิยามที่แน่ชัดระหว่างคำว่าปฏิวัติ และ [[รัฐประหาร]] บางครั้งก็ใช้ทั้งสองคำรวมกันเป็น '''ปฏิวัติรัฐประหาร'''<ref>http://www.democrazy.in.th/forum/index.php?topic=654.0 ตัวอย่างของความสับสนของคำว่ารัฐประหาร ปฏิวัติ และปฏิวัติรัฐประหาร</ref>


==นิยาม==
==นิยาม==
คำำว่าปฎิวัติในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์จากภาษาละตินคือ ''revolutio'' และ ''revolvere'' แปลว่าการหมุนรอบ หรือแปลได้อีกทางหนึ่งว่าการพลิกฟ้าควำ่แผ่นดิน (to turn around) <ref>http://en.wikipedia.org/wiki/Revolution</ref> คำนี้มีใช้ทั่วไปในทาง[[สังคมศาสตร์]] แต่ก็มีใช้ในทางวิทยาศาสตร์เช่นกันเช่น[[การปฏิวัติวิทยาศาสตร์]] เป็นต้น<ref>Richard Pipes, "A Concise History of the Russian Revolution," Cited by http://chagala.com/russia/pipes.htm</ref>
คำว่าปฎิวัติในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์จากภาษาละตินคือ ''revolutio'' และ ''revolvere'' แปลว่าการหมุนรอบ หรือแปลได้อีกทางหนึ่งว่าการพลิกฟ้าควำ่แผ่นดิน (to turn around) <ref>http://en.wikipedia.org/wiki/Revolution</ref> คำนี้มีใช้ทั่วไปในทาง[[สังคมศาสตร์]] แต่ก็มีใช้ในทางวิทยาศาสตร์เช่นกันเช่น[[การปฏิวัติวิทยาศาสตร์]] เป็นต้น<ref>Richard Pipes, "A Concise History of the Russian Revolution," Cited by http://chagala.com/russia/pipes.htm</ref>


สารานุกรมเมอร์เรียม-เวบสเตอร์ (Merriam-Webster Encyclopedia) อธิบายว่า การปฏิวัติในทางการเมืองนั้นคือการเปลี่ยนแปลงการตัดรูปแบบของการเมืองการปกครองในระดับฐานราก (fundamentally)<ref>http://www.merriam-webster.com/dictionary/revolution</ref> สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Briyanica Concise Encyclopedia) อธิบายว่าการปฏิวัติในทางสังคมศาสตร์ และในทางการเมืองคือการกระทำ[[ความรุนแรง]]ต่อโครงสร้าง, ระบบ, สถาบัน ฯลฯ ทางสังคมการเมือง การปฏิวัติทางสังคมการเมืองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานต่างๆที่สังคมการเมืองเป็นอยู่เดิม เพิ่มจัดตั้ง หรือสถานามาตรฐานของสังคมการเมืองแบบใหม่ให้เกิดขึ้น<ref>http://www.britannica.com/EBchecked/topic/500584/revolution</ref>
สารานุกรมเมอร์เรียม-เวบสเตอร์ (Merriam-Webster Encyclopedia) อธิบายว่า การปฏิวัติในทางการเมืองนั้นคือการเปลี่ยนแปลงการตัดรูปแบบของการเมืองการปกครองในระดับฐานราก (fundamentally)<ref>http://www.merriam-webster.com/dictionary/revolution</ref> สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Briyanica Concise Encyclopedia) อธิบายว่าการปฏิวัติในทางสังคมศาสตร์ และในทางการเมืองคือการกระทำ[[ความรุนแรง]]ต่อโครงสร้าง, ระบบ, สถาบัน ฯลฯ ทางสังคมการเมือง การปฏิวัติทางสังคมการเมืองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานต่างๆที่สังคมการเมืองเป็นอยู่เดิม เพิ่มจัดตั้ง หรือสถานามาตรฐานของสังคมการเมืองแบบใหม่ให้เกิดขึ้น<ref>http://www.britannica.com/EBchecked/topic/500584/revolution</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:00, 14 ตุลาคม 2554

ปฏิวัติ (อังกฤษ: revolution ; ฝรั่งเศส: Révolution) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบบเดิม ยกเลิกระบบเดิม ใช้ระบบใหม่ หรือ การรื้อโครงสร้างเดิมเป็นส่วนใหญ่ หรือจะใช้เป็นคำที่อธิบายว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น ปฏิวัติตนเอง คือปรับปรุงตัวเองใหม่ จากหน้ามือเป็นหลังมือเป็นต้น

นิยาม

คำว่าปฎิวัติในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์จากภาษาละตินคือ revolutio และ revolvere แปลว่าการหมุนรอบ หรือแปลได้อีกทางหนึ่งว่าการพลิกฟ้าควำ่แผ่นดิน (to turn around) [1] คำนี้มีใช้ทั่วไปในทางสังคมศาสตร์ แต่ก็มีใช้ในทางวิทยาศาสตร์เช่นกันเช่นการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น[2]

สารานุกรมเมอร์เรียม-เวบสเตอร์ (Merriam-Webster Encyclopedia) อธิบายว่า การปฏิวัติในทางการเมืองนั้นคือการเปลี่ยนแปลงการตัดรูปแบบของการเมืองการปกครองในระดับฐานราก (fundamentally)[3] สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Briyanica Concise Encyclopedia) อธิบายว่าการปฏิวัติในทางสังคมศาสตร์ และในทางการเมืองคือการกระทำความรุนแรงต่อโครงสร้าง, ระบบ, สถาบัน ฯลฯ ทางสังคมการเมือง การปฏิวัติทางสังคมการเมืองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานต่างๆที่สังคมการเมืองเป็นอยู่เดิม เพิ่มจัดตั้ง หรือสถานามาตรฐานของสังคมการเมืองแบบใหม่ให้เกิดขึ้น[4]

โดยสรุปการปฏิวัติมีความหมายว่าการเปลี่ยนแปลงระบอบ (regime) ในทางสังคมการเมืองอาทิ วัฒนธรรมทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น การปฏิวัติจึงไม่ต่างจากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการเมือง (political paradigm) ซึ่งเกิดได้ยากกว่าการรัฐประหาร ซึ่งเพียงการเปลี่ยนแปลงระบบทางการเมือง (political system) อาทิ ผู้นำของรัฐ (head of state) หรือรัฐบาล (government) เท่านั้น[5]

อนึ่งการปฏิวัติทางการเมืองเป็นมโนทัศน์ที่สำคัญในการอธิบายการปฏิวัติสังคมในลัทธิทรอทสกี้ (Trotkyism) [6]

ตัวอย่างของการปฏิวัติทางการเมืองในประวัติศาสตร์ทางการเมืองโลก[7]

  • คำว่าปฏิวัติถูกใช้ครั้งแรกในอังกฤษ ค.ศ. 1688 - 89 เพื่ออธิบายการที่กษัตริย์เจมส์ที่ 2 ถูกยึดอำนาจ ศัพท์ในทางสังคมศาสตร์เรียกเหตุการณ์นี้ว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution) การปฏิวัติครั้งนี้ทำให้อำนาจสมบูรณ์ของกษตริย์อังกฤษถูกถ่ายโอนมาสู่สภา
  • ในศตวรรที่ 18 ในประเทศอเมริกาเกิดการปฏิวัติอเมริกา (The American Revolution) ซึ่งเป็นการปฎิวััติประเทศอเมริกาให้ปกครองตนเองแและแยกออกจากการปกครองของอังกฤษ
  • ใน ค.ศ. 1789 เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส (The French Revolution) เมื่อปัญญาชน และประชาชนนำโดยโรแบร์สปิแอร์ (Maximilien de Robespierre) ปฏิวัติการปกครองของกษัตริย์หลุยส์ที่ 16 (Louise XVI) การปฏิวัติครั้งนี้มักถูกยกย่องว่าเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งแรก รวมถึงเป็นการปฎิวัติครั้งแรกของโลกสมัยใหม่ด้วย
  • ในศตวรรษที่ 19 การแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสม์ (Communism) ทำให้ประเทศจำนวนมากเกิดการปฏิวัติการปกครองโดยประชาชน (People Revolution) ขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยม/คอมมิวนิสม์

สำหรับในสังคมการเมืองไทยเกิดการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นเพียงครั้งเดียวคือ การปฏิวัติสยาม ในวันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติการปกครองโดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) ส่วนการล้มล้างรัฐบาลในครั้งต่อมานั้นเป็นเพียงการรัฐประหาร เพราะไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ทว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ผู้นำของรัฐบาล หรือเป็นการยืดอายุของรัฐบาลอุปถัมป์อำนาจนิยม (Suzerain-Authoritarianism) ของสังคมไทยเพียงเท่านั้น[8]

อ้างอิง

  1. http://en.wikipedia.org/wiki/Revolution
  2. Richard Pipes, "A Concise History of the Russian Revolution," Cited by http://chagala.com/russia/pipes.htm
  3. http://www.merriam-webster.com/dictionary/revolution
  4. http://www.britannica.com/EBchecked/topic/500584/revolution
  5. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (มธ 120) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
  6. ดู http://en.wikipedia.org/wiki/Political_revolution
  7. Richard Pipes, "A Concise History of the Russian Revolution," Cited by http://chagala.com/russia/pipes.htm
  8. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (มธ 120) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.

ดูเพิ่ม