ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
เมื่อวันเลือกตั้งมาถึง ปรากฏว่า มีการใช้คนฝ่ายรัฐบาลเวียนเทียนกันลงคะแนน เรียกว่า ''พลร่ม'' เมื่อปิดหีบแล้วมีการยัดบัตรลงคะแนนเถื่อนเข้าไป เรียกว่า ''ไพ่ไฟ'' ตลอดจนแอบเปลี่ยนหีบเลือกตั้งในที่ลับตาคน และมีการเหตุขลุกขลักขึ้นในหลายพื้นที่ รุนแรงถึงขนาดมีการฆาตกรรมคนที่สนับสนุนผู้สมัครบางคนด้วย จึงต้องใช้เวลานับคะแนนกันยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ด้วยกัน ซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกตีแผ่อย่างกว้างขวางใน[[สื่อมวลชน]]ต่าง ๆ เช่น [[หนังสือพิมพ์]] เป็นต้น
เมื่อวันเลือกตั้งมาถึง ปรากฏว่า มีการใช้คนฝ่ายรัฐบาลเวียนเทียนกันลงคะแนน เรียกว่า ''พลร่ม'' เมื่อปิดหีบแล้วมีการยัดบัตรลงคะแนนเถื่อนเข้าไป เรียกว่า ''ไพ่ไฟ'' ตลอดจนแอบเปลี่ยนหีบเลือกตั้งในที่ลับตาคน และมีการเหตุขลุกขลักขึ้นในหลายพื้นที่ รุนแรงถึงขนาดมีการฆาตกรรมคนที่สนับสนุนผู้สมัครบางคนด้วย จึงต้องใช้เวลานับคะแนนกันยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ด้วยกัน ซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกตีแผ่อย่างกว้างขวางใน[[สื่อมวลชน]]ต่าง ๆ เช่น [[หนังสือพิมพ์]] เป็นต้น


ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า [[พรรคเสรีมนังคศิลา]] ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาในปี [[พ.ศ. 2498]] เพื่อที่จะรองรับการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะ ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พลตำรวจเอก[[เผ่า ศรียานนท์]] ได้รับเสียงข้างมากที่สุด ถึง 83 คน เฉพาะใน[[จังหวัดพระนคร]] และ[[จังหวัดธนบุรี]] อันเป็น[[เมืองหลวง]] ได้ถึง 6 คน โดย จอมพล ป. ได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเป็นลำดับหนึ่ง ด้วยคะแนน 137,735 ตามมาด้วย พันตรี[[ควง อภัยวงศ์]] หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งสำคัญ ด้วยคะแนน 118,457 ซึ่งใน[[กรุงเทพ]] พรรคประชาธิปัตย์ได้เพียงแค่ 2 ที่นั่งเท่านั้น คือ พันตรีควง และ นาวาโท[[พระประยุทธชลธี]] และทั่วประเทศได้เพียง 30 ที่นั่งเท่านั้น
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า [[พรรคเสรีมนังคศิลา]] ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาในปี [[พ.ศ. 2498]] เพื่อที่จะรองรับการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะ ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พลตำรวจเอก[[เผ่า ศรียานนท์]] ได้รับเสียงข้างมากที่สุด ถึง 83 คน เฉพาะใน[[จังหวัดพระนคร]] และ[[จังหวัดธนบุรี]] อันเป็น[[เมืองหลวง]] ได้ถึง 6 คน โดย จอมพล ป. ได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเป็นลำดับหนึ่ง ด้วยคะแนน 137,735 ตามมาด้วย พันตรี[[ควง อภัยวงศ์]] หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งสำคัญ ด้วยคะแนน 118,457 ซึ่งใน[[กรุงเทพ]] พรรคประชาธิปัตย์ได้เพียงแค่ 2 ที่นั่งเท่านั้น คือ พ.ต.ควง และ นาวาโท[[พระประยุทธชลธี]] และทั่วประเทศได้เพียง 30 ที่นั่งเท่านั้น


ผลการเลือกตั้ง ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้จากประชาชน ดังนั้น ในวันที่ [[2 มีนาคม]] พ.ศ. 2500 นิสิต[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และนักศึกษา[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเริ่มขบวนที่[[ท้องสนามหลวง]] และเดินไปเรื่อยโดยมี[[ทำเนียบรัฐบาล]]เป็นจุดหมาย มีการลด[[ธงไตรรงค์|ธงชาติ]]ครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง โดยหมายจะให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ชี้แจงการเลือกตั้งครั้งนี้ให้จงได้ เมื่อขบวนผู้ชุมนุมมาถึง[[สะพานมัฆวาน]] พลเอก [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ผู้บัญชาการทหารบก ที่ทางจอมพล ป.แต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมดูแลสถานการณ์ กลับถอดหมวกโบกรับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยกล่าวว่าทหารจะไม่มีวันทำร้ายประชาชน และนำพาผู้ชุมนุมเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเจรจากับ จอมพล ป.เอง ที่สุด จอมพล ป.ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทย[[คู่ฟ้า]] และได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป.ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่บริสุทธิ์และจะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ การชุมนุมจึงสลายตัวไป
ผลการเลือกตั้ง ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้จากประชาชน ดังนั้น ในวันที่ [[2 มีนาคม]] พ.ศ. 2500 นิสิต[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และนักศึกษา[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเริ่มขบวนที่[[ท้องสนามหลวง]] และเดินไปเรื่อยโดยมี[[ทำเนียบรัฐบาล]]เป็นจุดหมาย มีการลด[[ธงไตรรงค์|ธงชาติ]]ครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง โดยหมายจะให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ชี้แจงการเลือกตั้งครั้งนี้ให้จงได้ เมื่อขบวนผู้ชุมนุมมาถึง[[สะพานมัฆวาน]] พลเอก [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ผู้บัญชาการทหารบก ที่ทางจอมพล ป.แต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมดูแลสถานการณ์ กลับถอดหมวกโบกรับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยกล่าวว่าทหารจะไม่มีวันทำร้ายประชาชน และนำพาผู้ชุมนุมเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเจรจากับ จอมพล ป.เอง ที่สุด จอมพล ป.ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทย[[คู่ฟ้า]] และได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป.ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่บริสุทธิ์และจะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ การชุมนุมจึงสลายตัวไป

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:17, 21 กันยายน 2554

ไฟล์:Thailand election vol.9.jpg
ประชาชนและบรรดานักศึกษาประท้วงการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 9 มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นการเลือกตั้งที่ได้ชื่อว่า สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์[1] ก่อนหน้าเลือกตั้งจะเกิดขึ้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ประกาศจะจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ให้บริสุทธิ์ ถวายเป็น พุทธบูชา เนื่องในโอกาสครบรอบวาระกึ่งพุทธกาล

แต่ก่อนการเลือกตั้งนั้น ได้มีการข่มขู่สารพัดจากบรรดานักเลง อันธพาล ที่ทางรัฐบาลเรียกว่า "ผู้กว้างขวาง" โดยบังคับให้ชาวบ้านเลือกแต่ผู้สมัครจากพรรครัฐบาล มีการใช้อุจจาระป้ายตามประตูบ้าน รวมทั้งใช้เครื่องบินโปรยใบปลิวประณามพรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ด้วย

เมื่อวันเลือกตั้งมาถึง ปรากฏว่า มีการใช้คนฝ่ายรัฐบาลเวียนเทียนกันลงคะแนน เรียกว่า พลร่ม เมื่อปิดหีบแล้วมีการยัดบัตรลงคะแนนเถื่อนเข้าไป เรียกว่า ไพ่ไฟ ตลอดจนแอบเปลี่ยนหีบเลือกตั้งในที่ลับตาคน และมีการเหตุขลุกขลักขึ้นในหลายพื้นที่ รุนแรงถึงขนาดมีการฆาตกรรมคนที่สนับสนุนผู้สมัครบางคนด้วย จึงต้องใช้เวลานับคะแนนกันยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ด้วยกัน ซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกตีแผ่อย่างกว้างขวางในสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคเสรีมนังคศิลา ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2498 เพื่อที่จะรองรับการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะ ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ได้รับเสียงข้างมากที่สุด ถึง 83 คน เฉพาะในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี อันเป็นเมืองหลวง ได้ถึง 6 คน โดย จอมพล ป. ได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเป็นลำดับหนึ่ง ด้วยคะแนน 137,735 ตามมาด้วย พันตรีควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งสำคัญ ด้วยคะแนน 118,457 ซึ่งในกรุงเทพ พรรคประชาธิปัตย์ได้เพียงแค่ 2 ที่นั่งเท่านั้น คือ พ.ต.ควง และ นาวาโทพระประยุทธชลธี และทั่วประเทศได้เพียง 30 ที่นั่งเท่านั้น

ผลการเลือกตั้ง ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้จากประชาชน ดังนั้น ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเริ่มขบวนที่ท้องสนามหลวง และเดินไปเรื่อยโดยมีทำเนียบรัฐบาลเป็นจุดหมาย มีการลดธงชาติครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง โดยหมายจะให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ชี้แจงการเลือกตั้งครั้งนี้ให้จงได้ เมื่อขบวนผู้ชุมนุมมาถึงสะพานมัฆวาน พลเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ที่ทางจอมพล ป.แต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมดูแลสถานการณ์ กลับถอดหมวกโบกรับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยกล่าวว่าทหารจะไม่มีวันทำร้ายประชาชน และนำพาผู้ชุมนุมเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเจรจากับ จอมพล ป.เอง ที่สุด จอมพล ป.ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า และได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป.ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่บริสุทธิ์และจะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ การชุมนุมจึงสลายตัวไป

แต่ต่อมาเหตุการณ์ได้ขยายตัวและบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มทหารที่สนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก จนกลายเป็นการรัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ในที่สุด

การเลือกตั้งในครั้งกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้ทั้งหมด 160 คน เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตจังหวัด มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 9,859,039 คน ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 5,668,566 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50 โดยจังหวัดที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิมากที่สุด คือ จังหวัดสระบุรี คิดถัวเฉลี่ยร้อยละ 93.30 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดสุพรรณบุรีคิดถัวเฉลี่ย 42.06[2]

พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร

พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครลงแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีจำนวน 23 พรรค ได้แก่

อ้างอิง

ดูเพิ่ม