ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุนทรศีลสมาจาร (ผล คุตฺตจิตฺโต)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sethasilp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sethasilp (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
{{เริ่มกล่อง}}
{{เริ่มกล่อง}}
{{สืบตำแหน่ง
{{สืบตำแหน่ง
|ก่อนหน้า = [[พระวิเชียรกวี(ฉัตร) อินฺทสุวณฺโณ]]
|ก่อนหน้า = [[พระวิเชียรกวี (ฉัตร) อินฺทสุวณฺโณ]]
|ตำแหน่ง = [[เจ้าอาวาส]][[วัดหนังราชวรวิหาร]]
|ตำแหน่ง = [[เจ้าอาวาส]][[วัดหนังราชวรวิหาร]]
|ปี = [[พ.ศ. 2503]] - [[พ.ศ. 2512]]
|ปี = [[พ.ศ. 2503]] - [[พ.ศ. 2512]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:03, 10 กันยายน 2554

พระสุนทรศีลสมาจาร

(ผล คุตฺตจิตฺโต)
ส่วนบุคคล
เกิด13 สิงหาคม พ.ศ. 2437 (75 ปี)
มรณภาพพ.ศ. 2512
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดหนังราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท27 มีนาคม พ.ศ. 2458
พรรษา54
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนังราชวรวิหาร

ประวัติ

พระสุนทรศีลสมาจาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดธนบุรี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2437 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ที่บ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรนายแก้ว นางยิ้ม แก้วเพ็ชร เมื่อวัยเด็กท่านได้มาศึกษาอยู่ที่วัดหนัง ศึกษาหนังสือไทยในสำนักของพระครูสังวรยุตตินทรีย์ (คำ) เรียนภาษาบาลี กับนายมิ่ง รักชินวงศ์ อาจารย์สอนบาลีแห่งวัดหนัง พ.ศ. 2453 เลิกการศึกษากลับไปอยู่บ้านช่วยบิดามารดา ประกอบอาชีพ พ.ศ. 2455 สมัครเข้ารับราชการทหารเรือ

อุปสมบท

หลวงพ่อท่านได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2458 ณ พัทธสีมาวัดหนัง ตำบลคุ้งเผาถ่าน (บางค้อ) อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี พระภาวนาโกศลเถร (อี่ยม) วัดหนังเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนิ่ม แห่งวัดโคกขาม พระปลัดแจ้งแห่งวัดหนัง เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ และได้มาจำพรรษาที่วัดหนัง จนกระทั่งมรณภาพ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2478 ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นผู้ช่วยเจ้าอาวาสชั้นโท [1] หลวงพ่อท่านไม่ใช่นักพูด แต่หลวงพ่อเป็นนักทำ คือทำตนของท่านให้ศิษยานุศิษย์ และสาธุชน ได้เห็นได้ศึกษา ในการประพฤติปฏิบัติของท่าน นับว่าเป็นผลดีของการปกครองในด้านการเผยแผ่ ก็เท่ากับเป็นการเผยแผ่ตัวอย่างที่ดีให้แก่ชนรุ่นหลังได้เห็นได้รู้เอาเป็นครูในการดำเนินรอยตาม งานบูรณะปฏิสังขรณ์ก่อสร้างเสนาสนะนั้น หลวงพ่อได้ทำมาก่อนที่ท่านจักได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จับงานมาแต่สมัยเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฉะนั้นงานก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระอารามจึงไม่เป็นของแปลก และหนักใจของท่าน ท่านมิได้ถือว่างานก่อสร้างเป็นเรื่องของสมภารเจ้าวัด เอกลาภเป็นของลูกวัด ท่านถือเสียว่างานก่อสร้างทุกชิ้นที่เกิดขึ้นในวัดเป็นสมบัติของพระศาสนาเป็นของส่วนรวม เป็นส่วนกลาง เป็นที่บำเพ็ญกุศลของสาธุชนทั่วไป

เป็นเจ้าอาวาส

หลวงพ่อท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนังรูปที่ 7เมื่อปี พ.ศ. 2503 [2] ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส มีการบูรณะซ่อมแซมสิ่งที่ทรุดโทรมให้ดีขึ้นเสมอ ฉะนันในยุคสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จึงได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ปรับปรุงเพิ่มเติม กุฏิคณะไต้ ได้บอกบุญปลูกศรัทธาให้นางชิต นุชเนตรคหปตานี นางขุนเทียน สร้างมณฑปเป็นที่ประดิษฐาน พระบาทจำลอง ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองหน้าวัด ด้านทิศเหนือ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ เปลี่ยนเครื่องบนมุมกระเบื้อง ยกช่อฟ้าใหม่ ซ่อมศาลาพุทธบาท ศาลาราย บอกบุญสร้างเมรุ ศาลาทึม และปฏิสังขรณ์เสนาสนะไว้ เป็นจำนวนมาก ทำให้พระอาราม เป็นที่เจริญตาเจริญใจ ของสาธุชน ผู้เข้าไปในวัดให้เกิดศรัทธาปสาทะ น้อมใจเข้าสู่แนวทางปฏิบัติ ให้เกิดปัญญาเห็นชัดตามสภาพธรรมในขั้นต่อไป

มรณภาพ

ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2512 [3]

อ้างอิง

  1. พ.ศ. 2478 เป็นพระครูสัญญาบัตรผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท(ฝ่ายวิปัสสนา)
  2. เป็นเจ้าอาวาสวัดหนังในปี พ.ศ. 2503
  3. มรณภาพในปี พ.ศ. 2512 ดูปีที่เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส