ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การระงับข้อพิพาท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Worner sharpen (คุย | ส่วนร่วม)
Worner sharpen (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37: บรรทัด 37:


[[หมวดหมู่:นโยบายวิกิพีเดีย]]
[[หมวดหมู่:นโยบายวิกิพีเดีย]]
[[af:Wikipedia:Geskilbeslegting]]
[
[af:Wikipedia:Geskilbeslegting]]
[[am:Wikipedia:Resolving disputes]]
[[am:Wikipedia:Resolving disputes]]
[[ar:ويكيبيديا:حل النزاع]]
[[ar:ويكيبيديا:حل النزاع]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:31, 3 กันยายน 2554

หน้านโยบายนี้อธิบายว่าคุณควรทำอย่างไรหากเกิดข้อพิพาทระหว่างคุณกับผู้เขียนคนอื่น ดูเพิ่มที่ มารยาทในวิกิพีเดีย โปรดระลึกไว้เสมอว่าวิกิพีเดียไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการเอาชนะ

การยุติข้อพิพาท

พุ่งเป้าไปที่ตัวเนื้อหา ไม่ใช่ตัวบุคคล

ขั้นแรก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพุ่งความสนใจไปยังเนื้อหา ไม่ใช่ผู้ที่ร่วมแก้ไข วิกิพีเดียถูกสร้างขึ้นมาโดยมีนโยบายให้ทุกคนร่วมมือกัน และการเชื่อว่าผู้อื่นมีเจตนาดีเป็นสิ่งที่สำคัญในทุก ๆ สังคม หากคุณพบว่าบทความมีส่วนใดที่คลาดเคลื่อนหรือไม่เป็นกลาง จงพยายามปรับปรุงบทความเท่าที่คุณพึงทำได้ หากการปรับปรุงนั้นมิอาจทำได้โดยง่ายและคุณไม่เห็นด้วยกับมุมมองที่แสดงในบทความนั้น อย่าเพียงแค่ลบเนื้อหาที่คุณไม่เห็นด้วย คุณควรจะแก้ไขบทความโดยการทำให้บทความมีมุมมองที่เป็นกลาง ทั้งนี้ข้อความที่ปราศจากแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออกได้เนื่องจากวิกิพีเดียต้องพิสูจน์ยืนยันได้

อธิบายเหตุผลที่คุณแก้ไขบทความในคำอธิบายอย่างย่อ การใช้คำอธิบายอย่างย่อจะทำให้ผู้ร่วมแก้ไขคนอื่น ๆ เข้าใจในสิ่งที่คุณพยายามจะแก้ไข หากการแก้ไขอาจก่อให้เกิดการถกเถียงกัน ก็จงอธิบายว่าเหตุใดคุณจึงแก้ไขและการแก้ไขนั้นทำให้บทความดีขึ้นได้อย่างไร หากเหตุผลดังกล่าวเป็นเหตุผลที่ซับซ้อน กรุณายกการแก้ไขของคุณไปอธิบายยังหน้าพูดคุยด้วย เพื่อที่หากการแก้ไขของคุณเกิดถูกย้อนกลับ คุณจะสามารถพูดคุยเกี่ยวกับการแก้ไขดังกล่าวในหน้าพูดคุยได้ โดยสรุปแล้วสิ่งที่คุณควรทำไม่ใช่การสร้างความขัดแย้ง แต่ควรอธิบายด้วยเหตุและผลกับผู้ที่คุณขัดแย้งให้เข้าใจ และเตรียมตัวที่จะเปลี่ยนใจหากผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า

ใจเย็น ๆ

สถานการณ์โดยส่วนมากไม่ใช่กรณีเร่งด่วน ดังนั้นกรุณาให้เวลาทั้งตัวคุณเองและบุคคลอื่นสักพักหนึ่ง อย่างเช่นหายใจลึก ๆ แล้วไปนอนหลับเสีย อย่ากังวล เพราะคุณสามารถจะแก้ไขปัญหาได้ในภายหลังโดยการกลับไปดูที่ประวัติการแก้ไขหน้า เพื่อหารุ่นที่คุณได้ทำไว้ล่าสุดและเปรียบเทียบกับรุ่นปัจจุบันว่ามีสิ่งใดที่คุณจะเพิ่มหรือนำออก

หากมองดูสถานการณ์ในระยะยาว คุณอาจกลับมาแก้ไขบทความในจุดที่คุณต้องการแก้ได้ทันเวลาโดยที่ปราศจากปัญหาที่เคยเป็นข้อพิพาท และคู่กรณีก็อาจปรับปรุงบทความโดยที่ไม่สนใจเรื่องที่เคยเป็นข้อพิพาทอีกเลย ในช่วงนั้นเองบทความที่เป็นข้อพิพาทจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้น และหากเกิดข้อพิพาทขึ้นอีก ผู้เขียนคนอื่นอาจสนใจและมีมุมมองต่อข้อพิพาทต่างกัน

กรณีเช่นนี้ เป็นกรณีที่มีประโยชน์โดยเฉพาะเมื่อคุณมีปัญหากับผู้ใช้ใหม่ เนื่องจากการควบคุมอารมณ์นี้จะทำให้ผู้ใช้ใหม่เข้าใจในนโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย ดังนั้นหากเกิดกรณีที่มีปัญหากับผู้ใช้ใหม่ ลองหันความสนใจไปเขียนบทความที่มีประโยชน์อื่น ๆ จะดีกว่าการโต้แย้งกับผู้ใช้ใหม่

พูดคุยกับผู้ใช้อื่น ๆ

หากมีการพูดคุยถึงประเด็นใด ๆ ก็ตาม ขอให้พูดคุยอย่างใจเย็น หากมีกรณีพฤติกรรมที่หยาบคายหรือไม่เหมาะสมเกิดขึ้น อย่าใช้วิธีการทำนองเดียวกันเพื่อตอบโต้ ให้พึงระลึกถึงทัศนคติของผู้เขียนคนอื่น และยืดมั่นว่าบุคคลเหล่านี้กระทำการโดยมีเจตนาดี เว้นแต่จะมีข้อพิสูจน์โดยชัดแจ้งว่าไม่เป็นเช่นนั้น คุณจึงควรพิจารณายุติข้อพิพาทโดยให้ผู้อื่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

การพูดคุยกับผู้อื่นมิใช่ระเบียบพิธีรีตอง แต่เป็นความจำเป็นเพื่อให้สังคมทุกคนอยู่ได้ การไม่พูดคุยหรืออภิปรายจะทำให้ผู้อื่นไม่เข้าใจซึ่งเจตนาของคุณ และอาจทำให้การยุติข้อพิพาทในระดับที่สูงขึ้นไปไม่มีประสิทธิผล ในทางกลับกัน การอภิปรายที่ต่อเนื่องและการเจรจา แม้จะเกิดความตึงเครียด อาจไม่ประสบผลสำเร็จโดยทันทีหรือโดยสิ้นเชิงก็ตาม เป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังพยายามหาทางออกซึ่งปัญหานั้นแล้ว

นอกจากนี้ หากมีประเด็นปัญหา ลองพิจารณาเจรจาให้ได้ซึ่งข้อยุติ ไม่ว่าจะเป็นการประนีประนอมหรือการระงับข้อพิพาทชั่วคราว การกระทำดังกล่าวนี้เป็นสิ่งสำคัญหากคุณต้องการความเห็นจากผู้อื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวนี้ เพราะจะทำให้ผู้อื่นพิจารณาประเด็นปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล ปราศจากซึ่งการแก้ไขที่เป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง

กรณีเร่งด่วน

ในบางกรณีที่เร่งด่วนมาก ๆ หรือกรณีกระบวนการยุติข้อพิพาทไม่สามารถให้ข้อสรุปได้ สามารถนำกรณีดังกล่าวไปที่หน้าต่อไปนี้ได้

โปรดทราบว่า หน้า วิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ มิใช่หน้าสำหรับการแจ้งประเด็นว่าด้วยการขัดกันแห่งเนื้อหา หรือพฤติกรรมของผู้ใช้โดยตรง หากรายงานไม่ถูกที่ อาจถูกลบออกและอาจต้องรายงานซ้ำในที่ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้ดูแลระบบมีอำนาจจำกัดในการรับมือผู้ใช้ที่กระทำการไม่เหมาะสม จึงไม่ใช่กรรมการตัดสินข้อพิพาทแต่อย่างใด

โปรดระวัง

ในบางกรณีผู้ใช้อาจนำการยุติข้อพิพาทไปใช้เพื่ออ้างความชอบธรรมในการกระทำการอันไม่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผลที่เกิดขึ้นนั้นย่อมจะไม่เป็นผลดี กระบวนการยุติข้อพิพาทดังกล่าวนี้มีขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนร่วมกันเขียนสารานุกรม มิใช่เพื่อเอาชนะในประเด็นส่วนตัวหรือการเมือง