ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เส้นประสาทรับกลิ่น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
}}
}}


'''ฆานประสาท''' หรือ '''ประสาทรับกลิ่น''' หรือ '''ประสาทสมองเส้นที่ 1'''<ref>[http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน] ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544</ref> หรือ '''เส้นประสาทโอลแฟ็กทอรี'''<ref>{{ICD-10-TM 2009}} บทที่ 6 โรคของระบบประสาท หน้าที่ 290</ref> ({{lang-en|olfactory nerve}}) เป็น[[เส้นประสาทสมอง]]คู่แรกจากทั้งหมด 12 คู่ เซลล์ประสาทรับรู้กลิ่นของเส้นประสาทนี้อยู่ใน[[เยื่อเมือก]]รับรู้กลิ่น (olfactory mucosa) ที่อยู่ด้านบนของ[[โพรงจมูก]] เส้นประสาทรับกลิ่นประกอบด้วยใยประสาทรับความรู้สึกที่มาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวรับรู้กลิ่น (olfactory epithelium) ไปยัง[[ออลแฟคทอรี บัลบ์]] (olfactory bulb) โดยผ่านรูเปิดเล็กๆ จำนวนมากที่มีลักษณะเหมือนตะแกรงที่เรียกว่า แผ่นคริบิฟอร์ม ของกระดูกเอทมอยด์
'''ฆานประสาท''' หรือ '''ประสาทรับกลิ่น''' หรือ '''ประสาทสมองเส้นที่ 1'''<ref>[http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน] ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544</ref> หรือ '''เส้นประสาทโอลแฟ็กทอรี'''<ref>{{ICD-10-TM 2009}} บทที่ 6 โรคของระบบประสาท หน้าที่ 290</ref> ({{lang-en|olfactory nerve}}) เป็น[[เส้นประสาทสมอง]]คู่แรกจากทั้งหมด 12 คู่ เซลล์ประสาทรับรู้กลิ่นของเส้นประสาทนี้อยู่ใน[[เยื่อเมือก]]รับกลิ่น (olfactory mucosa) ที่อยู่ด้านบนของ[[โพรงจมูก]] เส้นประสาทรับกลิ่นประกอบด้วยใยประสาทรับความรู้สึกที่มาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวรับกลิ่น (olfactory epithelium) ไปยัง[[ออลแฟคทอรี บัลบ์]] (olfactory bulb) โดยผ่านรูเปิดเล็กๆ จำนวนมากที่มีลักษณะเหมือนตะแกรงที่เรียกว่า แผ่นคริบิฟอร์ม ของกระดูกเอทมอยด์


เซลล์ประสาทรับรู้กลิ่นเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต และยืด[[แอกซอน]]ใหม่ๆ ไปยังออลแฟคทอรี บัลบ์ เซลล์ Olfactory ensheathing glia ห่อหุ้มมัดของแอกซอนเหล่านี้และเชื่อว่าช่วยค้ำจุนให้เข้าไปยัง[[ระบบประสาทกลาง]]ได้สะดวกขึ้น
เซลล์ประสาทรับกลิ่นเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต และยืด[[แอกซอน]]ใหม่ๆ ไปยังออลแฟคทอรี บัลบ์ เซลล์ Olfactory ensheathing glia ห่อหุ้มมัดของแอกซอนเหล่านี้และเชื่อว่าช่วยค้ำจุนให้เข้าไปยัง[[ระบบประสาทกลาง]]ได้สะดวกขึ้น


ความรู้สึกของกลิ่นมาจากการกระตุ้นของตัวรับกลิ่น (olfactory receptor) โดยการกระตุ้นของโมเลกุลแก๊สซึ่งผ่านเข้าไปในจมูกระหว่างการหายใจเข้า ผลจากกลไกทางไฟฟ้าจะนำกระแสประสาทไปยังออลแฟคทอรี บัลบ์ ซึ่งต่อมาจะส่งกระแสประสาทไปยังส่วนต่างๆ ของระบบรับรู้กลิ่น (olfactory system) และส่วนอื่นๆ ของระบบประสาทกลางผ่านทางออลแฟคทอรี แทร็กท์ (olfactory tract)
ความรู้สึกของกลิ่นมาจากการกระตุ้นของตัวรับกลิ่น (olfactory receptor) โดยการกระตุ้นของโมเลกุลแก๊สซึ่งผ่านเข้าไปในจมูกระหว่างการหายใจเข้า ผลจากกลไกทางไฟฟ้าจะนำกระแสประสาทไปยังออลแฟคทอรี บัลบ์ ซึ่งต่อมาจะส่งกระแสประสาทไปยังส่วนต่างๆ ของระบบรับรู้กลิ่น (olfactory system) และส่วนอื่นๆ ของระบบประสาทกลางผ่านทางออลแฟคทอรี แทร็กท์ (olfactory tract)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:19, 1 กันยายน 2554

เส้นประสาทรับกลิ่น หรือ
เส้นประสาทสมองเส้นที่ 1 หรือ
ฆานประสาท
(Olfactory nerve)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินnervus olfactorius
MeSHD009832
นิวโรเนมส์32
TA98A14.2.01.004
A14.2.01.005
TA26181
FMA46787
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

ฆานประสาท หรือ ประสาทรับกลิ่น หรือ ประสาทสมองเส้นที่ 1[1] หรือ เส้นประสาทโอลแฟ็กทอรี[2] (อังกฤษ: olfactory nerve) เป็นเส้นประสาทสมองคู่แรกจากทั้งหมด 12 คู่ เซลล์ประสาทรับรู้กลิ่นของเส้นประสาทนี้อยู่ในเยื่อเมือกรับกลิ่น (olfactory mucosa) ที่อยู่ด้านบนของโพรงจมูก เส้นประสาทรับกลิ่นประกอบด้วยใยประสาทรับความรู้สึกที่มาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวรับกลิ่น (olfactory epithelium) ไปยังออลแฟคทอรี บัลบ์ (olfactory bulb) โดยผ่านรูเปิดเล็กๆ จำนวนมากที่มีลักษณะเหมือนตะแกรงที่เรียกว่า แผ่นคริบิฟอร์ม ของกระดูกเอทมอยด์

เซลล์ประสาทรับกลิ่นเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต และยืดแอกซอนใหม่ๆ ไปยังออลแฟคทอรี บัลบ์ เซลล์ Olfactory ensheathing glia ห่อหุ้มมัดของแอกซอนเหล่านี้และเชื่อว่าช่วยค้ำจุนให้เข้าไปยังระบบประสาทกลางได้สะดวกขึ้น

ความรู้สึกของกลิ่นมาจากการกระตุ้นของตัวรับกลิ่น (olfactory receptor) โดยการกระตุ้นของโมเลกุลแก๊สซึ่งผ่านเข้าไปในจมูกระหว่างการหายใจเข้า ผลจากกลไกทางไฟฟ้าจะนำกระแสประสาทไปยังออลแฟคทอรี บัลบ์ ซึ่งต่อมาจะส่งกระแสประสาทไปยังส่วนต่างๆ ของระบบรับรู้กลิ่น (olfactory system) และส่วนอื่นๆ ของระบบประสาทกลางผ่านทางออลแฟคทอรี แทร็กท์ (olfactory tract)

เส้นประสาทรับกลิ่นเป็นเส้นประสาทสมองที่สั้นที่สุด และเป็นหนึ่งในสองเส้นประสาทสมองที่ไม่เชื่อมต่อกับก้านสมอง (อีกเส้นหนึ่งคือเส้นประสาทตา)

การทดสอบเส้นประสาทรับกลิ่น

การทดสอบการทำงานของเส้นประสาทรับกลิ่นทำได้โดยให้แพทย์อุดรูจมูกของผู้ป่วยไว้ข้างหนึ่ง และให้กลิ่นที่ฉุน [เช่น กลิ่นกาแฟชื้น (damp coffee essence)] ไว้ใต้รูจมูกข้างที่เปิด สังเกตการตอบสนองการรับรู้กลิ่นของผู้ป่วย และให้ทดสอบแบบนี้กับรูจมูกอีกข้างหนึ่ง

เชิงอรรถ

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544
  2. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552. บทที่ 6 โรคของระบบประสาท หน้าที่ 290

แหล่งข้อมูลอื่น