ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
| spouse =
| spouse =
| religion = [[พุทธ]]
| religion = [[พุทธ]]
| party = [[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]]
| signature =
| signature =
| footnotes =
| footnotes =
บรรทัด 45: บรรทัด 44:
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์]]
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์]]
[[หมวดหมู่:ผู้แทนการค้าไทย]]
[[หมวดหมู่:ผู้แทนการค้าไทย]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองไทย]]
[[หมวดหมู่:อาเซียน]]
[[หมวดหมู่:พรรคประชาธิปัตย์]]
[[หมวดหมู่:พรรคประชาธิปัตย์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:25, 29 สิงหาคม 2554

สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง
ไฟล์:สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง.jpg
ผู้แทนการค้าไทย
ดำรงตำแหน่ง
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ศาสนาพุทธ

รองศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง อดีตผู้แทนการค้าไทย ในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตรองเลขาธิการอาเซียน

การศึกษา

สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2516 ต่อจากนั้นได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. 2526

การทำงาน

ดร.สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง เริ่มทำงานเป็นนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นเพียงปีเดียวจึงได้มาเป็นนักวิจัย ประจำสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กระทั่งปี พ.ศ. 2533 ได้มารับตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์ ประจำสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ดร.สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก AFTA สำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา และเป็นรองเลขาธิการอาเซียน ฝ่ายปฏิบัติการ ในปี พ.ศ. 2540 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 จึงได้เข้ามารับตำแหน่งผู้แทนการค้าไทย (ตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี) ในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง