ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
RedBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.2) (โรบอต แก้ไข: fa:گروگانگیری در تئاتر مسکو
RedBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.2) (โรบอต แก้ไข: fa:گروگان‌گیری در تئاتر مسکو
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
[[en:Moscow theater hostage crisis]]
[[en:Moscow theater hostage crisis]]
[[es:Crisis de rehenes del teatro de Moscú]]
[[es:Crisis de rehenes del teatro de Moscú]]
[[fa:گروگانگیری در تئاتر مسکو]]
[[fa:گروگان‌گیری در تئاتر مسکو]]
[[fi:Moskovan teatterikaappaus]]
[[fi:Moskovan teatterikaappaus]]
[[fr:Prise d'otages du théâtre de Moscou]]
[[fr:Prise d'otages du théâtre de Moscou]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:45, 11 สิงหาคม 2554

ไฟล์:Nordost-dubrovka.jpg
อนุสรณ์สถานเหตุการณ์

วิกฤตการจับตัวประกันในโรงละครที่กรุงมอสโก (ภาษาอังกฤษ:The Moscow theatre hostage crisis หรือ 2002 Nord-Ost siege) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยชาวเชเชน 40 - 50 คน ซึ่งมีอาวุธปืน และ ระเบิด รวมทั้งหน้ากากป้องกันไอพิษ ภายใต้การนำโดย themselves as a suicide squad from หรือ "the 29th Division" และทหารชาวเชเชน อายุ 22 ปี ได้จับตัวประกัน 850 - 900 คน ที่โรงละครแห่งหนึ่งในกรุงมอสโก เพื่อบังคับให้รัสเซียถอนทหารออกจากเขตเชเชน

เหตุการณ์การจับตัวประกัน

เหตุการณ์เริ่มขึ้นไม่นานหลังจากเริ่มการแสดงละคร เวลา 21.05 น. ของวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2002 ก็ได้มีรถบัสบรรทุกทั้งชายและหญิงในชุดดำลายพราง บุกเข้ามาและประกาศว่าพวกเขาเป็นหน่วยฆ่าตัวตายจากกองพลที่ 29 และทำการควบคุมตัวผู้ชม ผู้แสดง และผู้คนที่อยู่ภายในโรงละคร ซึ่งต่อมาก็ได้มีตัวประกันที่เป็นนักแสดงและผู้ชมบางส่วนหลบหนีออกมาทางหน้าต่าง และออกมาแจ้งตำรวจซึ่งยังมีอีกราว 90 คน ที่แอบหลบซ่อนตัวตามมุมอับของตึก ในตอนแรกผู้นำชาวเชเชน ประกาศว่าจะปล่อยตัวชาวต่างชาติที่มีพาสปอร์ต (มี 75 คนจาก 14 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ยูเครน สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา) แต่ก็ไม่ได้มีการปล่อยตัว ได้มีการใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกับตัวประกัน ซึ่งได้เล่าว่ามีผู้หญิงชาวเชเชนที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบอาหรับที่นิยมกันในแถบคอเคซัสเหนือ ส่วนผู้ชายพูดภาษาอาหรับ และมีระเบิดพันตามร่างกายอีกทั้งยังติดระเบิดใว้ตามอาคารที่เป็นที่กักตัวประกัน (ซึ่งในภายหลังพบว่าเป็นระเบิดปลอม) ทางส่วนผู้นำชาวเชเชน - อิสลามที่นิยมรัซเซียได้ประณามการจับตัวประกันในครั้งนี้ และโฆษก กบฏเชเชนเองก็ประณามการทำร้ายพลเรือนด้วยแต่บอกว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องผู้ก่อการในครั้งนี้ และหลังจากการควบคุมตัวประกันได้ไม่นาน ก็ได้มีการปล่อยผู้หญิงท้อง เด็ก ชาวมุสลิม และ ชาวต่างชาติบางส่วนที่มีปัญหาทางสุขภาพประมาณ 150 - 200 คน ให้เป็นอิสระ แต่ก็ยังมีการยิงผู้หญิง 1 คน ที่ชาวเชเชนเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยรักษาความปลอดภัยแห่งสหพันธ์รัสเซีย หรือ Federal Security Service (FSB) ที่มีชื่อว่า ออลกา โรมานอว่า เพราะเธอได้พูดปลุกเร้าจิตใจให้ตัวประกันลุกขึ้นมาต่อต้านชาวเชเชนเหล่านี้

ในวันถัดมาวันที่ 24 ตุลาคม การจับตัวประกันครั้งนี้เป็นข่าวโด่งดังไปทั้งโลก ทำให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียต้องยกเลิกการเดินทางไปประชุมกับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และมีคนดังๆ อย่างเช่น อดีตประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาชอฟ ของอดีตสหภาพโซเวียตมาช่วยเจรจา มีข้อเสนอมากมาย เช่น ให้ผู้เข้าจับตัวประกันลี้ภัยไปอยู่ในประเทศที่ 3 แต่ก็ไม่มีการตอบรับ แต่ก็มีการปล่อยตัวประกันออกมาเป็นระยะๆ พร้อมกับมีการนำอาหาร และ ยา โดยแพทย์ และ องค์การกาชาดสากลเข้าไปให้ตัวประกัน ซึ่งพวกเขาได้บอกว่าตัวประกันอยู่ในสภาพค่อนข้างดี ไม่มีการทำร้ายตัวประกันแต่ก็มี 2 - 3 คน ที่ตกใจกลัวอย่างมาก ในช่วงพลบค่ำของคืนวันนั้นก็มีการยิงใส่ผู้ชายคนหนึ่งที่ชื่อ เจเนดี วลากค์ เพราะเขาวิ่งเขาไปในอาคารโรงละครโดยอ้างว่ามีลูกชายติดเป็นตัวประกัน ในนั้น และราวเที่ยงคืนก็มีตัวประกันชายที่วิ่งเข้าไปหาผู้หญิงชาวเชเชนที่มีระเบิด แต่ผู้ชายชาวเชเชนยิงปืนเข้าใส่กระสุนพลาดไปโดนตัวประกันหญิง 2 คน ก็คือ ทามาร่า สตาร์โคว่า และ พาร์เวล ซาร์คารอฟ บาดเจ็บสาหัสจนต้องถูกนำออกมารักษาตัวข้างนอก ต่อมาในคืนวันที่ 25 ตุลาคม มีข่าวมาว่าจะเริ่มการเจรจาอย่างจริงจังแต่ก็มีข่าวรั่วมาว่าจะมีการบุกชิงตัวประกันในเช้ามืดที่จะมาถึง เมื่อเวลา 05.00 น. ของวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2002 เริ่มมีการปั๊มแก็สเข้ามาทางท่อระบายอากาศของตัวอาคารของโรงละคร ตัวประกันก็เริ่มสังเกตเห็นควันและคิดว่ามีการเกิดเพลิงใหม้ มีการโทรศัพท์ออกมาจากหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ แอนนา แอนเดียนอว่า ซึ่งเป็นนักข่าวโทรมายังสถานีวิทยุ Echo of Moscow ว่าทั้งตัวประกันและชาวเชเชนในโรงละครทุกคนไม่อยากตายและขวัญเสียเป็นอย่างมาก มีการยิงออกมาจากอาคาร ใส่ที่ตั้งของทหารรัซเซียข้างนอก แต่ไม่ได้มีการระเบิด หรือยิงตัวประกันแต่อย่างใด ประมาณ 30 นาทีหลังจากการปั๊มแก็สที่คาดกันว่าเป็น 3-methyl fentanyl หรือ Kolokol-1 (ซึ่งทางการรัสเซียไม่ได้ออกมาแถลงอย่างแน่ชัดว่าเป็นชนิดใด) และก็เกิดการยิงกันอีกราว 1 ชั่วโมง ชาวเชนที่ถูกยิงมีทั้งหญิงและชายแต่ไม่ทราบตัวเลขที่แน่นอน สุดท้ายมีชาวเชเชนเสียชีวิต 33 คน ตัวประกันเสียชีวิต 129 คน (มีเพียงคนเดียวที่เสียชีวิตจากการถูกยิง ที่เหลือเสียชีวิตจากแก็สและการช่วยเหลือที่ล่าช้า)

อ้างอิง

  • The 2002 Dubrovka and 2004 Beslan Hostage Crises: A Critique of Russian Counter-Terrorism by John B. Dunlop (ISBN 3-89821-608-X)