ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระนิกโก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink
บรรทัด 28: บรรทัด 28:


{{เริ่มกล่อง}}
{{เริ่มกล่อง}}
{{กล่องสืบตำแหน่ง|ตำแหน่ง=[[พระสังฆราชแห่งนิชิเรนโชชู]] |ปี=[[ค.ศ. 1282]] - [[ค.ศ. 1298]] |ก่อนหน้า=[[พระนิชิเรนไดโชนิน]]|ถัดไป=[[พระนิชิโมขุ โชนิน]]}}
{{สืบตำแหน่ง|ตำแหน่ง=[[พระสังฆราชแห่งนิชิเรนโชชู]] |ปี=[[ค.ศ. 1282]] - [[ค.ศ. 1298]] |ก่อนหน้า=[[พระนิชิเรนไดโชนิน]]|ถัดไป=[[พระนิชิโมขุ โชนิน]]}}
{{จบกล่อง}}
{{จบกล่อง}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:43, 5 สิงหาคม 2554

พระนิกโคโชนิน

พระนิกโค (日興 Nikkō) (ค.ศ. 1246 - ค.ศ. 1333) หรือ พระนิกโค โชนิน เป็นผู้ก่อตั้งนิกายย่อยของศาสนาพุทธ นิกายนิชิเรน ซึ่งคือ นิชิเรนโชชู นามแบบเต็มของท่านคือ ฮะวะคิ-โบะ เบียวคุเร็น อาจาริ นิกโค (伯耆房 白蓮阿闍梨 日興 Hawaki-bō Byakuren Ajari Nikkō)

ในปี ค.ศ. 2015 นี้ จะเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 770 ปี ของการประสูติของพระนิกโค โชนิน โดยนิกาย นิชิเรนโชชู

พระประวัติ

ว่ากันว่าพระนิกโค เข้าเป็นศิษย์ของ พระนิชิเร็นไดโชนิน ระหว่างปี ค.ศ. 1258 และ ปี ค.ศ. 1260 ซึ่งไม่ระบุเวลาที่แน่ชัด ท่านได้ตามรับใช้พระนิชิเรนอย่างใกล้ชิด จนถึงวันที่ท่านดับขันธ์ จากบันทึกของนิชิเรนโชชู พระนิกโคยังได้โดนเนรเทศพร้อมๆ กับพระนิชิเรนถึงสองครั้ง และยังเป็นผู้ทำการเก็บรักษาบทธรรมนิพนธ์ที่พระนิชิเรนเขียนไว้อย่างมหาศาล โดยได้ทำการเก็บรักษาอย่างดีและระมัดระวัง

ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1282 พระนิกโคได้รับการแต่งตั้งเป็น หนึ่งในหกของ พระสงฆ์อาวุโส ซึ่งพระนิชิเรนคาดหวังไว้ให้เป็นผู้เผยแผ่คำสอนหลังจากการดับขันธ์ของท่าน ต่อมาในวันที่ 13 ตุลาคม พระนิชิเรนได้แต่งตั้งให้ พระนิกโคเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดคุอนจิ แห่งเขามิโนบุ ซึ่งเป็นสถานที่พระนิชิเรนได้ใช้ชีวิตอยู่ในปีที่สุดท้ายของชีวิต อย่างไรก็ตามนิกายนิชิเรนชู และนิกายอื่นๆ ได้ปฏิเสธเรื่องนี้ วันต่อมาพระนิชิเรนได้ดับขันธ์ ณ คฤหาสถ์ตระกูลอิเคนามิในโตเกียว

หลังจากพิธีศพของพระนิชิเรน พระนิกโคได้เดินทางออกจากบ้านตระกูลอิเคนามิในวันที่ 21 ตุลาคม และนำอัฐิ ของพระนิชิเร็นกลับไปยังเขามิโนบุ จนถึงเขามิโนบุในวันที่ 25 ตุลาคม หลังจากครบ 100 วัของจากดับขันธืของพระนิชิเรน พระนิกโคและพระสงฆ์อาวุโสอื่นๆ ทั้ง 5 และลูกศิษย์ ได้ร่วมพิธีรำลึกการดับขันธ์ครบ 100 วันของท่าน

หลังจากนั้น พระนิกโค ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดคุอนจิ สอนลูกศิษย์และดูแลฆราวาสที่นับถือ หน้าที่หลักที่สำคัญที่สุดของท่านคือการดูแลและปกป้องรักษาไดโงะฮนซน (สิ่งสักการะบูชาสูงสุดของนิชิเรนโชชู) ดูแลรักษาสุสานของพระนิชิเรน และ ทำหน้าที่รวบรวมคำสอนและบทธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเรน ระหว่างนั้นนั่นเอง พระสงฆ์อาวุโสอีก 5 รูป ได้มาเยือนเขามิโนบุนานๆ ครั้งเท่านั้น และค่อยๆ เบี่ยงเบนและถอยห่างจากพระนิกโคที่ดำเนินคำสอนและการปฏิบัติตามแบบพระนิชิเรนซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม อาทิเช่น บางท่านได้เริ่มปั้นพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้าศากยมุนี หรือ ไปเข้ากับ นิกายเทียนไท้ สำหรับพระนิโคนั้น ได้ถูก ฮาการิ ซาเนะนากะ ยุยงให้ไปนับถือนิกายสุขาวดี และเคารพเทพเจ้าของชินโตอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้พระนิกโคเล็งเห็นว่า การเผยแผ่ธรรมของพระนิชิเรนคงไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ณ วัดคุอนจิ แห่งเขามิโนบุอีกต่อไป ในฐานะที่เป็นพระสงฆ์ที่พระนิชิเรนแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราช พระนิกโคได้วางแผนว่าถึงเวลาแล้วที่จะไปจากเขามิโนบุ พระนิกโคจึงได้เดินทางออกจากเขามิโนบุ พร้อมกับได้นำไดโงะฮนซน อัฐิของพระนิชิเรน และของตกทอดต่างๆ จากพระนิชิเรน และได้ออกจากเขามิโนบุพร้อมกับลูกศิษย์ในฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1289 นันโจะ โทะชิมัตุ ฆราวาสที่นับถือได้มอบที่ดินบริเวณใกล้ภูเขาไฟฟูจิให้กับพระนิกโค ภายหลังได้บริจาคให้สร้างเป็นวัด ซึ่งต่อมาคือวัดไทเซขิจิ ซึ่งเป็นวัดใหญ่และศูนย์กลางของนิชิเรนโชชู

หลังจากการก่อตั้งวัดไทเซขิจินั้น พระนิกโคได้แต่งตั้งศิษย์ขึ้นมาเป็นผู้สืบทอดคือ พระนิชิโมขุ (ค.ศ. 1260ค.ศ. 1333) และได้เกษียณอายุและเดินทางไกลไปยัง โอโมะสุ ซึ่งท่านได้สร้างโรงเรียนสอนธรรมะ และได้สอนลูกศิษย์จนกระทั่งได้ดับขันธ์ใน เดือนที่ 2 ตามจันทรคติ ในปี ค.ศ. 1333 เมื่ออายุได้ 87 พรรษา

การเป็นผู้สืบทอดของพระนิชิเรน

ผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายนิชิเรนสายของพระนิกโค หรือก็คือ นิชิเรนโชชู เชื่อว่าพระนิกโคเป็นผู้สืบทอดอย่างถูกต้องและบริสุทธิ์ของพระนิชิเรน ในฐานะ พระสังฆราชหรือพระสัฆนายกแห่งนิชิเรนโชชู โดยได้อ้างอิงจากเอกสาร ในเดือน 9 ตามจันทรคติของปี ค.ศ. 1282 ที่มีชื่อว่า นิชิเรน อิชิโกะ กุโฮะ ฟุโซะกุโช หรือ จดหมายที่กำหนดคำสอนทั้งหมดที่จะถูกส่งต่อในช่วงชีวิตของพระนิชิเรน ในเอกสารฉับบนี้ พระนิชิเรนได้มอบหมาย คำสอนทั้งหมดของชีวิตท่าน ให้แก่พระนิกโค และแต่งตั้งให้เป็น ผู้นำสูงสุดแห่งการสืบทอดคำสอนที่ถูกต้องแท้จริง อย่างไรก็ตาม พระสงฆ์อาวุโสรูปอื่นๆที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งนั้น ได้ปฏิเสธการแต่งตั้งครั้งนี้ และตั้งนิกาย นิชิเรนชู ขึ้นมา

ลูกศิษย์สายตรงของพระนิกโคบางคน ได้แตกแยกออกเป็นนิกายของตนเอง โดยได้บิดเบือนคำสอนบางประการจากนิชิเรนโชชู อย่างไรก็ตามในภายหลังนิกายที่เหล่านี้ได้กลับมาเข้ากับนิชิเรนโชชู

อ้างอิง

  • Nikkō Shōnin Nichimoku Shōnin Shōden (日興上人・日目上人正伝: "Orthodox biography of Nikkō Shōnin and Nichimoku Shōnin"), Taisekiji, 1982
  • Nichiren Daishōnin Shōden (日蓮大聖人正伝: "Orthodox biography of Nichiren Daishōnin"), Taisekiji, 1981
  • The Life of Nichiren Daishonin. Kirimura, Yasuji. Nichiren Shoshu International Center (no longer connected to Nichiren Shoshu), 1980
ก่อนหน้า พระนิกโก ถัดไป
พระนิชิเรนไดโชนิน พระสังฆราชแห่งนิชิเรนโชชู
(ค.ศ. 1282 - ค.ศ. 1298)
พระนิชิโมขุ โชนิน