ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Admins (คุย | ส่วนร่วม)
Admins (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล สถานีโทรทัศน์
#REDIRECT [[สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี]]
| name = สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์
| en-name = Modernine TV
| logofile = MCOTPCL_ThaiLogo.png
| logosize = 150px
| logoalt = ตราสัญลักษณ์ โมเดิร์นไนน์ทีวี
| logo2 =
| launch = {{วันเกิด-อายุ|2498|6|24}}<br/><small>โมเดิร์นไนน์ทีวี: {{วันเกิด-อายุ|2545|11|6}}</small>
| closed date =
| picture format = 576i (PAL - [[แอนะล็อก]]ทีวี)<br/>576i (SDTV)<br>1080i (HDTV)
| share =
| share as of =
| share source =
| network = [[สถานีโทรทัศน์]]
| owner = [[บมจ.]][[อสมท]] {{SET|MCOT}}<br/><small>บจก.ไทยโทรทัศน์: [[10 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2495]]<br/> (อายุ {{อายุ|2495|11|10}} ปี) </small>
| key people = [[ธนวัฒน์ วันสม]]<br/>กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท
| slogan = สังคมอุดมปัญญา<br/>ก้าวไกลรับใช้ประชาชน
| country = {{ธง|ไทย}} [[ประเทศไทย|ไทย]]
| broadcast area = {{ธง|ไทย}} ประเทศไทย
| headquarters = เลขที่ 63/1 [[ถนนพระรามที่ 9]]<br/>[[แขวงห้วยขวาง]] [[เขตห้วยขวาง]]<br/>[[กรุงเทพมหานคร]] ประเทศไทย
| former names = <ul><li>สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4<br/> ([[พ.ศ. 2498]]-[[พ.ศ. 2517]]) </li><li>สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.<br/> ([[พ.ศ. 2517]]-[[พ.ศ. 2520]]) และ ([[พ.ศ. 2520]]-[[พ.ศ. 2545]]) </li></ul>
| replaced names =
| replaced by names =
| sister names = [[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]]<br/>[[สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ|สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ คลื่นข่าว 100.5 นิวส์ เน็ตเวิร์ด สถานีข่าวและสาระ ]]
| timeshift names =
| web = [http://www.mcot.net/ModerNineTV www.mcot.net/ModerNineTV]
| terr serv 1 = [[แอนะล็อก]]
| terr chan 1 = ช่อง 9 ([[วีเอชเอฟ]])
| sat serv 1 = [[ไทยคม|ไทยคม 5]]
| sat chan 1 = H-3520 SR.28125
| sat serv 2 = [[ทรูวิชั่นส์]]
| sat chan 2 = ช่อง 4
| sat serv 3 = ดีทีวี
| sat chan 3 = ช่อง 4
| cable serv 1 = [[ทรูวิชั่นส์]]
| cable chan 1 = ช่อง 4
| online serv 1 = ME Live
| online chan 1 = [http://www.me.in.th/live/index.php ชมรายการสด]
| online serv 2 = DMI
| online chan 2 = [http://s3.dmiinter.com/ ชมรายการสด] (HD)
}}
[[ไฟล์:Thaitv4cam.jpg|thumb|169px|right|กล้องช่อง 4 บางขุนพรหม]]
[[ไฟล์:เสาส่งช่อง 4.jpg|thumb|169px|right|เสาส่งช่อง 4 บางขุนพรหม]]

'''สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์''' ({{lang-en|Modernine TV}}) เป็น[[สถานีโทรทัศน์]]แห่งแรกของประเทศไทย บริหารงานโดย [[บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)]] หรือ บมจ.อสมท โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล ก่อตั้งเมื่อวันที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]] ในนาม ''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 '' ที่ตั้งปัจจุบัน อยู่ภายในที่ทำการ บมจ.อสมท เลขที่ 63/1 [[ถนนพระรามที่ 9]] [[แขวงห้วยขวาง]] [[เขตห้วยขวาง]] [[กรุงเทพมหานคร]]

== ประวัติ ==
=== สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ===
{{ความหมายอื่น|ทีทีวีในอดีต|ทีทีวีในปัจจุบัน|สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี}}

'''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4''' ({{lang-en|Thai Television Channel 4}} [[อักษรย่อ|ชื่อย่อ]]: ไทย ที.วี.) เป็น[[สถานีโทรทัศน์]]แห่งแรกของ[[ประเทศไทย]] ดำเนินงานภายใต้การบริหารของ [[บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด]] ({{lang-en|Thai Television Co.,Ltd.}} ชื่อย่อ: ท.ท.ท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ [[10 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2495]] มีชื่อเรียกขานตาม[[อนุสัญญาสากลว่าด้วยวิทยุโทรทัศน์]]ว่า HS1-TV มีที่ทำการตั้งอยู่ที่[[วังบางขุนพรหม]] ที่ทำการของ[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]]ในปัจจุบัน อันเป็นที่มาของชื่อสถานีฯ ที่รู้จักกันทั่วไปคือ ''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม''

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 มีที่มาเริ่มแรก ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2492]] เมื่อ[[สรรพสิริ วิรยศิริ|นายสรรพสิริ วิรยศิริ]] ซึ่งขณะนั้นเป็น[[ข้าราชการ]][[กรมประชาสัมพันธ์]] เขียนบทความลงในหนังสือเล่มหนึ่ง เผยแพร่เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดใหม่ในขณะนั้น โดยให้ชื่อบทความว่า "วิทยุภาพ" ต่อมา ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมฯ ให้ไปศึกษางานด้านโทรทัศน์ ที่[[สหรัฐอเมริกา]] เมื่อประมาณปี [[พ.ศ. 2492]]-[[พ.ศ. 2493|2493]] หลังจากกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็แสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล ถึงการจัดตั้งกิจการโทรทัศน์ว่า "ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรมี เทเลวิชัน" [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล แปลก พิบูลสงคราม]] [[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น]] จึงสั่งการให้กรมประชาสัมพันธ์ นำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อปี [[พ.ศ. 2493]] โดยมีมติให้จัดตั้ง สถานีวิทยุโทรภาพ และตั้งงบประมาณขึ้น ในปีถัดมา ([[พ.ศ. 2494]]) แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระยะแรกเริ่ม จึงต้องยกเลิกโครงการดังกล่าวไปโดยปริยาย เนื่องจากเสียงส่วนมาก ของ[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่า สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน ไปโดยเปล่าประโยชน์

อนึ่ง นายประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการ บริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด นำเครื่องส่งโทรภาพ 1 เครื่อง และเครื่องรับ 4 เครื่อง น้ำหนักรวมกว่า 2 ตัน ทำการทดลองออกอากาศ ให้คณะรัฐมนตรีชมเป็นครั้งแรก ที่ทำเนียบรัฐบาล และเมื่อ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2495]] ก็เปิดฉายให้ประชาชนรับชม ที่[[ศาลาเฉลิมกรุง]] [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพฯ]]

ต่อมา ในช่วงเดือน[[กันยายน]]-[[พฤศจิกายน]] ปีเดียวกันนี้ (พ.ศ. 2495) มีรัฐมนตรี และข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ส่วนหนึ่ง จำนวน 7 คน ซึ่งประกอบด้วย [[หลวงสารานุประพันธ์]], [[หม่อมหลวงขาบ กุญชร]], [[ประสงค์ หงสนันทน์|นายประสงค์ หงสนันทน์]], [[เผ่า ศรียานนท์|พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์]], นายเล็ก สงวนชาติสรไกร, นายมุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ [[เลื่อน พงษ์โสภณ|นายเลื่อน พงษ์โสภณ]] เล็งเห็นถึงคุณค่าของการพัฒนาประเทศ ด้วยการใช้สื่อโทรภาพ เพื่อเผยแพร่กระจาย ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และเสริมสร้างคุณภาพ ของประชาชนในประเทศ จึงระดมทุนจากกรมประชาสัมพันธ์ ให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 11 ล้านบาท และหน่วยงานภาครัฐอีก 8 แห่ง ถือหุ้นมูลค่า 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท ร่วมกันนำมาเป็นทุนจัดตั้ง "บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด" ขึ้นเพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด มีคณะผู้ปฏิบัติงานในยุคแรก ได้แก่ [[จำนง รังสิกุล|นายจำนง รังสิกุล]] เป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ, นายอัมพร พจนพิสุทธิ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ, นายสมชาย มาลาเจริญ เป็นหัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง, นายธนะ นาคพันธุ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ, นายเกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา เป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง, นายธำรง วรสูตร และ นายฟู ชมชื่น ร่วมกันเป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่งและ[[เสาอากาศ]], นายจ้าน ตัณฑโกศัย เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง, นายสรรพสิริ วิรยศิริ เป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง และหัวหน้าฝ่ายข่าว และ นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช เป็นหัวหน้าฝ่ายบริการ[[โทรทัศน์|เครื่องรับโทรทัศน์]]

บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ดำเนินการจัดตั้ง [[สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.]] ขึ้นก่อนจะมีสถานีโทรทัศน์ เพื่อระดมทุนมาบริหารงาน และฝึกบุคลากร รวมทั้งเตรียมงานด้านอื่นไปพร้อมกันด้วย โดยส่งกระจายเสียงจากอาคารที่ทำการสถานีฯ บริเวณ[[แยกคอกวัว]] และเมื่อวันที่ [[6 กันยายน]] [[พ.ศ. 2497]] ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 โดยมี พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดี[[กรมตำรวจ]] ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี ขณะเดียวกัน ก็เริ่มทดลองออกอากาศ จากห้องส่งของสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. เมื่อสร้างอาคารที่ทำการ พร้อมติดตั้งเครื่องส่ง เสร็จสิ้นแล้ว จึงมีพิธีเปิด ''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4'' เมื่อ[[วันศุกร์]]ที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]] ซึ่งตรงกับ[[วันชาติ (ประเทศไทย)|วันชาติ]]ในสมัยนั้น โดยมี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี โดยมี นายจำนง รังสิกุล เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้อำนวยการสถานีฯ คนแรก โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ในช่วงแรก มีการแพร่ภาพทุก[[วันอังคาร]], [[วันพฤหัสบดี]], [[วันเสาร์]] และ[[วันอาทิตย์]] ระหว่างเวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงเพิ่มวันและเวลาออกอากาศ มากขึ้นตามลำดับ

เพลงเปิดการออกอากาศ ของทั้งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 และสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด คือเพลง "[[ต้นบรเทศ]]" (ซึ่งปัจจุบันเป็นเพลง ต้นวรเชษฐ์<ref>รายการ[[คุณพระช่วย]] ออกอากาศราวเดือน[[มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2552]] ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี</ref>) ในวันออกอากาศวันแรก มี[[อารีย์ จันทร์เกษม|นางสาวอารีย์ นักดนตรี]] [[ผู้ประกาศ]] รำบรเทศออกอากาศสด และ[[เย็นจิตต์ ระพีพัฒน์|นางสาวเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์]] เป็นผู้ประกาศแจ้งรายการ โดยผู้ประกาศในยุคแรก จะเป็นสุภาพสตรี ได้แก่ นางสาวเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ (ปัจจุบันคือ นางเย็นจิตต์ รพีพัฒน์ ณ อยุธยา), นางสาวอารีย์ นักดนตรี (ปัจจุบันคือ นางอารีย์ จันทร์เกษม), นางสาวดาเรศร์ ศาตะจันทร์, นางสาวนวลละออ ทองเนื้อดี (ปัจจุบันคือ นางนวลละออ เศวตโสภณ), นางสาวชะนะ สาตราภัย และนางสาวประไพพัฒน์ นิรัตพันธ์ ส่วน[[ผู้ประกาศข่าว]] จะเป็นสุภาพบุรุษ ได้แก่ นายสรรพสิริ วิรยศิริ, [[อาคม มกรานนท์|นายอาคม มกรานนท์]], นายสมชาย มาลาเจริญ และนายบรรจบ จันทิมางกูร

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยสมัยนั้น ใช้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ในการถ่ายทอดการปราศรัยของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี, เผยแพร่ผลงานของรัฐบาล, ถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา ตลอดจนถ่ายทอดสดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในปี [[พ.ศ. 2500]] แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงส่งผลให้กองทัพบก โดย[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น]] สั่งการให้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ขาว-ดำ (หรือปัจจุบันคือ [[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5]])) ในระหว่างปี [[พ.ศ. 2500]]-[[พ.ศ. 2501|2501]]

=== สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ===
ราวประมาณต้นเดือน [[มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2517]] บจก.ไทยโทรทัศน์ ยุติการออกอากาศ ในระบบขาวดำ 525 เส้น ทางช่อง 4 โดยย้ายห้องส่งโทรทัศน์ ไปยังอาคารสำนักงานใหญ่ย่าน[[ถนนพระสุเมรุ]] [[แขวงบางลำพู]] และในปีเดียวกัน ก็เปลี่ยนช่องสัญญาณ และระบบการออกอากาศ จากภาพขาวดำ ในระบบ[[วีเอชเอฟ]] ทางช่อง 4 เป็นภาพสี ในระบบวีเอชเอฟ 625 เส้น ทางช่อง 9 อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น '''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9''' ({{lang-en|Thai Television Channel 9}}) และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในเมื่อราวปี [[พ.ศ. 2517]]

เมื่อวันที่ [[3 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2520]] [[คณะรัฐมนตรี]] ที่นำโดย[[นายกรัฐมนตรี]][[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ส่งผลให้การดำเนินงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 สิ้นสุดลงด้วย ต่อมาวันที่ [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2520]] มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 โดยให้จัดตั้งหน่วยงานชื่อ ''องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย'' ({{lang-en|The Mass Communication Organisation of Thailand}} ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัด[[สำนักนายกรัฐมนตรี]] โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการ[[สื่อสารมวลชน]]ของรัฐ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่น่าเชื่อถือ ต่อสาธารณชน โดยรัฐบาลไทย มอบทุนประเดิมไว้ เป็นจำนวน 10 ล้านบาท และให้รับโอนกิจการสื่อสารมวลชน ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ ซึ่งประกอบด้วย สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 มาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ [[9 เมษายน]] [[พ.ศ. 2520]] ซึ่งเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท. ทำให้สถานีโทรทัศน์เปลี่ยนชื่อมาเป็น '''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.''' โดยอัตโนมัติ

[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท. บนเนื้อที่ 14 ไร่ ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนั้น เมื่อวันที่ [[28 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2524]] ต่อมาในราวปี [[พ.ศ. 2529]] [[สมเกียรติ อ่อนวิมล|ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล]] อาจารย์ประจำ[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะรัฐศาสตร์]] [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และพิธีกรรายการ[[ความรู้คือประทีป]]ในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ ''ข่าว 9 อ.ส.ม.ท.'' ร่วมกับ [[บริษัท แปซิฟิก คอร์ปอเรชั่น จำกัด]] ส่งผลให้[[ผู้ประกาศข่าว]]คู่ ที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นก็คือ ดร.สมเกียรติ และ[[กรรณิกา ธรรมเกษร|นางสาวกรรณิกา ธรรมเกษร]]

วันที่ [[16 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2530]] อ.ส.ม.ท.ร่วมลงนามในสัญญากับ [[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เพื่อขยายเครือข่ายกิจการโทรทัศน์ ไปสู่ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานภาครัฐฯ จัดสรรคลื่นความถี่ส่ง ด้วยระบบวีเอชเอฟ พร้อมอุปกรณ์การออกอากาศ เพื่อจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท.แต่ละแห่ง (ระยะหลังจึงขยายไปสู่ระบบ[[ยูเอชเอฟ]]) ตั้งแต่เดือน[[มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2531]]-เดือน[[กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2534]] เป็นระยะเวลา 3 ปี จึงทำให้ สถานีโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท. ทั้งสองแห่ง สามารถออกอากาศไปได้ทั่วประเทศ

ราวปี [[พ.ศ. 2535]] [[แสงชัย สุนทรวัฒน์|นาย แสงชัย สุนทรวัฒน์]] เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท.ถูกเรียกว่า “แดนสนธยา” เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืด ฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่นายแสงชัย ก็สามารถขจัดอิทธิพลมืด เหล่านั้นได้สำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท.ขึ้นมาเป็นอย่างดี แต่แล้ว นายแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืน เสียชีวิตระหว่างนั่งรถยนต์ เดินทางกลับบ้านพัก ที่[[เมืองทองธานี]] ถนนแจ้งวัฒนะ จากผลการสอบสวนของตำรวจ ระบุว่า [[อุบล บุญญชโลธร|นางอุบล บุญญชโลธร]] อดีตผู้ได้รับสัมปทานจัดรายการ ทางสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.ส่วนภูมิภาค จ้างวานให้ [[ทวี พุทธจันทร์|นายทวี พุทธจันทร์]] บุตรเขย ส่งมือปืนไปลอบสังหารนายแสงชัย ต่อมา นางอุบลถูกลอบสังหาร เสียชีวิตบน[[รถยนต์]] ก่อนกลับถึงบ้านพัก เช่นเดียวกับนายแสงชัย

=== สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ===
ด้วยตามดำริของ [[มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ|นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ]] ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ที่ต้องการปรับปรุงการบริหารงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว และฉับไว ในด้านการนำเสนอ รายงานข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิง เพื่อให้ทันต่อ[[เทคโนโลยี]]การสื่อสารในยุค[[โลกาภิวัฒน์]] และเพื่อขจัดความเป็น "แดนสนธยา" ภายในองค์กรอีกด้วย

ในวันที่ [[6 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2545]] จึงมีพิธีเปิดตัว '''สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์''' โดยมี [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]] นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ และปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอ เป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เพิ่มข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ นำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร รวมถึงประกาศเพิ่มความสัมพันธ์ และเพิ่มบทบาทกับ เครือข่ายข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น [[สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น]] ([[สหรัฐอเมริกา]]) [[สถานีโทรทัศน์บีบีซี]] ([[สหราชอาณาจักร]]) [[สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค]] ([[ญี่ปุ่น]]) [[สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี]] ([[จีน]]) เป็นต้น โดยเริ่มออกอากาศในรูปแบบใหม่ดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 18.30 น.เป็นต้นไป แต่ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อสถานีฯ ไปแล้ว แต่คนไทยส่วนมาก ก็ยังนิยมเรียกชื่อสถานีฯ ว่า ''ช่อง 9'' ตามเดิม ซึ่งมาจากชื่อเต็มว่า ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท นั่นเอง.

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ การออกอากาศโทรทัศน์ ตลอดจนการควบคุมการออกอากาศ โดยแพร่ภาพออกอากาศ จาก[[กรุงเทพมหานคร]] ไปยังสถานีเครือข่าย ในส่วนภูมิภาค 32 สถานี สามารถให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 79.5 ของประเทศ มีประชากรในขอบเขตการออกอากาศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.5 ของประเทศ โดยมีรายการประเภทข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง กีฬา และรายการเพื่อสาธารณประโยชน์ รวมทั้งถ่ายทอดสดต่างๆ ซึ่งได้จัดรายการประเภทข่าวสาร และสาระความรู้ ในด้านต่างๆ มานำเสนอในช่วงเวลา[[ไพรม์ไทม์]] ที่มีผู้ชมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ชม ได้รับข่าวสาร และความรู้ ที่เป็นประโยชน์ อย่างเท่าเทียมกัน และมุ่งหวังว่า จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชน

มีเหตุการณ์สำคัญที่สถานีฯ เกี่ยวข้องกับการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐประหาร]] เมื่อวันที่ [[19 กันยายน]] [[พ.ศ. 2549]] คือเมื่อเวลา 22.15 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]] ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านทาง[[โทรศัพท์เคลื่อนที่]]จากสหรัฐอเมริกา ถ่ายทอดสดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี แต่อ่านแถลงการณ์ได้เพียงสามฉบับ ก็มีกำลังพลทหารพร้อมด้วยอาวุธกลุ่มหนึ่ง บุกยึดเข้าไปยังสถานีฯ พร้อมออกคำสั่ง ให้หยุดการแพร่ภาพทันที จึงทำให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ ต้องปฏิบัติตามในที่สุด

== ตราสัญลักษณ์ ==
[[ไฟล์:Ch4_Logo.png|75px|right]]
* '''[[พ.ศ. 2495]]-[[พ.ศ. 2517|2517]]''' สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม มีตราสัญลักษณ์เป็นรูป "[[วิชชุประภาเทวี]]" หมายถึง[[เทวดา]]ผู้หญิง ที่เป็นเทพเจ้าแห่ง[[สายฟ้า]] หรือนางพญาแห่งสายฟ้า ประดับด้วยลายเมฆ และสายฟ้า อยู่ภายในรูปวงกลม ที่ออกแบบโดย [[กรมศิลปากร]] [[กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)|กระทรวงศึกษาธิการ]] (ในขณะนั้น)
[[ไฟล์:Channel9_1976.png|75px|right]]
* '''พ.ศ. 2517-[[พ.ศ. 2519|2519]]''' หลังจากที่สถานีได้เปลี่ยนไปออกอากาศในระบบวีเอชเอฟ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 แล้ว จึงได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์ เป็นรูปกรอบจอ[[โทรทัศน์]] ภายในเป็นรูปคลื่นกระจายสัญญาณ โดยฝั่งซ้ายมีสีที่กระจายอยู่ 3 สี คือ[[แดง]] [[เขียว]] [[น้ำเงิน]] และตัวเลข 9 สีดำ อยู่ภายในวงกลมสี[[เหลือง]] ซึ่งอยู่ฝั่งขวา อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์นี้ใช้อยู่เพียงระยะสั้นๆ ก่อนจะโอนกิจการไปเป็นของ อ.ส.ม.ท. ในปี พ.ศ. 2520
[[ไฟล์:Channel9_Logo.png|75px|right]]
* '''พ.ศ. 2519-[[พ.ศ. 2545|2545]]''' สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปกรอบจอโทรทัศน์ ภายในแบ่งเป็นแถบเส้นโค้งสามแถบ มีสาม[[แม่สี]]แสง คือ [[แดง]] [[เขียว]] [[น้ำเงิน]] และตัวเลข 9 สีดำ ประทับอยู่ในใจกลางสัญลักษณ์ ทั้งหมดเดินเส้นด้วยสีขาว และมีเส้นขอบสีดำอยู่ภายนอกสุด และตั้งแต่วันที่ [[9 เมษายน]] [[พ.ศ. 2520]] จึงเพิ่มชื่อย่อ "อ.ส.ม.ท." ไว้ที่ส่วนล่างของตราสัญลักษณ์เดิม
[[ไฟล์:MCOTPCL_ThaiLogo.png|75px|right]]
* '''พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน''' สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม มีเส้นตัดกันอยู่ทางซ้ายมือ แทนลูกโลก ทางขวามือมีตัวเลข 9 [[สีม่วง]]ซ่อนอยู่ ด้านบนมีเส้นโค้ง[[สีเทา]] ลักษณะโดยรวมคล้าย[[ดวงตา]] ด้านล่างมีตัวอักษรย่อ “MCOT” หรือ “อสมท” สีส้ม เดินเส้นขอบสีเทา กำกับอยู่ด้วย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นหน่วยงานแรก ก่อนที่รัฐบาลจะแปรรูปองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ [[17 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2547]]

== รายการโทรทัศน์ ==
{{บทความหลัก|รายชื่อรายการที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์}}

== ผู้ประกาศข่าวและพิธีกร ==
=== ในปัจจุบัน ===
{{บทความหลัก|รายนามผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์}}

=== ในอดีต ===
* [[บัญชา ชุมชัยเวทย์]] - (ปัจจุบันอยู่[[ช่อง 3]])
* [[จำเริญ รัตนตั้งตระกูล]] - ข่าวเที่ยง (จันทร์-ศุกร์),คัดข่าวเด่น (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ข่าวต้นชั่วโมง เวลา 17.00 นาฬิกา) (ปัจจุบันอยู่[[ช่อง 7]])
* [[กุณฑีรา ปัจฉิมสวัสดิ์]] - ข่าวต้นชั่วโมง (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
* [[กิตติ สิงหาปัด]] - ข่าวค่ำ (23 กรกฎาคม 2550 - 31 กรกฎาคม 2551) (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
* [[อรชุน รินทรวิฑูรย์|โจจิรัฏฐ์ รินทรวิฑูรย์]] - (ปัจจุบันอยู่ช่อง [[สปริงนิวส์]])
* ถวัลย์ ไชยรัตน์ - 9 ร่วมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน (ยุติการทำหน้าที่และการออกอากาศแล้ว)
* [[วันชัย สอนศิริ]] - 9 ร่วมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน (ยุติการทำหน้าที่และการออกอากาศแล้ว)
* นีรชา หลิมสมบูรณ์ - 9 ร่วมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน (ยุติการทำหน้าที่และการออกอากาศแล้ว)
* [[ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย]] - 9 ร่วมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน (ยุติการทำหน้าที่และการออกอากาศแล้ว)
* ธันย์ชนก จงยศยิ่ง - 9 ร่วมใจคนไทยไม่ทั้งกัน (ยุติทำการออกอากาศแล้ว) (ปัจจุบันอยู่ช่อง MCOT 1 อสมท )
* ฤทธิกร การะเวก - ข่าวกีฬาภาคค่ำ เสาร์-อาทิตย์ (ปัจจุบันอยู่ [[สทท.]] และรายการ 9 ทันเกมส์)
* ณัฐ เสตะจันทร์ - ข่าวกีฬาภาคเที่ยง-ภาคค่ำ (ปัจจุบันอยู่ สทท.)
* [[สรยุทธ สุทัศนะจินดา]] - [[คุยคุ้ยข่าว]]และ[[ถึงลูกถึงคน]] (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)

=== พิธีกรสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ===
* [[เอกชัย วริทธิ์ชราพร]] - ไนน์เอ็นเตอร์เทน
* [[พัทรวี บุญประเสริฐ]] - ไนน์เอ็นเตอร์เทน
* [[นันทกา วรวณิชชานันท์]] - ไนน์เอ็นเตอร์เทน
* [[สุนทรีย์ อรรถสุข]] - บ่ายนี้มีคำตอบ

== ดูเพิ่ม ==
* [[บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)]]
* [[สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ]]
* [[รายชื่อรายการของ โมเดิร์นไนน์ ทีวี]]
* [[สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มคอท]]
* [[สำนักข่าวไทย]]

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.mcot.net/ เว็บไซต์ บมจ.อสมท]
* [http://www.mcot.net/ModerNineTV เว็บไซต์ โมเดิร์นไนน์ทีวี]
* [http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000096206&Keyword=9 อสมท ปรับผังทีวีโกยรายได้]
* [http://www.ruklakorn.com รายการทีวี ละครย้อนหลัง ช่อง 3]
{{สืบตำแหน่งพิเศษเริ่ม}}
{{สืบตำแหน่งพิเศษ
| สี1 = #E9E9E9
| สี2 =
| สี3 = #E9E9E9
| รูปภาพ = MCOTPCL_ThaiLogo.png
| ตำแหน่ง = สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์
| จำนวนตำแหน่ง =
| ก่อนหน้า = [[ไฟล์:Ch4_Logo.png|40px]]<br/>สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4<br/> ([[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]] - [[พ.ศ. 2517]]) <br/>[[ไฟล์:Channel9_1976.png|40px]] [[ไฟล์:Channel9_Logo.png|40px]]<br/>สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.<br/> ([[พ.ศ. 2517]] - [[9 เมษายน]] [[พ.ศ. 2520]]) และ ([[9 เมษายน]] [[พ.ศ. 2520]]-[[6 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2545]])
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป = ยังออกอากาศอยู่
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = '''[[6 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2545]]''' - '''ปัจจุบัน'''
}}
{{จบกล่อง}}

{{องค์กรสื่อของรัฐ}}
{{โทรทัศน์ไทย}}
[[หมวดหมู่:สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย|ม]]
[[หมวดหมู่:อสมท|9]]

[[de:MCOT-9 (Modernine)]]
[[en:Modernine TV]]
[[zh:现代九频道]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:40, 31 กรกฎาคม 2554