ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
* ชื่อเคมีลงท้ายสำหรับ[[แอลกอฮอล์]] คือ "-อล"
* ชื่อเคมีลงท้ายสำหรับ[[แอลกอฮอล์]] คือ "-อล"
ชื่อเคมีลงท้ายทั้งสองเมื่อประกอบกันแล้วได้เป็น "-านอล" ซึ่งหมายถึงโซ่คาร์บอนที่เกาะกันด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมดและมีแอลกอฮอล์มาเกาะโซ่คาร์บอนนั้นด้วย<ref name="Chemistry The Central Science"/><ref name="Organic Chemistry I As a Second Language: Translating the Basic Concepts">{{Cite book|last= Klein |first= David R. |title= [[Organic Chemistry I As a Second Language: Translating the Basic Concepts Second Edition]] |publisher= [[John Wiley & Sons Inc.]] |year= 2008 |isbn= 978-0470-12929-6}}</ref><ref name="Gold Book second edition">{{cite web|url=http://old.iupac.org/publications/compendium/ |title=Gold Book web page |publisher=Old.iupac.org |date=2006-10-19 |accessdate=2011-06-08}}</ref>
ชื่อเคมีลงท้ายทั้งสองเมื่อประกอบกันแล้วได้เป็น "-านอล" ซึ่งหมายถึงโซ่คาร์บอนที่เกาะกันด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมดและมีแอลกอฮอล์มาเกาะโซ่คาร์บอนนั้นด้วย<ref name="Chemistry The Central Science"/><ref name="Organic Chemistry I As a Second Language: Translating the Basic Concepts">{{Cite book|last= Klein |first= David R. |title= [[Organic Chemistry I As a Second Language: Translating the Basic Concepts Second Edition]] |publisher= [[John Wiley & Sons Inc.]] |year= 2008 |isbn= 978-0470-12929-6}}</ref><ref name="Gold Book second edition">{{cite web|url=http://old.iupac.org/publications/compendium/ |title=Gold Book web page |publisher=Old.iupac.org |date=2006-10-19 |accessdate=2011-06-08}}</ref>

=== ระบบการเรียกชื่อสารอนินทรีย์ ===
ระบบการเรียกชื่อสารอนินทรีย์พื้นฐานของ IUPAC นั้นมีสองส่วนหลัก คือ [[ไอออนบวก]]และ[[ไอออนลบ]] ไอออนบวกเป็นชื่อสำหรับไอออนที่มีประจุบวกและไอออนลบเป็นชื่อสำหรับไอออนที่มีประจุลบ

ตัวอย่างของระบบการเรียกชื่อสารอนินทรีย์ของ IUPAC คือ [[โพแทสเซียมคลอไรด์]] ซึ่ง[[โพแทสเซียม]]เป็นชื่อไอออนบวก และ[[คลอไรด์]]เป็นไอออนลบ


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:36, 30 มิถุนายน 2554

สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Union of Pure and Applied Chemistry, ย่อ: IUPAC /ไอยูแพ็ก/) เป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยองค์กรที่เป็นตัวแทนของนักเคมีในแต่ละประเทศ สหภาพฯ เป็นสมาชิกของสภาสหภาพวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (ICSU)[1] มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานบริหาร หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สำนักเลขาธิการ IUPAC" ตั้งอยู่ที่อุทยานสามเหลี่ยมวิจัย รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา สำนักงานบริหารแห่งนี้นำโดยผู้อำนวยการบริหารของ IUPAC[2]

IUPAC ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1919 ให้ทำหน้าที่สืบต่อจากสภาเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาวิชาเคมี สมาชิกของสหภาพฯ ซึ่งได้แก่ National Adhering Organization อาจเป็นสมาคมเคมีประจำประเทศ สถาบันวิทยาศาสตร์ประจำประเทศ หรือองค์การอื่นที่เป็นตัวแทนของนักเคมีก็ได้ ระบบการเรียกชื่อสารเคมีของ IUPAC ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการทั่วโลกในการพัฒนามาตรฐานสำหรับการตั้งชื่อธาตุเคมีและสารประกอบ นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นมา IUPAC ได้มีคณะกรรมการหลายชุดซึ่งมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน[3] คณะกรรมการเหล่านี้ต่างทำงานในหลายโครงการซึ่งรวมไปถึงการวางมาตรฐานระบบการตั้งชื่อ[4] ค้นหาวิธีในการนำเคมีมาสู่โลก[5] และตีพิมพ์ผลงานต่าง ๆ

IUPAC เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในผลงานด้านการวางมาตรฐานระบบการตั้งชื่อในวิชาเคมีและวิทยาศาสตร์สาขาอื่น แต่ IUPAC ยังได้มีผลงานตีพิมพ์ในหลายสาขา ทั้งในด้านเคมี ชีววิทยาและฟิสิกส์ ผลงานที่สำคัญของ IUPAC ในสาขาเหล่านี้รวมไปถึงการวางมาตรฐานชื่อรหัสลำดับเบสนิวคลีโอไทด์[6]

ระบบการเรียกชื่อสารเคมี

คณะกรรมการ IUPAC มีประวัติยาวนานในการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการของสารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์ ระบบการตั้งชื่อได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อที่ว่าสารประกอบใด ๆ จะสามารถเรียกชื่อได้ภายใต้กฎมาตรฐานเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงชื่อซ้ำกัน ผลงานตีพิมพ์แรก ซึ่งเป็นข้อมูลจากสภาเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ ว่าด้วยระบบการเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ของ IUPAC สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในหนังสือ A Guide to IUPAC Nomenclature of Organic Compounds

ระบบการเรียกชื่อสารอินทรีย์

ระบบการเรียกชื่อสารอินทรีย์ของ IUPAC นั้นแบ่งออกเป็นสามส่วหลัก ได้แก่ หมู่แทนที่ ความยาวโซ่คาร์บอนและชื่อเคมีลงท้าย หมู่แทนที่หมายถึงหมู่ฟังก์ชันใด ๆ ที่เกาะเข้ากับโซ่คาร์บอนหลัก โซ่คาร์บอนหลักเป็นโซ่ที่ประกอบด้วยคาร์บอนเกาะกันเป็นแถวที่ยาวที่สุดที่เป็นไปได้ ส่วนชื่อเคมีลงท้ายเป็นการระบุว่าโมเลกุลของสารนั้นเป็นประเภทใด ยกตัวอย่างเช่น ชื่อลงท้าย "เอน" หมายความว่า ในโซ่คาร์บอนนั้นเกาะกันด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมด เช่นใน "เฮกเซน" (C6H14)[7]

อีกตัวอย่างหนึ่งของระบบการเรียกชื่อสารอินทรีย์ของ IUPAC คือ ไซโคลเฮกซานอล

ไซโคลเฮกซานอล
  • ชื่อหมู่แทนที่สำหรับสารประกอบรูปวง คือ "ไซโคล"
  • ตัวบ่งชี้ว่าในโซ่คาร์บอนมีคาร์บอนอยู่หกอะตอม คือ "เฮกซ"
  • ชื่อเคมีลงท้ายสำหรับโซ่คาร์บอนที่เกาะกันด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมด คือ "เ-น"
  • ชื่อเคมีลงท้ายสำหรับแอลกอฮอล์ คือ "-อล"

ชื่อเคมีลงท้ายทั้งสองเมื่อประกอบกันแล้วได้เป็น "-านอล" ซึ่งหมายถึงโซ่คาร์บอนที่เกาะกันด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมดและมีแอลกอฮอล์มาเกาะโซ่คาร์บอนนั้นด้วย[8][7][9]

ระบบการเรียกชื่อสารอนินทรีย์

ระบบการเรียกชื่อสารอนินทรีย์พื้นฐานของ IUPAC นั้นมีสองส่วนหลัก คือ ไอออนบวกและไอออนลบ ไอออนบวกเป็นชื่อสำหรับไอออนที่มีประจุบวกและไอออนลบเป็นชื่อสำหรับไอออนที่มีประจุลบ

ตัวอย่างของระบบการเรียกชื่อสารอนินทรีย์ของ IUPAC คือ โพแทสเซียมคลอไรด์ ซึ่งโพแทสเซียมเป็นชื่อไอออนบวก และคลอไรด์เป็นไอออนลบ

อ้างอิง

  1. "IUPAC National Adhering Organizations". Iupac.org. 2011-06-02. สืบค้นเมื่อ 2011-06-08.
  2. "IUPAC Council Agenda Book 2009" (PDF). IUPAC. 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-04-17.
  3. IUPAC Committees list retrieved 15 April 2010
  4. Interdivisional Committee on Terminology web page retrieved 15 April 2010
  5. Chemdrawn retrieved 15 April 2010
  6. Fennel, R.W. (1994). History of IUPAC, 1919-1987. Blackwell Science. ISBN 0-86542-8786(94). {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  7. 7.0 7.1 Klein, David R. (2008). Organic Chemistry I As a Second Language: Translating the Basic Concepts Second Edition. John Wiley & Sons Inc. ISBN 978-0470-12929-6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Organic Chemistry I As a Second Language: Translating the Basic Concepts" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Chemistry The Central Science
  9. "Gold Book web page". Old.iupac.org. 2006-10-19. สืบค้นเมื่อ 2011-06-08.