ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซุนนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: pl:Sunnizm
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต เพิ่ม: kk:Сунни Исләм
บรรทัด 97: บรรทัด 97:
[[ja:スンナ派]]
[[ja:スンナ派]]
[[jv:Sunni]]
[[jv:Sunni]]
[[kk:Сунни Исләм]]
[[kn:ಸುನ್ನಿ ಇಸ್ಲಾಂ]]
[[kn:ಸುನ್ನಿ ಇಸ್ಲಾಂ]]
[[ko:수니파]]
[[ko:수니파]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:28, 29 มิถุนายน 2554

ซุนนีย์ คือนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะหฺลุซซุนนะหฺ วะ อัลญะมาอะหฺ (อาหรับ: أهل السنة والجماعة) (นิยมอ่านว่า อะหฺลุซซุนนะหฺ วัลญะมาอะหฺ) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีย์ที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกสะละฟีย์

ที่มาของคำ ซุนนีย์

คำว่า ซุนนีย์ มาจาก อัซซุนนะห (السنة)แปลว่า คำพูดและการกระทำหรือแบบอย่างของศาสดามุฮัมมัด (ศ) คำว่า ญะมาอะหฺ คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ผู้ที่บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาคือ อะฮฺมัด บินฮันบัล (ฮ.ศ. 164-241 / ค.ศ. 780-855)

คำว่า “السنة - อัซซุนนะหฺ” เป็นคำที่ท่านนบีมุฮัมมัด มักจะใช้บ่อยครั้งในคำสั่งสอนของท่าน เช่น ในฮะดีษศ่อฮีฮฺที่บันทึกโดยอิมามอะฮฺมัด, อัตติรมีซีย์, อะบูดาวูด และอิบนุมาญะหฺ ซึ่งท่านนบีได้กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงยึดมั่นในแนวทางของฉัน ( سُنَّتِي ) และแนวทางของผู้นำที่อยู่ในแนวทางอันเที่ยงธรรมของฉัน (อัลคุละฟาอ์ อัรรอชิดูน) ที่จะมาหลังฉัน จงเคร่งครัดในการยึดมั่นบนแนวทางนั้น จงกัดมันด้วยฟันกราม (คืออย่าละทิ้งเป็นอันขาด) และจงหลีกให้พ้นจากอุตริกรรมในกิจการของศาสนา เพราะทุกอุตริกรรมในกิจการศาสนานั้นเป็นการหลงผิด” [1]

อะหฺลุซซุนนะหฺ วะ อัลญะมาอะหฺฺ ( أَهْلُ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ ) ก็คือ ผู้ที่ยึดมั่นในซุนนะหฺ (แนวทางของท่านนบีมุฮัมมัด) และยึดมั่นในสิ่งที่บรรดากลุ่มชนมุสลิมรุ่นแรกยึดมั่น (บุคคลเหล่านั้นคือบรรดาศ่อฮาบะหฺและบรรดาตาบิอีน) และพวกเขารวมตัวกัน (เป็นญะมาอะหฺ) บนพื้นฐานของซุนนะหฺ ซึ่งชนกลุ่มนี้อัลลอหฺได้กล่าวถึงความประเสริฐของพวกเขาไว้ว่า “บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ (ชาวมุฮาญิรีนจากนครมักกะหฺ) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศอรจากนครมะดีนะหฺ) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น อัลลอหฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งสวนสวรรค์อันหลากหลายที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านเบื้องล่าง พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง” (ซูเราะหฺอัตเตาบะหฺ : 100) [2]

ประวัติ

ในสมัยการปกครองของยะซีด บินมุอาวิยะหฺ คำสั่งสอนแห่งอัลกุรอานและแห่งศาสนทูตถูกละทิ้ง ชาวมะดีนะหฺผู้เคร่งครัดถูกได้รับความกดดันจากตระกูลอุมัยยะหฺผู้ปกรองอาณาจักรอิสลาม และภายใต้ความกดดันนั้นได้เกิดหล่อหลอมเป็นกลุ่มผู้ยึดมั่นในแนวทางอิสลามแบบเดิม เพื่อต่อต้านตระกูลอุมัยยะหฺ โดยเฉพาะหลังจากที่กองทัพจากชาม ในสมัยการปกครองของยะซีด บินมุอาวิยะหฺ ได้สังหารฮุเซน หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัด พร้อมกับญาติพี่น้อง ที่กัรบะลาอ์ 73 คนในปี ค.ศ. 680 และต่อมาในปี ค.ศ. 683 ยะซีดส่งกองทัพเพื่อโจมตีพระนครมะดีนะหฺที่อับดุลลอหฺ บินอุมัร อิบนุลคอฏฏอบ เป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของยะซีด และโจมตีมักกะหฺ ที่อับดุลลอหฺ อินนุซซุเบรสถาปนาตนเองเป็นคอลีฟะหฺแห่งอาณาจักรอิสลาม ชาวเมืองมะดีนะหฺร่วมกันออกต้านทัพของยะซีด ที่นำโดยอุกบะหฺ ณ สถานที่ ที่มืชื่อว่า อัลฮัรเราะหฺ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จนกองทัพของยะซีดสามารถเข้าปล้นสะดมเมืองมะดีนะหฺ เป็นเวลาสามวันสามคืนตามคำสั่งของยะซีด ทหารชาม เข่นฆ่าผู้คน และข่มขืนสตรี จนกระทั่งมีผู้คนล้มตายประมาณ 10,000 คน ในจำนวนนั้นมีบุคคลสำคัญ 700 คน นอกจากนั้นมีผู้หญิงตั้งท้องเนื่องจากถูกข่มขืนชำเราอีก 500 คน หลังจากนั้นกองทัพชามก็มุ่งสู่มักกะหฺเพื่อปราบปราม อิบนุซซุเบร โดยเข้าเผากะอฺบะหฺ และเข่นฆ่าผู้คน ประชาชนชาวมุสลิมต่อต้านการปกครองตลอดมา แต่แล้วในปี ค.ศ. 692 อับดุลมะลิก บินมัรวานก็ส่ง ฮัจญาจญ์ บินยูสุฟ อัษษะกอฟีย์ มาโจมตีมักกะหฺอีกครั้ง ครั้งนี้อับดุลลอหฺ อิบนุซซุเบร ถูกสังหารและศพถูกตรึงที่ไม้ ปักไว้หน้ากะอฺบะหฺ ส่วนกะอฺบะหฺก็ถูกทำลาย

ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนในอาณาจักรอิสลามแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มชนใหญ่ ๆ พวกที่ฝักใฝ่ทางโลกก็สนับสนุนการปกครองของตระกูลอุมัยยะหฺ พวกที่ต่อต้านการปกครองระบอบคอลีฟะหฺ ยึดถือบุตรหลานศาสนทูตเป็นผู้นำก็คือพวกชีอะหฺ พวกที่เชื่อว่าบรรดาสาวกคือผู้นำและสานต่อสาส์นแห่งอิสลามหลังจากนบีมุฮัมมัด พวกนี้คือ อะหฺลุซซุนนะหฺ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ได้มีการบัญญัติศัพท์นี้ เพราะ คำว่า ซุนนะห วัลญะมาอะหฺ ถูกบัญญัติขึ้นมาจริง ๆ โดยอะฮฺมัด บินฮันบัล (ค.ศ. 780-855/ฮ.ศ.164-241) นอกจากนี้ยังมีพวกคอวาริจญ์ ที่เป็นกบฏและแยกตัวออกจากอำนาจการปกครองของอิมามอะลีย์ เมื่อครั้งที่เป็นคอลีฟะหฺที่ 4

ในฮิจญ์เราะหฺศตวรรษที่ 3 และที่ 4 ได้มีการรวบรวมฮะดีษขึ้นมา จัดเป็นอนุกรมและหมวดหมู่ เรียกในภาษาไทยว่า พระวจนานุกรม ในสายอะหฺลุซซุนนะหฺ มีมากกว่า 10 พระวจนานุกรม ที่สำคัญคือ 6 พระวจนานุกรม ที่ผู้รวบรวม โดย อัลบุคอรีย์, มุสลิม, อัตตัรมีซีย์, อะบูดาวูด, อิบนุมาญะหฺ และอันนะซาอีย์ นอกจากนี้ยังมีพระวจนานุกรมที่รวบรวมโดย มาลิก บินอะนัส (เจ้าสำนักมาลิกีย์) , อะฮหมัด บินฮันบัล (เจ้าสำนักฮันบะลีย์) , อิบนุคุซัยมะหฺ, อิบนุฮิบบาน และอับดุรรรอซซาก ในยุคหลังนี้ได้มีการตรวจสอบสายรายงานอย่างถี่ถ้วน พระวจนานุกรมอัลบุคอรีย์และมุสลิมได้รับการยอมรับมากที่สุดในสังคมมุสลิมซุนนีย์

สำนัก หรือ ทัศนะ นิติศาสตร์อิสลาม

ชะรีอะหฺ (شريعة) หรือ นิติบัญญัติอิสลามตามทัศนะของซุนนีย์นั้น มีพื้นฐาน มาจากอัลกุรอานและซุนนะหฺ (อิจย์มาอฺ) มติฉันท์ของเหล่าผู้รู้ และกิยาส (การเปรียบเทียบกับบทบัญญัติที่มีอยู่แล้ว) นิกายซุนนีย์มีในอดีตมี 17 สำนัก แต่ได้สูญหายไปกับกาลเวลา ในปัจจุบันนิกายซุนนีย์มี 4 สำนัก ที่เป็นสำนักเกี่ยวกับฟิกหฺ (นิติศาสตร์อิสลาม) ได้แก่

  1. ฮะนะฟีย์ (ทัศนะของอะบูฮะนีฟะหฺ นุอฺมาน บินษาบิต) -
  2. มาลีกีย์ (ทัศนะของมาลิก บินอะนัส)
  3. ชาฟีอีย์ (ทัศนะของมุฮัมมัดมัด บินอิดริส อัชชาฟิอีย์) - ผู้ที่ยึดถือทัศนะนี้คือ คนส่วนใหญ่ในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
  4. ฮันบะลีย์ (ทัศนะของท่านอะฮฺมัด บินฮันบัล)

ปัจจุบันมีอีกกลุ่มที่สำคัญคือ กลุ่มที่ไม่ได้ยึดถือหรือสังกัดตนอยู่ใน 4 กลุ่มข้างต้น แต่การวินิจฉัยหลักการศาสนาจะใช้วิธีศึกษาทัศนะของทั้ง 4 กลุ่มแล้ววิเคราะห์ดูว่าทัศนะใดที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยยึดอัลกุรอานและซุนนะฮฺเป็นธรรมนูญสำคัญในการวินิจฉัยเรื่องต่างๆในศาสนา

สำนัก หรือ ทัศนะ เกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)

นอกจากนี้ยังมีสำนักเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) อีกหลายสำนัก ที่สำคัญได้แก่ 4 สำนักคือ

  1. สำนักมุอฺตะซิละหฺ (معتزلة) จัดตั้งขึ้นโดย วาศิล บินอะฏออ์ (ค.ศ. 699-749) ศิษย์ที่มีความคิดแตกต่างจากฮะซัน อัลบัศรีย์ (ค.ศ. 642-728) ผู้เป็นอาจารย์
  2. สำนักอัชอะรีย์ มาจากแนวคิดของอะบุลฮะซัน อัลอัชชะรีย์ (ค.ศ. 873-935) แต่ผู้ที่พัฒนาแนวคิดนี้ คือ อัลฆอซาลีย์ นักวิชาการศาสนาและปรมาจารย์ศูฟีย์
  3. สำนักมาตุรีดีย์ เป็นทัศนะของอะบูมันศูร อัลมาตุรีดีย์ (มรณะ ค.ศ. 944) ในตอนแรกเป็นสำนักปรัชญาของชนกลุ่มน้อย ต่อมาเมื่อเป็นที่ยอมรับของเผ่พันธุ์เติร์ก และพวกออตโตมานมีอำนาจ ก็ได้ทำให้สำนักนี้แพร่หลายในเอเชียกลาง
  4. สำนักอะษะรีย์ เป็นทัศนะของ อะฮฺมัด บินฮันบัล ผู้เป็นเจ้าสำนักฟิกหฺดังกล่าวมาแล้ว

หากมุอฺตะซิละหฺแยกตัวออกจากสำนักของ ฮะซัน อัลบัศรีย์ ย่อมแสดงว่าก่อนหน้านั้นต้องมีสำนักปรัช ญามาก่อนแล้ว ฮะซัน อัลบัศรีย์ เองก็มีแนวคิดของตนเช่นกัน นั่นก็เพราะ ฮะซัน อัลบัศรีย์ เป็นปรมาจารย์ของสำนักศูฟีย์ ที่ภายหลังแตกขยายเป็นหลายสาย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น