ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮูวอนส์ทูบีอะมิลเลียนแนร์?"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: de:Who Wants to Be a Millionaire?
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
[[cs:Milionář (televizní soutěž)]]
[[cs:Milionář (televizní soutěž)]]
[[da:Hvem vil være millionær?]]
[[da:Hvem vil være millionær?]]
[[de:Wer wird Millionär?]]
[[de:Who Wants to Be a Millionaire?]]
[[el:Ποιος Θέλει Να Γίνει Εκατομμυριούχος]]
[[el:Ποιος Θέλει Να Γίνει Εκατομμυριούχος]]
[[en:Who Wants to Be a Millionaire?]]
[[en:Who Wants to Be a Millionaire?]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:58, 27 มิถุนายน 2554

ฮูวอนส์ทูบีอะมิลเลียนแนร์?
โลโก้ใหม่ของ Who Wants to Be a Millionaire (UK)
สร้างโดยCelador
เสนอโดยคริส แทร์แรนต์
ประเทศแหล่งกำเนิด สหราชอาณาจักร
การผลิต
ความยาวตอน30-120 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายITV (อังกฤษ)
ออกอากาศ4 กันยายน ค.ศ. 1998 –
ปัจจุบัน

ฮูวอนส์ทูบีอะมิลเลียนแนร์? (อังกฤษ: Who Wants to Be a Millionaire?) เป็นรายการประเภทควิซโชว์ทางโทรทัศน์ ที่มีเงินรางวัลมหาศาลเป็นรางวัล ในการตอบคำถามให้ถูกหมดทุกข้อ ในจำนวนคำถาม 12 หรือ 15 ข้อ โดยมีตัวเลือกให้เลือก และความยากของคำถามค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามข้อหลัง ๆ รูปแบบและลิขสิทธิ์รายการเป็นของโซนีพิกเจอร์สเทเลวิชันอินเตอร์เนชันแนล สำหรับจำนวนเงินรางวัลสูงสุด (ฉบับดั้งเดิมในสหราชอาณาจักร) สูง 1 ล้านปอนด์ ส่วนในประเทศอื่นมักมีเงินรางวัลสูงสุดเป็นหน่วยล้านเช่นกัน จำนวนเงินในต่างประเทศต่าง ๆ อาจแตกต่างกันไปตามค่าเงินของประเทศนั้น

รายการกำเนิดขึ้นในสหราชอาณาจักร มีพิธีกรคือ คริส แทร์แรนต์ รูปแบบรายการคิดขึ้นโดยเดวิด บริกส์ ร่วมกับสตีฟ ไนต์และไมค์ ไวต์ฮิลล์ ที่คิดการออกแบบเกมในรายการทางวิทยุช่องแคปิตอลเอฟเอ็มในช่วงเช้า ชื่อของรายการเดิมใช้ชื่อ Cash Mountain และเมื่อออกอากาศครั้งแรกในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1998 ก็ถือเป็นรูปแบบรายการเกมโชว์ที่สร้างความประหลาดใจ มีผู้เข้าแข่งขันเพียง 1 คน ที่เน้นภาวะเรื่องการตัดสินใจในแต่ละคำถามมากกว่าความเร็วในการตอบ โดยส่วนมากแล้วแต่ละเวอร์ชันจะไม่กำหนดเวลาในการตอบคำถาม

ตัวช่วย

  • Phone a Friend ให้โทรศัพท์หาใครก็ได้ที่ตนเองรู้จักและอ่านคำถามให้ฟัง โดยจะมีเวลาในการสนทนาทั้งหมดแค่ 30 วินาที
  • Ask The Audience ให้ผู้ชมโหวตว่าข้อใดควรตอบเป็นโพลออกมาเป็นเปอร์เซนต์
  • Jump the Question ข้ามคำถามนั้นไปเลยแต่จะไม่ได้เงินรางวัลในข้อนั้น ซึ่งสามารถใช้ได้ในทุกๆ ข้อแต่ไม่สามารถใช้ในข้อสุดท้ายได้
  • 50:50 รายการจะตัดคำตอบที่ผิดให้ 2 ตัวจึงเหลือ 1 ถูกและ 1 ผิด
  • Switch the Question เป็นการเปลี่ยนคำถามในระดับเงินรางวัลที่เท่าเดิม
  • Double Dip ให้สิทธิ์ในการตอบ 2 ครั้งในคำถามข้อนั้นๆ
    • โดยปกติแล้วจะมีตัวช่วยให้แค่ 3 ตัวเท่านั้นซึ่งตลอดระยะเวลาที่ออกอากาศได้มีการสลับสับเปลี่ยนตัวช่วยกันไปเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามก็จะอยู่ใน 6 ตัวนี้

ดูเพิ่ม